"ไมโครฟูลมูน" ความเชื่อ ปรากฏการณ์สาเหตุต้นตอการเกิดภัยธรรมชาติจริงหรือ?
"ไมโครฟูลมูน" เปิดความเชื่อ ปรากฏการณ์สาเหตุต้นตอการเกิดภัยธรรมชาติจริงหรือ? โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา (18 มกราคม 2565) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะห่างไกลโลกที่สุดในรอบปี
"ไมโครฟูลมูน" ความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ full moon หรือ micro moon โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา (18 มกราคม 2565) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะห่างไกลโลกที่สุดในรอบปี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สดร. เผยภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565
สำหรับปรากฏการณ์ "ไมโครฟูลมูน" เมื่อคืนนี้ เป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงโคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 401,011 กิโลเมตร จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ "ไมโครฟูลมูน" เมื่อนำภาพถ่ายของดวงจันทร์ในคืนดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายของดวงจันทร์ในช่วงใกล้โลกที่สุด หรือที่เรียกว่า ซูเปอร์ฟูลมูน ในรอบปี (เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2562) จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน
โดย "ไมโครฟูลมูน" หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2565 จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ที่ระยะห่างจากโลก 357,411 กิโลเมตร วันดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
ความเชื่อปรากฏการณ์ "ไมโครฟูลมูน"
เว็บไซต์ timeanddate ได้ตั้งคำถามประเด็น ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติจริงหรือ?
โดยมีความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณว่า ปรากฏการณ์ full moon หรือ micro moon นั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของมนุษย์และนำมาซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่จะสนับสนุนความสัมพันธ์ดังกล่าวว่า เป็นความจริง
ขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ยังได้มีการเผยภาพโรงเรียนในโครงการ กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ "77 จังหวัดเปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า" ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก NARIT มาจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดวงจันทร์กันอย่างคึกคักด้วย
โรงเรียนร่มเกล้า อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดแสงธรรมสุทธาราม) จ.นครสวรรค์
โรงเรียนอนุบาลศรีเชียงใหม่ อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 47 จ.เพชรบุรี
โรงเรียนชุมชนดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น
โรงเรียนบ้านนาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่
อ้างอิงจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , timeanddate