"สามารถ" อาลัย "หมอกระต่าย" ย้ำ ต้องไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำอีก

"สามารถ" อาลัย "หมอกระต่าย" ย้ำ ต้องไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำอีก

"สามารถ เจนชัยจิตรวนิช" อาลัย "หมอกระต่าย" ย้ำ จะต้องไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำขึ้นอีก ติดตั้งปุ่มกดสัญญาณไฟจราจร พร้อมระบบเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตา

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ตนขอแสดงความเสียใจไปยัง"หมอกระต่าย" พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุลและครอบครัว จากกรณี"หมอกระต่าย" เสียชีวิตจากเหตุถูกส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ผบ. หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ที่ขี่บิ๊กไบค์พุ่งชนขณะข้ามถนนบนทางม้าลายหน้าสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์  

โดยวันนี้นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการตรวจสอบคุ้มครองผู้ใช้ทางม้าลายให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งตรงที่เกิดเหตุบริเวณถนนพญาไท ผมเคยผ่านแถวนั้นตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเด็กก็ข้ามถนนได้เป็นปกติ แต่ปัจจุบันนี้มีคอนโดเกิดขึ้นจำนวนมากมายหลายแท่ง ซึ่งก็ทำให้มีประชากรเยอะมากขึ้นและรถก็จำนวนมากตามไปด้วย จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำขึ้นอีกแบบหมอกระต่ายอีก  ถ้ามีสัญญาณไฟจราจรมั่นใจได้เลยไม่มีเหตุการณ์​สลดแบบนี้อย่างแน่นอน​

ดังนั้น ผมขอเสนอความเห็นต่อนายกฯขอให้มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสำรวจทางม้าลายทุกจุดให้ต้องติดตั้งปุ่มกดสัญญาณไฟจราจรมีไฟเขียวไฟแดงเพื่อให้ผู้ใช้ทางข้ามกดปุ่มเวลาข้ามถนน พร้อมระบบเสียงสัญญานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาด้วยเช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว

"ผมคิดว่าจะต้องมีการดำเนินการติดสัญญาณไฟกดปุ่มสำหรับผู้ใช้ทางข้ามถนน-ทางม้าลายทุกจุดโดยเร่งด่วน ซึ่งไม่ได้ใช่งบประมาณมากมาย ทั้งนี้ ถ้าเทียบกับผลที่ได้รับเพื่อความปลอดภัยบนทัองถนน ลดการเกิดอุบัติเหตุ
ลดความสูญเสียของทุกครอบครัว​ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยเช่นกรณีหมอต่ายอีก "


ส่วนตัว​ผมก็อยากวิงวอน​ให้สังคมให้อภัย​ ส.ต.ต.นรวิชญ์​ บัวดกด้วย​ เพราะเหตุการณ์​แบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด​ ผมก็ขออนุโมทนา​บุญ​กับการบวชในครั้งนี้ด้วย​ ในสมัยโบราณก็มีการบวชเพื่อ​หนีภัยที่​จะถึงแก่ตนก็มีให้เห็นมาแล้วเช่น

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ช่วงปลายรัชกาลก่อนที่พระองค์จะสวรรคต พระองค์ทรงถวายพระราชวังลพบุรีให้เป็นเขตพุทธาวาสและให้ขุนนางที่ใกล้ชิดบวชเพื่อหลบหนีจากภัยทางการเมือง เพราะทรงทราบว่า พระเพทราชากำลังวางแผนยึดราชสมบัติ จึงมีพระราชโองการให้ขุนนางที่ใกล้ชิดให้มาเข้าเฝ้า

“จึงมีพระราชดำรัสให้หาบรรดาชาวที่ชาววังซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมประมาณสิบห้าคนเข้ามาเฝ้าในพระมหาปราสาทที่นั่งสุธาสวรรย์ที่เสด็จทรงพระประชวรอยู่แล้วนั้น จึงมีพระราชโองการตรัสว่า บัดนี้ อ้ายสองคนพ่อลูกมันคิดการเป็นกบฏ ฝ่ายเราก็ป่วยทุพลภาพหนักอยู่แล้ว เห็นชีวิตจะไม่ตลอดไปจนสามวัน และซึ่งท่านทั้งหลายจะอยู่ในฆราวาสนั้นเห็นว่า อ้ายกบฏพ่อลูกมันจะฆ่าเสียสิ้น อย่าอยู่เป็นคฤหัสถ์เลย จงบวชในพระบวรพุทธศาสนา เอาธงชัยพระอรหันต์เป็นที่พึ่งเถิดจะได้พ้นภัย” 

ก็เห็นได้ว่าการบวชนั้นเป็นสิ่งที่ดี​ ได้ทั้งบุญ​และรอดภัยด้วย​ แต่กรณีของ​ ส.ต.ต.นรวิชญ์​ ดูข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนแจ้ง​ มีข้อหาหนักสุดคือ​ ขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย​  มีประมวล​กฏหมาย​อาญา​ 

มาตรา 291 ระบุไว้ว่า"ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ดังนั้น​ ส.ต.ต.นรวิชญ์​ ก็ต้องได้รับโทษที่ทำอยู่​แล้ว​ และเป็นการประมาทซึ่ง​ ส.ต.ต.นรวิชญ์​ ต้องรับชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งอีก​ ส่วนตัวผมว่าควรให้ความเป็นธรรมกับครอบครัว​ของ​ ส.ต.ต.นรวิชญ์ด้วย​ เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน มาตรา 29 วรรค 2 ที่รับรองหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (presumption of innocence) ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิของปวงชนชาวไทย

“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้” 

จึงมีหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์โดยได้มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา เพียงแต่อาจจะมีการเขียนข้อความสั้นยาวต่างกัน ยกเว้นแต่ช่วงที่ใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวหลังรัฐประหารไม่ปรากฏหลักการนี้ โดยภาพรวมน่าจะถือได้ว่าหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์เป็นธรรมเนียมในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้แล้ว​ โดยนอกจากนี้ หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งมีประเทศไทยกับอีก 172 ประเทศทั่วโลกเป็นภาคีอีกด้วย

ดังนั้น​ ผมว่า​รัฐธรรมนูญ​เป็นกฏหมายสูงสุด​ของประเทศ​ จะมีกฏหมายใดใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ​ไม่ได้​  ดังนั้น​ที่กระทำกันในโลกออนไลน์​ นั้นละเมิดหรือไม่​ กฏหมายของสงฆ์​ตัดสิทธิ์​ห้ามบวชนั้นทำได้หรือไม่​ ผมก็ขอเขียนฝากอีกมุม​ ให้กำลัง​ใจ​ทุกคน​ ทุกฝ่าย​เพราะ​ ทุกคนก็คือคนไทยด้วยกัน​ สังคมจะเดินหน้าได้กฏหมายต้องเป็นธรรม​ และ​ เท่าเทียม​ ไม่เลือกปฏิบัติ​  เพราะบางอย่างอาจจะถูกใจแต่ไม่ถูกต้องก็เป็​นได้​  แต่เหนือสิ่งอื่นใดรัฐต้องถอดบทเรียน​นี้​ ติดตั้งสัญญา​ณไฟจราจร​ ทุกทางม้าลายที่อยู่บนถนน  เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นอีก​ ต้องไม่มีพ่อแม่พี่น้องคนไทยคนไหนต้องเสียใจ​อีก​ ผมว่าความปลอดภั​ยเกิดขึ้นได้ถ้ามีมาตรฐาน​ดีพอ