"อลงกรณ์" ห่วงสถานการณ์น้ำเพชรบุรี เร่ง "เยียวยาเกษตรกร" และประชาชน
"อลงกรณ์" ห่วงเพชรบุรีสั่งชลประทาน เร่งช่วยเหลือ "เยียวยาเกษตรกร" และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน
เมื่อวันที่ 25 พ.ย.64 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ภายหลังลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบฉับพลันล่าสุดในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีว่า ได้ประสานการทำงานกับนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายสันต์ จรเจริญ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี นายมีชัย ปฏิยุทธ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแก่งกระจาน นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เร่งให้การเร่งช่วยเหลือ "เยียวยาเกษตรกร" และประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันเมื่อคืนวันวานที่ผ่านมาตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีความห่วงใยในพี่น้องชาวจังหวัดเพชรบุรี
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า น้ำหลากน้ำท่วมฉับพลันครั้งนี้เกิดจากฝนตกหนักเหนืออ่างเก็บน้ำ และใต้อ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง คือ แก่งกระจาน แม่ประจันต์ ห้วยผากและห้วยสงสัย ในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่บางหมู่บ้านของอำเภอแก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง ท่ายางและชะอำเป็นภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันมาเร็วไปเร็ว ซึ่งจังหวัดเพชรบุรี ปภ.จังหวัด กำนันผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานชลประทานและเครือข่ายจิตอาสาได้ร่วมกันช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายเป็นปกติโดยส่วนใหญ่เหลือเพียงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีน้ำท่วมขังโดยมอบหมายให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ชลประทานจังหวัดเพชรบุรีและสำนักงานชลประทานที่ 14 ระดมเครื่องจักกลและเครื่องสูบน้ำเร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด
สำหรับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเพชร บ่ายวันนี้ได้ระบายลงแม่น้ำเพชรบุรี 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและคลองระบายน้ำ 4 สายหลักในปริมาณเท่าๆ กันซึ่งด้วยปริมาณน้ำดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ใต้เขื่อนเพชรได้แก่อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาดและเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี แต่อาจมีน้ำท่วมขังในตำบลบ้านกุ่ม ท่าแร้งและบางครกซึ่งชลประทานจะเร่งสูบน้ำและผลักดันน้ำออกจากพื้นที่ภายในไม่มีวันข้างหน้า
“น้ำท่วมครั้งนี้เป็นท่วมเฉพาะบางพื้นที่ในระยะสั้น จึงไม่มีผลกระทบต่อการค้าธุรกิจ และการท่องเที่ยวในวงกว้างแต่อย่างใด ส่วนพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการดูแลช่วยเหลือเยียวยาจากทางราชการโดยเร็วต่อไป
สำหรับน้ำท่วมครั้งที่แล้วระหว่างงันที่ 8 – 11 พ.ย. ทางจังหวัดสรุปรายงานมีพื้นที่ 5 อำเภอ 17ตำบล 98 หมู่บ้าน 369 ครัวเรือนซึ่งจะเร่งจ่ายเงินเยียวยาโดยเร็ว ส่วนน้ำท่วมครั้งนี้ให้เร่งทำการสำรวจเพื่อ "เยียวยาเกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว