กังวล "เดลตาพลัส" หมอธีระวัฒน์แนะฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้เร็วที่สุด
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) พูดถึงสถานการณ์ "โควิด-19" หลังจากที่บ้านเราพบ "ผู้ติดเชื้อโควิด" สายพันธุ์ "เดลตาพลัส" 1 รายที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ชี้ควรเร่งฉีดวัคซีน
(27 ต.ค.2564) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงสถานการณ์ "โควิด-19" หลังจากที่บ้านเราพบ "ผู้ติดเชื้อโควิด" สายพันธุ์ "เดลตาพลัส" 1 รายที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ชี้ควรเร่งฉีดวัคซีน แนะฉีดเข้าชั้นผิวหนังแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัคซีน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สธ.เผยไทยเจอคนติดโควิด-19 สายพันธุ์ "เดลตาพลัส"
- ไทยพบ"เดลตาพลัส" - "อัลฟาพลัส"กลายพันธุ์จุดหลบภูมิคุ้มกัน
- ยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 8,452 ราย ตาย 57 ราย ATK อีก 2,653 ราย
โดย หมอธีระวัฒน์ ได้โพสต์ข้อความระบุหลังมีรายงานพบ "ผู้ติดเชื้อโควิด" สายพันธุ์ "เดลตาพลัส" ในไทยว่า ย้อนไปเมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่พบ "เดลตา" ที่แคมป์คนงานที่หลักสี่และทางการประกาศไม่ต้องวิตก เพราะเจอไม่กี่รายและคุมสถานการณ์ได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ "หมอดื้อ" คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือนมิถุนายน ย้ำแบบเสียงดังฟังชัดเกี่ยวกับประเด็น “สงครามโควิด : ทำไมต้องบุกเร็ว-แรง”
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสาย “เดลตา” หรือ “เบตา” เข้ามาเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย โดยที่สายพันธุ์ปกติยังควบคุมไม่ได้ด้วยซ้ำ และทำไมเราต้องบุก “เร็ว”-“แรง” ?
นั่นเป็นเพราะว่าความสามารถในการแพร่กระจายของโควิดเก่งขึ้นเรื่อยๆ ตามการผันตัวของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งสำคัญที่เอื้ออำนวยให้มีการติดเชื้อเก่งขึ้น สร้างไวรัสปริมาณมากขึ้น หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่งขึ้น ประกอบกับความเบื่อบ้าง...ความไม่ใส่ใจวินัย รวมทั้งจากความจน ความท้อแท้ของคน ความหดหู่สิ้นหวัง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่า สายเดลตา (อินเดีย) ที่พบที่หลักสี่ 21 พฤษภาคม และเป็นในชุมชนแล้ว (แม้จะเป็นในแคมป์คนงาน) ต้องถือว่าเป็นการแพร่ทั่วไปแล้ว เพราะไม่สามารถสืบทั้งต้นตอ และทิศทางการแพร่กระจายได้ชัดเจน และทางการประกาศยืนยันในเวลาต่อมาว่ากระจายทั่วไปจริง
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมสายเบตาหรือแอฟริกาที่พบในลักษณะเดียวกันในภาคใต้ในชุมชนเช่นกันที่ควรจะรุนแรงมากกว่าและจากที่ห้องปฏิบัติการของเราพบสายเดลตาเนิ่นนานจากตัวอย่าง 13 พฤษภาคมแล้ว
และ 24 ตุลาคม 2564 มีเดลตาพลัส 1 รายในชุมชน ทางการประกาศไม่ต้องกังวล น่าจะต้องเปลี่ยนการสื่อสารว่า
1.การเร่งการฉีดวัคซีน ต้องทำมากกว่านี้ ขณะนี้สองเข็มได้ประมาณ 40% แต่ถ้าพิจารณาถึงประชาชนที่ฉีดสองเข็มไปนานแล้ว ตัวเลขดังกล่าว ที่จะสู้กับไวรัสได้จะน้อยกว่า 40% เพราะภูมิหายหมดแล้ว
2.การที่พบวาเรียนท์ย่อยนอกจาก เดลตาพลัส แสดงถึงการที่มีการกระจัดกระจายแพร่ระบาดของไวรัสไปอย่างเงียบๆ ตลอดเวลา จนในที่สุดไวรัสจะปรับตัวเองให้เก่งขึ้นในการแพร่กระจายนั่นก็คือในการหลบหลีกวัคซีนได้มากขึ้น
3.ต้องยอมรับว่าการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังจะขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัคซีน และสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยทั้งประเทศได้อย่างรวดเร็วที่สุดรวมทั้งลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างหนาตาในผู้ได้รับวัคซีนในขณะ
4.ต้องการเศรษฐกิจดีเปิดประเทศอย่างสง่างามต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดีไปพร้อมกันอย่างรีบด่วน
บทเรียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
CR เฟซบุ๊ก : ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา