"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ใช้จ่ายกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ได้ เช็คเงื่อนไขที่นี่

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ใช้จ่ายกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ได้ เช็คเงื่อนไขที่นี่

เปิดเงื่อนไขใช้ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" (บัตรคนจน) ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สำหรับผู้ถือบัตรที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล สามารถใช้จ่ายในการเดินทางทั้งค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขสมก./ MRT/ BTS และ ARL 500 บาทต่อเดือน

เปิดเงื่อนไขใช้ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" (บัตรคนจน) ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) โดยทาง กรมบัญชีกลาง ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินเข้าในเดือน พ.ย.2564 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- เปิดปฏิทิน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" พฤศจิกายน 2564 เงินเข้าวันไหนบ้าง

- สรุป “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” เงินเข้ารอบใหม่ ได้เงินเท่าไร? ใช้อะไรได้บ้าง?

- อย่าเชื่อ! กรุงไทย ให้สินเชื่อผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รายละ 5 หมื่น ไม่ต้องมีคนค้ำ

 

โดย "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" (บัตรคนจน) สำหรับผู้ถือบัตรที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล สามารถใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย 

 

  • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน
  • ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน
  • ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขสมก./ MRT/ BTS และ ARL 500 บาทต่อเดือน

 

\"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ\" ใช้จ่ายกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ได้ เช็คเงื่อนไขที่นี่

 

ในขณะที่เว็บไซต์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้งาน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ภายใต้เงื่อนไข 20 ข้อดังต่อไปนี้

 

1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Welffare Card) (บัตรฯ) หมายถึง บัตรฯ ที่ออกโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขที่หน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของบัตรฯ กำหนด

 

2. ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรฯ สามารถใช้บริการในระบบรถไฟฟ้ MRT สายสีน้ำเงิน และ สายสีม่วง ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนในเขต 7 จังหวัด ได้แก่  กรุงเทพฯ ,นนทบุรี , ปทุมธานี ,พระนครศรีอยุธยา , สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และ นครปฐม

 

3. บัตรฯ ที่ใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT ต้องเป็นบัตรที่มี 2 ชิปการ์ด คือมีสัญลักษณ์แมงมุมบนหลังบัตร

 

4. เริ่มใช้งานในระบบรถไฟฟ้า MRT ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ในช่วงเวลาให้บริการ ตามเงื่อนไขที่ประกาศในระบบรถไฟฟ้า MRT กำหนด

 

5. สิทธิวงเงินคำโดยสารสำหรับ รถไฟฟ้า ในบัตรฯ เป็นค่าเริ่มต้น 500 บาท/คน/เดือน (ค่าเริ่มต้นของจงเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด)

 

6 . สิทธิวงเงินค่าโดยสารในบัตรฯ ที่เป็นค่าเริ่มต้น จะถูกบันทึกลงในบัตรเมื่อแตะบัตรที่ประตู อัตโนมัติขาเข้าในระบบรถไฟฟ้า MRT ในวันที่ 1 ของทุกเดือน หรือ วันแรกที่มาใช้บริการของทุกเดือน

 

7.สิทธิวงเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ในบัตรมีอายุการใช้งานถึง ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน ไม่มีการสะสมสิทธิวงเงินคงเหลือที่มากกว่า 0 บาทไปยังเดือนถัดไป

 

8.เมื่อมีการเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT มูลค่าวงเงินในบัตรฯ จะถูกหักอัตโนมัติเป็นค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้อัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไปที่ประกาศอยู่ ณ ขณะนั้น

 

9. สิทธิวงเงินขั้นต่ำในบัตรที่สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสีน้ำเงิน ได้ คือ 1 บาท

 

10. สิทธิวงเงินในบัตรสามารถติดลบได้ 1 ครั้ง (ไม่เกิน-69 บาท)

 

11.บัตรฯ ไม่สามารถแลกสิทธิ์หรือขอคืนเป็นเงินสดได้ทุกกรณี

 

12.บัตรฯ ไม่สามารถใช้ชำระค่าบริการจอดรถของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้

 

13.บัตรฯ ไม่สามารถเติมมูลค่าที่ห้องออกบัตรโดยสาร หรือเครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้

 

14.บัตรฯ ไม่สามารถออกบัตรฯใหม่ ขอคืนบัตรฯ หรือออกบัตรฯ ทดแทนได้นระบบรถไฟฟ้า MRT

 

15.บัตรฯ สามารถตรวจสอบมูลค่าคงเหลือได้ ที่ห้องออกบัตรโดยสารของระบบรถไฟฟ้าMRT

 

16.บัตรฯ ไม่สามารถใช้งานได้ที่เครื่องตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ (RVC) และอุปกรณ์อ่านบัตรโดยสารแบบพกพา (CRD)

 

17.ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะตัวของบุคคลที่ระบุบนหน้าบัตรเท่านั้นที่ใช้เดินทางได้

 

18.ผู้โดยสารที่ใช้บัตรฯ และอยู่ในระบบรถไฟฟ้าเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด (120 นาที) หรือบัตรฯ สูญหายในรบบ สามารถชำระค่าธรรมเนียม/ค่าปรับตามอัตราที่กำหนดเป็นเงินสดเท่านั้น

 

19. หากบัตรฯ มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ให้ติดต่อขอคืนหรืออกบัตรทดแทนได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร 0 21 09 2345 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น.- 17.30 น.

 

20. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยบริษัทฯ จะประกาศให้ทราบในโอกาสต่อไป

 

\"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ\" ใช้จ่ายกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ได้ เช็คเงื่อนไขที่นี่