โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

ศบค. เผยโควิดระบาดโรงงานแล้ว 952 แห่ง ผู้ป่วย 65,887 ราย ครอบคลุม 62 จังหวัด เดินหน้ามาตรการ 3 กลุ่ม โรงงาน สถานประกอบการ แคมป์ก่อสร้าง ระยะเร่งด่วน 3 เดือน

วันนี้ (10 ก.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวภายหลังจากการประชุมศบค. ชุดใหญ่ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยระบุถึงรายงานความก้าวหน้า “ศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-19 ในสถานประกอบกิจการและ โรงงานอุตสาหกรรม” โดยรองปลัด กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานตัวเลขการระบาดที่เกิดขึ้น พบ การระบาดในโรงงานทั้งหมด 952 แห่ง ผู้ป่วยจำนวน 65,887 ราย หายป่วยแล้ว 25,983 ราย ครอบคลุม 62 จังหวัด

 

  • 5 จังหวัด ติดเชื้อโรงงานมากที่สุด 

 

ข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที 1 เม.ย. – 9 ก.ย. 64 จังหวดที่พบการติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

  1. จ.เพชรบุรี ติดเชื้อสะสม 7,467 ราย  หายป่วยแล้ว 6,349 ราย รักษาอยู่ 1,118 ราย
  2. จ.สมุทรปราการ ติดเชื้อสะสม 4,057 ราย  หายป่วยแล้ว 710 ราย รักษาอยู่ 3,347 ราย
  3. จ.ฉะเชิงเทรา ติดเชื้อสะสม 3,743 ราย  หายป่วยแล้ว 735 ราย รักษาอยู่ 3,008 ราย
  4. จ.สระบุรี ติดเชื้อสะสม 3,647 ราย  หายป่วยแล้ว 294 ราย รักษาอยู่ 3,353 ราย
  5. จ.สมุทรสาคร ติดเชื้อสะสม 3,571 ราย  หายป่วยแล้ว 518 ราย รักษาอยู่ 3,053 ราย

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

  • อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

  1. อาหาร 159 แห่ง
  2. อิเล็กทรอนิกส์ 128 แห่ง
  3. เครื่องนุ่งห่ม 91 แห่ง
  4. โลหะ 87 แห่ง
  5. พลาสติก 84 แห่ง

 

  • สถิติพบผู้ติดเชื้อในสถานประกอบการ

 

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 64 พบว่า สถิติการพบผู้ป่วยสะสมในสถานประกอบกิจการโรงงาน ในเดือน พ.ค. – ส.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จาก 4,433 ราย ในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 23,543 ราย ในเดือน ก.ค. และ 22,366 ราย ในเดือน ส.ค. ขณะที่ จำนวนโรงงานที่พบผู้ติดเชื้อก็มีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกัน จาก 24 โรงในเดือน พ.ค. สูงขึ้นกว่า 320 โรงในเดือน ส.ค.

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

 

  • โรงงานประเมินตนเองเพียง 33%

 

สำหรับแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID ซึ่งให้โรงงานประเมินตนเอง พบว่า โรงงานทุกขนาดทั้งหมดจำนวน 64,038 แห่ง ประเมินไปแล้ว 21,130 แห่ง คิดเป็น 33% ในจำนวนนี้ ผ่านเกณฑ์ 13,836 แห่ง และไม่ผ่าน 7,294 แห่ง (ข้อมูล 9 ก.ย. 64) ขณะที่แนวทางดำเนินการการป้องกันที่ผ่านมา ในการลงพื้นที่ประเมินโรงงานร่วมกับ มท. สธ. รง. และหน่วยงานอื่นๆ

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

 

ระยะที่ 1 จำนวน 955 โรง ตรวจแล้ว 955 โรง คิดเป็น 100%

ระยะที่ 2 จำนวน 850 โรง ตรวจแล้ว 776 โรง คิดเป็น 92%

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

  • 3 กลุ่มเป้าหมาย เดินหน้ามาตรการระยะเร่งด่วน

 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมในระยะเร่งด่วนภายใน 3 เดือน (ก.ย. – พ.ย. 64) 3 กลุ่ม ได้แก่

 

1. โรงงานอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 หรือ โรงงานที่มีการใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 คน จำนวนราว 70,000 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

 

2. สถานประกอบการ ด้านการผลิตที่ไม่ใช่โรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 และเป็นสถานประกอบกิจการ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 70,000 โรง ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงมหาดไทย (มท.) (อปท.) และ กทม.

 

3. แคมป์แรงงานก่อสร้าง เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ที่พบการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมากในลำดับต้นๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กทม. และปริมณฑล มีจำนวนทั้งสิ้นราว 1,317 แคมป์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงมหาดไทย (มท.) (อปท.) และ กทม.

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

 

  • แนวทางขับเคลื่อน Bubble and Seal

 

1. สถานประกอบกิจการและโรงงานทุกขนาด ได้รับความรู้ความเข้าใจมาตรการ BBS รวมจำนวน 140,000 ราย

 

2. Coaching & Training การดำเนินการตามมาตรการ BBS รวมจำนวน 30,000 โรง

 

3. สถานประกอบการและโรงงานเข้าร่วมดำเนินการมาตรการ BBS ไม่น้อยกว่า 10% ของกลุ่มเป้าหมายรวมจำนวน 3,000 โรง

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน

 

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

สถานประกอบกิจการและโรงงานทุกขนาด พบแรงงานติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

  • ข้อเสนอภาคเอกชน

 

ทั้งนี้ มีข้อเสนอภาคเอกชนเพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ในเวทีเสวนา “ผนึกกำลัง ฝ่าวิกฤต COVID-19” เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดย 48% ต้องการคำแนะนำ และแนวทาง Bubble and Seal ขณะที่ 32% ต้องการได้รับความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย เนื่องจากการผลิตลดน้อยลง และ 20% ขอสนับสนุน ATK

 

โรงงาน - สถานประกอบกิจการ - แคมป์ก่อสร้าง เร่งมาตรการคุมโควิด 3 เดือน  

 

  • ATK ลดหย่อนภาษี

 

โฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเข้าถึง ATK ผอ.ศบค. ให้โจทย์ไปกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แจ้งว่าเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ผอ.ศบค. และ สธ. ที่จะมีการเพิ่มการตรวจ ATK ในกลุ่มประชากร แรงงาน เพื่อให้การเดินหน้า ติดโควิดไม่ปิดประเทศ โรงงาน ตลาด ที่จะเกิดขึ้น มี 2 มาตรการ

 

1. ผู้ประกอบที่การจะซื้อ ATK เมื่อซื้อมาแล้ว มีค่าใช้จ่าย สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป  

 

2. เพิ่มเงินในแอปฯ เป๋าตัง ให้กับประชาชนสนับสนุนให้ประชาชนซื้อมาใช้ตรวจเอง โดยในรายละเอียดต้องขอจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม