ครม.ยกเว้นภาษี "เงินเยียวยา-เงินอุดหนุน" 12 โครงการช่วยโควิด จริงหรือ?

ครม.ยกเว้นภาษี "เงินเยียวยา-เงินอุดหนุน" 12 โครงการช่วยโควิด จริงหรือ?

ครม. อนุมัติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล ที่ได้รับ "เงินเยียวยา-เงินอุดหนุน" จาก 12 โครงการช่วยเหลือของรัฐ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารในประเด็นเรื่อง ครม. อนุมัติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล ที่ได้รับเงินเยียวยาจาก 12 โครงการช่วยเหลือของรัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติร่างกฎหมายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการภาครัฐอันเนื่องมาจากการบรรเทา ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 2 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระภาษีและช่วยเหลือ ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนและ ผู้ประกอบการที่ได้รับเงินเยียวยาจาก 12 โครงการ ที่ภาครัฐได้จ่ายเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดให้แก่ประชาชนและ ผู้ประกอบการ ในปี 2564 ที่ผ่านมา

โดย สาระสำคัญของร่าง พ.ร.ฎ. และร่างกฎกระทรวง ทั้ง 2 ฉบับมีดังนี้

1. ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากโครงการของภาครัฐ ได้แก่

  • เงินเยียวยาที่ได้รับตามโครงการเยียวยานายจ้างและ ผู้ประกันตนตาม ม.33 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 33 ในกิจการ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
  • เงินอุดหนุนที่ได้รับตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับ การจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางาน โดยบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องไม่นำรายจ่ายที่จ่ายจากเงินอุดหนุนตาม โครงการดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการรับเงินตามโครงการ ทั้ง 2 โครงการดังกล่าว

2.ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการของภาครัฐเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 64 ได้แก่

  1. เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว และค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
  2. เงินได้ที่อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัคร กทม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ได้รับเป็นค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยว ตามโครงการกำลังใจ
  3. เงินได้ที่ได้ รับเป็นค่าเดินทางและค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ จากผู้ประกอบการนำเที่ยวในลักษณะร่วมจ่าย (Co-pay) ตามโครงการ ทัวร์เที่ยวไทย
  4. เงินได้ที่ได้รับสำหรับค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าและค่าซื้อ สินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3
  5. เงินได้ที่ได้รับสำหรับค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าและค่าซื้อสินค้า หรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เฉพาะผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษตามโครงการ เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
  6. เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม และค่าซื้อสินค้าอื่น ที่ได้ใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ ตามโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
  7. เงินได้ที่ได้รับในรูปของ e-Voucher เป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าสินค้าหรือบริการตามโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
  8. เงินได้ที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐและไม่เป็น ผู้ประกันตนตาม ม.33 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 33 ได้รับ เป็นค่าครองชีพตามโครงการเราชนะ
  9. เงินได้ที่ผู้ประกันตนตาม ม.33 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 33 ได้รับตามโครงการ ม.33 เรารักกัน

ทั้ง 12  โครงการของภาครัฐที่ได้จ่ายเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใด อันเนื่องมาจากการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2564 มีดังนี้ โครงการกำลังใจ/ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน /โครงการคนละครึ่ง/ โครงการเราชนะ /โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 / โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ/โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้/ โครงการ ม33 เรารักกัน/โครงการทัวร์เที่ยวไทย/โครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด/โครงการให้ความช่วยเหลือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 ของ กระทรวงศึกษาธิการ/ โครงการส่งเสริม และรักษาระดับการจ้างงาน ในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน 

โดยรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโครงการดังกล่าวไม่อยู่ ในประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ แต่หากไม่ได้กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล จะสามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ประมาณ 31,979.35 ล้านบาท และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจะช่วยเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ ช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมนตรี  สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prd.go.th หรือโทร. 02 618 2323