อัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.-ปริมณฑล 2,872 จับตาชลบุรี สมุทรปราการ ยะลา
เกาะติดเช็คอัพเดทล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.-ปริมณฑล 2,872 จับตาชลบุรี สมุทรปราการ ยะลา นราธิวาส ระยอง สงขลา
อัพเดทต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 1 ต.ค. 64 เกาะติดความคืบหน้า จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบ อัพเดท 10 จังหวัดอันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงสุด
จํานวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับแรก
1 กรุงเทพมหานคร 1423 ราย
2 สมุทรปราการ 861 ราย
3 ชลบุรี 820 ราย
4 ยะลา 545 ราย
5 นราธิวาส 515 ราย
6 ระยอง 472 ราย
7 สงขลา 451 ราย
8 ปัตตานี 406 ราย
9 นครศรีธรรมราช 378 ราย
10 ปราจีนบุรี 353 ราย
กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย สมุทรปราการ ชลบุรี ยะลา นราธิวาส ระยอง สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และปราจีนบุรี
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564
ผู้ป่วยรายใหม่ 11,754 ราย
หายป่วยแล้ว 1,455,720 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,586,366 ราย
เสียชีวิตสะสม 16,756 ราย
--
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
หายป่วยแล้ว 1,483,143 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,615,229 ราย
เสียชีวิตสะสม 16,850 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 30 กันยายน 2564
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 53,784,812 โดส
---
วันที่ 30 กันยายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 792,116 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 1,352,463 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 144,149 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 234,553,899 ราย
อาการรุนแรง 88,633 ราย
รักษาหายแล้ว 211,351,370 ราย
เสียชีวิต 4,797,237 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 44,314,424 ราย
2. อินเดีย จำนวน 33,765,488 ราย
3. บราซิล จำนวน 21,427,073 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,807,036 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 7,511,026 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 28 จำนวน 1,615,229 ราย
...
ภาวะเยื่อหุ้มและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน mRNA ส่วนใหญ่มีอาการใน 1 - 7วันหลังฉีด และมักหายเองใน 1 สัปดาห์ เยื่อหุ้มและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิด ชนิด mRNA
อุบัติการณ์ของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีแนวโน้มรายงานเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะเฝ้าสังเกตอาการมากขึ้น โดยพบในผู้อายุน้อยมากกว่าอายุมาก เช่นในเด็ก 12 ถึง 17 ปี ผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง อาการเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็ม 2 มากกว่าเข็มแรกอย่างชัดเจน การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์จากวัคซีน ในเด็ก จึงขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการรายงานที่มีตัวเลขแตกต่างกันมาก เช่นในเด็กชายอายุ 12-17 ปี หลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จากเดิมรายงาน 60 รายใน 1 ล้าน เพิ่มขึ้นเป็นในเด็กชาย 12-15 ปี สูงถึง 162 ในล้าน และอายุ 16-17 ปี พบ 94 ในล้าน
ส่วนใหญ่มีอาการใน 1-7 วันหลังได้รับวัคซีน แต่อาจพบได้นานถึง 6 สัปดาห์ อาการ มักไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วย IVIG ผู้ป่วยที่ตรวจพบมีความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจมักกลับมาปกติภายใน 3 เดือน แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบระยะยาว
ทำไมพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทำไมพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ทำไมพบในการฉีดเข็ม 2 มากกว่าเข็มแรก คงต้องรอคำตอบการศึกษากลไกการเกิดโรค ในปัจจุบันกลไกการเกิดภาวะดังกล่าวยังไมทราบ
การแนะนำให้หยุดออกกำลังกายภายหลังการฉีดวัคซีน 1-2 สัปดาห์ ไม่ลดผลของการเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน แต่จะลดอาการที่เกิดจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่ให้มีความรุนแรงได้
ถึงแม้ความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนชนิด mRNA จะพบได้น้อย แต่ยังคงต้องมีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัย การส่งต่อและการรักษาที่เหมาะสม ผลกระทบระยะยาวต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ รวมทั้งการออกคำแนะนำการกลับมาการออกกำลังกายหรือพฤติกรรมตามปกติของผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน นอกจากนี้ควรศึกษาถึงกลไกการเกิดที่จำเพาะ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปัจจัยทางพันธุกรรมและประชากรกลุ่มเสี่ยง
ที่มา : นพ.ยง ภู่วรวรรณ
...
สปสช. เผยทิศทางจัดสรรบัตรทองปี 2565 ดูแลโควิดครบวงจรและพร้อมตอบสนองสถานการณ์อย่างรวดเร็ว
โดยภาพรวมการจัดสรรงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพปีงบประมาณ 2565 ซึ่งคาดว่าเป็นปีที่จะต้องอยู่กับโควิด-19 อีกระยะหนึ่งนั้น สปสช. ค่อนข้างมั่นใจว่าสิทธิประโยชน์ที่จัดสรรสำหรับโควิด-19 ค่อนข้างครบวงจร และตอบสนองสถานการณ์ได้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตรวจคัดกรอง ซึ่งปี 2565 ก็จะมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบ Antigen test kit หรือการตรวจมาตรฐาน ขณะเดียวกัน เมื่อมีผลตรวจเป็นบวก สปสช.ก็มีความพร้อมมากขึ้นในการสนับสนุนการจัดระบบการดูแลที่บ้านหรือในชุมชน รวมถึงการดูแลเยียวยาภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดจากการฉีดวัคซีนโควิด
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ