ข่าวรถตกน้ำล่าสุด หนุ่มขับตกคลอง ตาม GPS ชี้เจ้าของเส้นทางต้องรับผิดชอบ
ตรวจสอบเช็ค ข่าวรถตกน้ำล่าสุด หนุ่มขับตกคลอง ตาม GPS ชี้เจ้าของเส้นทางต้องรับผิดชอบ
ความคืบหน้า กรณีข่าวรถตกน้ำล่าสุด หนุ่มขับตกคลอง ตาม GPS ชี้เจ้าของเส้นทางต้องรับผิดชอบ "หมอธนะพงษ์" ผจก.ศปถ. ระบุ หน่วยงานเจ้าของเส้นทาง ต้องรับผิดชอบ เหตุแขกงานเลี้ยงปากน้ำโพ เปิดจีพีเอส ขับรถตกแม่น้ำ เพราะทางไม่ปลอดภัย ถือเป็นความประมาท เลิ่นเลอ ชี้ภาพข่าวที่ปรากฎ เส้นทางตรงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ไร้ไฟส่องสว่าง ไร้ป้าย สัญญาณเตือน แนะจีพีเอส ใช้งานได้แต่ต้องเข้าใจข้อจำกัด
นพ.ธนะพงษ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศปวถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย กล่าวว่า การเปิดสัญญาณ GPS “จีพีเอส” ใช้นำทางระหว่างการขับรถในเส้นทางประเทศไทย ในภาพรวม พอใช้งานให้เกิดประโยชน์บ้าง ในกรณีผู้ขับขี่ ไม่คุ้นเคยในเส้นทาง แต่ก็ควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะ “จีพีเอส” มักเลือกเส้นทางลัดที่ประหยัดเวลามากที่สุด มันจึงพาเราไปสู่ ถนนสายรอง ผ่านพื้นที่เรือกสวน ไร่นา ท้องทุ่ง ซึ่งมันคำนวนแล้วว่า สามารถใช้เป็นเส้นทางลัด และประหยัดเวลา
ในถนนสายรองเหล่านี้ มักเจอกับจุดตัดทางรถไฟ เส้นทางริมคลองประปา ทางเลียบตลิ่งแม่น้ำ หรือจุดยูเทิร์น ใต้สะพานข้ามทางแยก สะพานข้ามแม่น้ำตามที่เป็นข่าว นับเป็นสถานที่อันตรายอย่างมากสำหรับคนนอกพื้นที่ หรือ ผู้ขับขี่ที่ไม่คุ้นชินในเส้นทาง ซึ่งในความเห็นของมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย ก็อยากให้การนำทางด้วย “จีพีเอส” มีระบบแจ้งเตือนถึงอันตรายในพื้นที่เหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นได้
แต่ประเด็นสำคัญ คือ สถานที่อันตรายพวกนี้ ควรเป็นความรับผิดชอบที่เป็นเจ้าของเส้นทางเหล่านี้โดยตรง เช่น จุดตัดทางรถไฟ ที่ควรมีเครื่องกั้นทาง สัญญาณเสียง หรือป้ายจราจรที่พอจะแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า หรือจุดยูเทิร์น ก็ควรมีแท่งปูน แบร์ริเออร์มาวางป้องกันไปตามเส้นทาง แต่ภาพข่าวที่เห็น ไม่เห็นแม้แต่ป้ายแจ้งเตือนเลย การจัดสร้างเส้นทางของหน่วยงานต่างๆ ก็ควรดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน
โดยเฉพาะการใช้เส้นทางในเวลากลางคืน โดยหลักพื้นฐานความปลอดภัยทางถนน สิ่งที่ควรมีเป็นลำดับแรก คือ เส้นแบ่งเขตถนน เส้นกำหนดไหล่ทาง เป็นเส้นที่สามารถสะท้อนแสง แล้วจึงค่อยเสริมด้วยป้ายแจ้งเตือนในทุกจุดอันตราย ทั้งทางแยก ทางเลี้ยว ทางโค้ง จุดยูเทิร์น จุดตัดทางรถไฟ เส้นทางในพื้นที่สูงชั้น
“ไฟส่องสว่างในเส้นทางตรง อาจเว้นระยะได้บ้าง แต่ในจุดอันตรายต่างๆ ที่กล่าว ไม่ควรมีข้ออ้างว่าเหตุใดจึงยังไม่มี”
ในอดีต เคยมีญาติของผู้เสียชีวิต ฟ้องดำเนินคดีทางแพ่ง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง หลังเกิดอุบัติเหตุ ขับรถตกสระน้ำ ของ อบต. เป็นการเสียชีวิตของคนในพื้นที่ ไม่ได้เปิดจีพีเอส แต่เส้นทางรอบสระน้ำ จัดสร้างอย่างไม่มีความปลอดภัย จึงถือเป็นความประมาท เลินเล่อ
“ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่บำรุงรักษาถนน ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ในการซ่อมแซมผิวจราจรที่ชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้งานได้ดีตลอดเวลา โดยบริเวฯถนนสายที่เกิดเหตุเป็นสามแยก ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องติดตั้ง เครื่องหมายจราจรหรือป้าย “ประเภทแจ้งเตือน”
สำหรับผู้ขับขี่ที่ต้องใช้ “จีพีเอส” นำทางเป็นประจำ ก็ควรทำความเข้าใจกับข้อจำกัดของระบบนำทางนี้ อาจเป็นเส้นทางที่สำรวจมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลเป็นปีปัจจุบัน การรับ – ส่งสัญญาณ อาจไม่เรียลไทม์ และการแสดงผลที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบ 2 มิติ ฉะนั้น การเลี้ยวเข้าจุดยูเทิร์น ที่กำลังแล่นเข้าสู่ใต้สะพานอาจเกิดความคลาดเคลื่อน