"โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" มีระดับความรุนแรงมากเพียงใด

"โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" มีระดับความรุนแรงมากเพียงใด

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตอบคำถามประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" ว่ามีระดับความรุนแรงเพียงใดนั้น พร้อมข้อมูลอ้างอิงจากแพทย์แอฟริกาใต้

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตอบคำถามประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" ว่ามีระดับความรุนแรงเพียงใดนั้น

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- สธ. เฝ้าระวัง "โอไมครอน" พร้อมสื่อสารให้ประชาชนทราบข้อมูลต่อเนื่อง

- เช็ครายประเทศ โควิด "โอไมครอน" ลามไปถึงไหนแล้ว

- หมอยง ชี้วัคซีนลูกผสมอาจช่วยต้าน "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" ได้

 

ทางเพจ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้ตอบคำถาม Q&A เกี่ยวกับระดับความรุนแรงของเชื้อ "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" โดยระบุว่า จากข้อมูลเบื้องต้นยังมีไม่มากพอที่จะบอกถึงความรุนแรง แต่สิ่งที่กังวล คือ ผลของการกลายพันธุ์ ทำให้เชื้อสามารถแพร่ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่นๆ สธ.ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และคงมาตรการป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาลจะเป็นเกราะป้องกันจากโควิด-19 ได้

 

\"โควิดสายพันธุ์โอไมครอน\" มีระดับความรุนแรงมากเพียงใด

 

เทคนิคตรวจหาโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" 

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เทคนิคการตรวจสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะมี 3 วิธีทดสอบ คือ 

 

1.RT-PCR โดยใช้น้ำยาพิเศษแต่ละสายพันธุ์โดยตรง ใช้เวลา 1-2 วัน โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศดำเนินการได้

 

2.Target sequencing เป็นการดูรหัสพันธุกรรมว่าเหมือนชนิดใดใช้เวลา 3 วัน

 

3.Whole genome sequencing เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ใช้เวลา 1 สัปดาห์

 

 

ทั้งนี้ ขณะนี้ยังไม่มีน้ำยาเฉพาะที่จะตรวจหาสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งใช้เวลาเร็วที่สุด 1-2 วันจะต้องใช้เวลาพัฒนาอีก 2 สัปดาห์

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก พญ.แองเจลิก โคทซี แพทย์ประจำตัวและประธานสมาคมการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 พ.ย.2564 ระบุว่า อาการของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ไม่รุนแรงมากและสามารถรักษาได้ที่บ้าน โดยจะมีอาการเหนื่อยมาก ปวดเมื่อยตามร่างกายและปวดหัว จนถึงตอนนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่ได้รายงานเรื่องการสูญเสียการรับรู้เรื่องกลิ่นหรือการรับรสและไม่มีระดับออกซิเจนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย

 

เมื่อพิจารณาจากอาการอ่อน ๆ ที่เราพบเห็น ในปัจจุบันก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องตื่นตระหนก เพราะเราไม่เห็นผู้ป่วยที่ป่วยหนัก จนถึงตอนนี้เราเพิ่งเห็นการติดเชื้อที่ลุกลาม ไม่ใช่การติดเชื้อรุนแรง แต่ก็เสริมว่าสถานการณ์อาจเปลี่ยนไปได้ในอนาคต

 

สำหรับ 18 ประเทศรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" แล้ว ประกอบด้วย บอสวาน่า เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ บริเทน เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก  ฮ่องกง อิสราเอล ออสเตรเลีย