อัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.-ปริมณฑล 5,039 จับตาสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง
เกาะติดเช็คอัพเดทล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.-ปริมณฑล ยอด 5,039 ราย จับตาสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ราชบุรี ยะลา นครศรีธรรมราช
อัพเดทต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดติดเชื้อวันนี้ เกาะติดความคืบหน้า จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบ อัพเดท 10 จังหวัดอันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงสุด
จํานวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 17 กันยายน 2564 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับแรก
1 กรุงเทพมหานคร 2911 ราย
2 สมุทรปราการ 1110 ราย
3 ชลบุรี 935 ราย
4 ระยอง 636 ราย
5 ราชบุรี 501 ราย
6 ยะลา 444 ราย
7 สมุทรสาคร 387 ราย
8 ปราจีนบุรี 367 ราย
9 นครศรีธรรมราช 354 ราย
10 สระบุรี 329 ราย
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ยังคงติดเชื้อโควิดอันดับที่ 1 ของประเทศ ตามด้วย สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ราชบุรี ยะลา สมุทรสาคร ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช และสระบุรี
อันดับจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่สูงสุด
แหล่งข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 ณ เวลา 01:00 น.
ข้อมูลผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ในประเทศตามพื้นที่ วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564
ผู้ป่วยรายใหม่ 14,555 ราย
หายป่วยแล้ว 1,276,821 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,419,929 ราย
เสียชีวิตสะสม 15,030 ราย
--
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
หายป่วยแล้ว 1,304,247 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,448,792 ราย
เสียชีวิตสะสม 15,124 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 16 กันยายน 2564
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 43,342,103 โดส
--
วันที่ 16 กันยายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 350,813 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 512,811 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 965 ราย
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 จำนวน 171 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 227,826,370 ราย
อาการรุนแรง 100,955 ราย
รักษาหายแล้ว 204,470,415 ราย
เสียชีวิต 4,683,977 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 42,634,054 ราย
2. อินเดีย จำนวน 33,380,522 ราย
3. บราซิล จำนวน 21,069,017 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,339,009 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 7,214,520 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,448,792 ราย
ตรวจคัดกรอง เชิงรุก ATK และ RT-PCR กรุงเทพมหานคร
วันที่ 26 ก.ค. - 15 ก.ย. 64
ยอดรวมผู้เข้ารับการตรวจ
แบบ ATK = 180,546 ราย
พบเชื้อ = 32,343 ราย
ไม่พบเชื้อ = 148,203 ราย
แบบ RT-PCR = 70,219 ราย
พบเชื้อ = 39,516 ราย
ไม่พบเชื้อ = 30,130 ราย
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
ผู้หายป่วยจากโควิด อาจเกิดภาวะ “ลอง โควิด” (Long COVID) คืออาการที่ยังหลงเหลือ หากมีอาการไข้ ลิ้นไม่รับรส ปวดกล้ามเนื้อให้รีบพบแพทย์
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผย ขณะนี้แนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาหายรายวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น สูงกว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ สะท้อนถึงคุณภาพระบบการดูแลรักษา ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันนี้รวม 1,405,374 ราย หลายรายแม้จะหายป่วยและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในร่างกายแล้ว อาจจะยังมีอาการหลงเหลืออยู่ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) เรียกอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ภาวะลอง โควิด” (Long COVID) หรืออาการหลงเหลือของเชื้อโควิด 19 ระยะยาว ซึ่งสามารถพบภาวะนี้ได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก พบได้ร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยโรคโควิด 19 จึงไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจแต่อย่างใด
ทางด้านนายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของ“ภาวะลองโควิด” แสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน ไม่มีลักษณะตายตัว เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง และบางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย โดยผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีแดงหรือผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง จะมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดสูงกว่าผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการน้อย เนื่องจากอาจมีปัจจัยเรื่องความเครียดที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงป่วยเป็นโรคโควิด 19 จึงส่งผลต่อเนื่องอาจยาวนาน 3-6 เดือนได้กว่าจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะลองโควิดด้วย เช่น อายุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เรื่องเพศ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหอบหืด และผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่หายป่วยแล้วไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด หากผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19 แล้วยังมีอาการที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากบางรายอาจเป็นผลจากตัวยาที่ใช้ในการรักษา หรือบางรายอาจจะมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย จึงต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา : กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ตั้งเป้าหมายให้บริการวัคซีนโควิด เดือน ต.ค.64 ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม ดังนี้
เป้าหมายฉีดวัคซีนโควิด ต.ค. 64
> ครอบคลุมประชากรทั้งหมด อย่างน้อยร้อยละ 50 ทุกจังหวัด
- อย่างน้อย 1 อำเภอ ครอบคลุมร้อยละ 70 และมี ต้นแบบ COVID Free Area (ครอบคลุมร้อยละ 80) อย่างน้อย 1 พื้นที่
-ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ ให้มากที่สุด
- ประชากรกลุ่มอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจัดสรร
> ฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 2 เข็ม
> ขยายฉีดกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป
> กระตุ้นเข็ม 3 ให้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม แล้ว
> พื้นที่เศรษฐกิจและควบคุมการระบาด
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข