เช็คแผน "12-8-6" ฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
เปิดมาตรการ "12-8-6" ฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ ช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. รับมืออย่างไร เช็คแผนที่นี่!
จากคำเตือนจาก ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ถึงแนวโน้มที่ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันที่ 6-9 ธ.ค.2564 เป็นข้อมูลคาดการณ์ที่ตรงกับหน่วยงาน กทม.ว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 จะเกินค่ามาตรฐานช่วงฤดูหนาวในเดือน ธ.ค.-ม.ค.ของทุกปี
สาเหตุหลักของฝุ่น PM 2.5 มาจากมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมามีกำลังอ่อนลง ทำให้เกิดลมอ่อนหรือลมสงบ และลมที่พัดมาจะนำฝุ่นละอองจากการเผาในที่โล่งจากภาคกลางและประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถูกเข้ามาทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดฝุ่นPM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีค่าสะสมสูงขึ้น
หากยังจำกันได้ในปี 2561-2562 เกิดวิกฤติค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานในกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่าไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มกค./ลบ.ม.) แต่ช่วงวันที่ 1 ธ.ค.2561-28 ก.พ.2562 ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 90 มกค./ลบ.ม. ทำให้สภาพอากาศในกรุงเทพฯขณะนั้นพบฝุ่นหนาแน่นลอยตัวเห็นได้ชัด
สำหรับในกรุงเทพฯ มีสถานีตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 แบบถาวรจำนวน 70 จุดในบริเวณริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น พื้นที่พักอาศัย และบริเวณสวนสาธารณะ หากพบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ตั้งแต่ 50 มกค./ลบ.ม.ขึ้นไป กทม.และหน่วยที่เกี่ยวข้อง อาทิ บช.น. บก.จร. รฟม. รฟท. ขสมก. จะกำหนดมาตรการ ควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศ จากยานพาหนะ สถานประกอบการ การก่อสร้างรวมถึงการเผาในที่โล่งแจ้ง มีดังนี้
• ค่าฝุ่นไม่เกิน 50 มกค./ลบ.ม.
1.ควบคุมรถยนต์ควันดำ
2.บริการตรวจเช็คควันดำเครื่องยนต์ฟรี
3.กำกับดูแลสถานก่อสร้างให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
4.ควบคุมสถานประกอบการปล่อยควันเกินค่ามาตรฐาน
5.ล้างถนนดูดฝุ่นบนถนน
6.กวดขัน ตรวจตาไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง
7.ค่าฝุ่นมากกว่า 40 มคก./ลบ.ม. ควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้งของเด็กเล็กในโรงเรียน
8.ตรวจวัดและรายงานสถานการณ์ฝนสวนสาธารณะ 20 จุดสำนักงานเขต 50 จุด
9.เปิดคลีนิคมลพิษทางอากาศ 3 แห่ง
10.ฉีดพ่นละอองน้ำบนอาคารสูง
11.เปิดสายด่วน 1584 แจ้งเบาะแสรถควันดำ
12.ให้บริการแอพพลิเคชั่น ตรวจเช็คค่าฝุ่นพื้นที่กรุงเทพฯ
• ค่าฝุ่นระหว่าง 51-75 มกค./ลบ.ม.
1.ปิดการเรียน การสอนครั้งละไม่เกิน 3 วัน
2.จัดให้มี Safe Zone ในทุกโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก
3.เข้มงวดตรวจจับรถยนต์ควันดำ
4.งดกิจกรรมก่อสร้างทุกประเภทที่เกิดฝุ่น
5.ห้ามจอดรถริมถนนในถนนหลักและรอง
6.บังคับ ใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดในการเผาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
7.เก็บขยะมูลฝอยแล้วเสร็จก่อนเวลา 04.00 น.
8.ออกหน่วยบริการสาธารณะสุข และหน่วยบริการเคลื่อนที่
• ค่าฝุ่นระหว่าง 76-100 มกค./ลบ.ม.
1.สั่งหยุดการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5-7 วัน
2.ปิดการเรียน การสอนครั้งละไม่เกิน 15 วัน
3.บุคลากรของ กทม. Work From Home เหลื่อมเวลาทำงาน และงดใช้รถยนต์ส่วนตัว
4.จับปรับจอดรถไม่ดับเครื่องประสานให้หน่วยงานราชการใช้ระบบขนส่งมวลชน
5.บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำผิดในการเผา
ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
6.เข้มงวดจับ-ปรับรถยนต์ควันดำ
• สำหรับมาตการแก้ไขปัญหาระยะยาว มีดังนี้
1.ปลูกป่าเป็น Buffer Zone ป้องกันมลพิษ
2.เร่ง ออกกฎกระทรวงรถผ่านเกณฑ์มาตรฐานควันดำวิ่งได้เท่านั้น
3.ภาคการเกษตรปลอดการเผา
4.รถโดยสารขนาดใหญ่เข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ต้องปลอดเขม่าควัน
5.ผลักดันผู้ประกอบการผลิตน้ำมันดีเซลลดสารกำมะถัน
เหลือไม่เกิน 10 PPM
6.ส่งเสริม สถานีจำหน่ายน้ำมัน Euro 5
7.เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากฝุ่น PM2.5
ขณะเดียวกัน ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศได้ที่เว็บไซต์ www.air4bangkok.com www.bangkokairquality.com และแอพพลิเคชั่น AirBKK