เจาะโรดแมพ "วัคซีน กทม." นับถอยหลัง 31 วันเปิดเมือง 1 พ.ย.
ทิศทางอัตราการฉีดวัคซีน "โควิด" ในกรุงเทพฯ ขณะนี้ จะเป็นเดิมพัน ส่งถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองหลวงใน ไตรมาศ "สุดท้าย" ของปี 2564
จากเงื่อนไขที่ "ผู้ว่าฯกทม." พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กำหนดแผนปฏิบัติสำหรับการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3 ข้อ ถือเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางเปิดกรุงเทพฯ บนพื้นฐานความปลอดภัยของประชาชนต่อแผนการรับ "วัคซีนโควิด" และกราฟตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมของ กทม.
จากเดิมในการประชุมคณะอนุกรรการบริหารจัดการ การให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กทม.ครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2564 ในวงหารือครั้งนั้น ที่ประชุมได้คาดการณ์ "กราฟ" การฉีดวัคซีนกลุ่ม "ครบ 2 เข็ม" ในกรุงเทพฯ จะได้ 70.38 % ประมาณวันที่ 22 ต.ค.เป็นต้นไป (ตามภาพ)
หากตัวเลขเป็นเช่นนี้จะเท่ากับการเข้า 1 ใน 3 "เงื่อนไข" ของผู้ว่าฯ กทม. ในประเด็นประชากรกรุงเทพฯ ต้องได้วัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อย 70% ขึ้นไป ประมาณวันที่ 22 ต.ค. จากนั้นต้องรออย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นตามหลักการแพทย์
ขณะที่อีก 2 เงื่อนไขเรื่อง ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีจำนวนลดลง และผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ ลดลง ขณะนี้ในกรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อรายวันลดลงตามลำดับ อัพเดท 3 วันหลังสุดมีผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 2 พันคน โดยวันที่ 30 ก.ย. มีผู้ติดเชื้อ 1,630 ราย วันที่ 29 ก.ย. ติดเชื้อ 1,579 ราย และวันที่ 28 ก.ย.ติดเชื้อ 1,557 ราย
ฉีดวัคซีนเข็ม 2 สะสม 3,890,776 ราย
ก่อนหน้านี้ กทม.ได้เรียกประชุมหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อหารือ "แนวทาง" เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯโดยเฉพาะการหารือกับ "ณรงค์ วุ่นซิ้ว" ผู้ว่าฯ ภูเก็ต ให้ข้อมูล "Phuket Sandbox" เตรียมพร้อมเปิดกรุงเทพฯ รองรับการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการควบคุมโรค โดยไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดจากนักท่องเที่ยวกับประชาชน
แต่ด้วยกายภาพของ "กรุงเทพฯ-ภูเก็ต" ที่แตกต่งกันจากภูเก็ตที่มีสภาพเป็นเกาะ ทำให้แนวทางการทำ "Bangkok Sandbox" อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทำให้ปัจจัยเรื่องการฉีดวัคซีน "ครบ 2 เข็ม" อย่างน้อย 70 % จะเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อมาตรการเปิดเมืองตามเป้าหมายวันที่ 1 พ.ย.เป็นต้นไป
หากนับตามสถิติถึงนาทีนี้ กทม.ได้ฉีดวัคซีนกลุ่มเข็ม 2 ไปแล้ว 3,890,776 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย.) หรือคิดประมาณ 47 % แต่แผนเปิดเมืองที่ กทม.กำหนดต้องอยู่บน "เงื่อนไข" ห้วงเวลาการฉีดวัคซีน "เข็มแรก-เข็มสอง" เช่น การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรกต้องใช้เวลาอีก 8-12 สัปดาห์จะเริ่มฉีดเข็มที่ 2 ได้ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สถิติยอดฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม วันที่ 1-30 ก.ย.2564
"กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจตัวเลขการฉีด "วัคซีนโควิด" กลุ่มครบ 2 เข็ม จากข้อมูลวันที่ 30 ก.ย. มียอดสะสมอยู่ที่ 3,890,776 ราย โดยมีเป้าหมายเร่งฉีดให้ได้ 70 % จากประชากรตามทะเบียนราษฎร์ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จากจำนวน 7,699,174 คน ต้องอยู่ที่ 5,389,421 คน ทำให้ขณะนี้ยังมียอดห่างจากเป้าหมาย 70 % อยู่ที่ 1,498,645 คน
หากย้อนสถิติการฉีดวัคซีนของ กทม.ใน "กลุ่มเข็ม 2" ตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ย. สามารถฉีดได้ทั้งหมด 1,392,715 ราย จากค่าเฉลี่ยวันละ 46,423 ราย มีข้อมูลต่อวันดังนี้
วันที่ 1 ก.ย. ฉีดได้ 46,516 ราย
วันที่ 2 ก.ย. ฉีดได้ 55,110 ราย
วันที่ 3 ก.ย. ฉีดได้ 59,590 ราย
วันที่ 4 ก.ย. ฉีดได้ 45,547 ราย
วันที่ 5 ก.ย. ฉีดได้ 18,136 ราย
วันที่ 6 ก.ย. ฉีดได้ 16,229 ราย
วันที่ 7 ก.ย. ฉีดได้ 49,790 ราย
วันที่ 8 ก.ย. ฉีดได้ 44,909 ราย
วันที่ 9 ก.ย. ฉีดได้ 40,911 ราย
วันที่ 10 ก.ย. ฉีดได้ 44,479 ราย
วันที่ 11 ก.ย. ฉีดได้ 59,181 ราย
วันที่ 12 ก.ย. ฉีดได้ 22,073 ราย
วันที่ 13 ก.ย. ฉีดได้ 17,181 ราย
วันที่ 14 ก.ย. ฉีดได้ 59,215 ราย
วันที่ 15 ก.ย. ฉีดได้ 56,284 ราย
วันที่ 16 ก.ย. ฉีดได้ 86,030 ราย
วันที่ 17 ก.ย. ฉีดได้ 78,949 ราย
วันที่ 18 ก.ย. ฉีดได้ 79,123 ราย
วันที่ 19 ก.ย. ฉีดได้ 33,680 ราย
วันที่ 20 ก.ย. ฉีดได้ 19,400 ราย
วันที่ 21 ก.ย. ฉีดได้ 32,300 ราย
วันที่ 22 ก.ย. ฉีดได้ 28,451 ราย
วันที่ 23 ก.ย. ฉีดได้ 47,554 ราย
วันที่ 24 ก.ย. ฉีดได้ 80,188 ราย
วันที่ 25 ก.ย. ฉีดได้ 53,776 ราย
วันที่ 26 ก.ย. ฉีดได้ 32,359 ราย
วันที่ 27 ก.ย. ฉีดได้ 30,024 ราย
วันที่ 28 ก.ย. ฉีดได้ 70,772 ราย
วันที่ 29 ก.ย. ฉีดได้ 52,792 ราย
วันที่ 30 ก.ย. ฉีดได้ 49,367 ราย
ขณะนี้ กทม.มีเวลา 31 วัน (1-31 ต.ค.) ก่อนถึง "ดีเดย์" เปิดเมือง 1 พ.ย.64 ในการเดินหน้าฉีดวัคซีนกลุ่ม "ครบ 2 เข็ม" ให้ได้ 70 % ดังนั้นหากพิจารณาค่าเฉลี่ย 31 วันจากนี้ กทม.ต้องฉีดวัคซีนให้ได้วันละ 48,343 ราย จะไปถึงเป้าหมายการฉีด 70 % ของประชากรตามทะเบียนราษฎร์ในกรุงเทพฯ
จากตัวเลขผู้ติดเชื้อ "โควิด" ในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แต่ยังไม่มีหลักประกันใดยืนยันว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่จะเกิดขึ้นอีกครั้งหรือไม่ แต่ทิศทางอัตราการฉีดวัคซีน "โควิด" ในกรุงเทพฯ ขณะนี้ จะเป็นเดิมพัน ส่งถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองหลวงใน "ไตรมาศสุดท้าย" ของปี 2564 ไปด้วย.