สศช.เผย GDP ไตรมาส 3 ติดลบ 0.3% คาดเศรษฐกิจทั้งปี 2564 โต 1.2%

สศช.เผย GDP ไตรมาส 3 ติดลบ 0.3% คาดเศรษฐกิจทั้งปี 2564 โต 1.2%

สศช.แถลงจีดีพีไตรมาส 3/2564 ติดลบ 0.3% จากผลกระทบการแพร่ระบาด คาดการณ์จีดีพีปี 2564 ทั้งปีขยายตัว 1.2% มองเศรษฐกิจปี 2565 ขยายตัว 3.5 - 4.5%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไทยประจำไตรมาสที่ 3/2564 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2564 และปี 2565ทั้งปี 

โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่3/2564 ติดลบ0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ได้รับผลกระทบในเรื่องการลงทุนที่ติดลบ 0.3% การลงทุนภาครัฐหดตัว 6% การบริโภคเอกชนติดลบ 3.2% ขณะที่การส่งออกขยายตัวได้ดี 15.7% 

โดยรวม 9 เดือนแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัว 1.3% 

นอกจากนี้ สศช.ได้คาดการณ์จีดีพีในปี 2564 ว่าจะขยายตัวได้1.2% จากครั้งล่าสุดที่แถลงข่าวในเดือน ส.ค.ว่า จีดีพีจะขยายตัวได้ในกรอบ  0.7 - 1.2% (ค่ากลางอยู่ที่ 1%) และบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุล2.5% ต่อ GDP เทียบกับการเกินดุล 4.0% ต่อ GDP ในปี 2563 โดยมีการปรับองค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2564 และการปรับเปลี่ยน

สมมติฐานการประมาณการที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1) การปรับเพิ่มสมมติฐานรายรับและจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 ตามการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาด

และการดำเนินนโยบายเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคนครบถ้วนแล้วจาก 63

ประเทศ ให้เดินทางเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวและสามารถเดินทางไปยังพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวได้ภายใต้เงื่อนไขและมาตรการ

ทางสาธารณสุข ซึ่งเริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้คาดว่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในช่วง 2 เดือน

สุดท้ายของปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ และทำให้คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 จะอยู่ที่ 2 แสนคน และมีรายรับ

จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมประมาณ 13 แสนล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.5 แสนคนและรายรับ 1.2 แสนล้านบาท ในสมมติฐาน

การประมาณครั้งก่อน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว10% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 9.6%ในการประมาณการครั้งก่อน 

 

 

ส่วนปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.5 - 4.5%  โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างชัดเจนต่อเนื่องจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำในปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุน

ที่สำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากสถานกรณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายและการกระจายวัคซีนครอบคลุม

มากขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับแน่วโน้มการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

และการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก นอกจากนี้

เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายของภาครัฐและกรอบการใช้จ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ อย่างโรก็ดี ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน

อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มกลางการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมทั้งข้อจำกัดจากเงื่อนไข

ด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิต

ภาคอุตสาหกรรมยังมีความสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

และความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกท่ามกลางแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

 

นายดนุชา กล่าวว่า สศช.ได้จัดทำข้อเสนอในประเด็นการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีไปจนถึงปี 2565 ต้องให้ความสำคัญกับ 

1.การควบคุมการระบาดและจำกัดการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด  โดยเน้นการตรวจเชิงรุก การแยกการป่วยในภาคการผลิต และการเร่งหาและกระจายยา รวมทั้งเร่งการกระจายวัคซีนให้มากที่สุด 

2.การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทั้งมาตรการการเงินและการคลัง ให้ความช่วยเหลือซอฟท์โลนสำหรับเอสเอ็มอี 

3.เตรียมมาตรการสำหรับการช่วยให้เกิดการฟื้นตัวของประชาชน ทั้งภาคการท่องเที่ยวและการเดินทางในประเทศ ควบคู่ไม่ให้มีการระบาดซ้ำ และหามาตรการสำหรับการ Jump Start สำหรับเอสเอ็มอี 

4.การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดยการควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า การแก้ไขปัญหาการขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และ การเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ในขั้นตอนของการเจรจาและเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ 

5.การรักษาแรงขับเคลื่อน การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมายทั้งงบประมาณประจำปี งบรายจ่ายต้องได้ 91.5% งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ 70%  และการเบิกจ่ายเงินกู้ฯให้ได้ 85%    

6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง การแก้ไขปัญหา ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก และอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และการขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

7.การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพราะปัญหาทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกับเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความเปราะบางอยู่มากในขณะนี้ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากโควิด-19 

8.ติดตาม เฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนและหนี้ของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อเนื่องที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป