อัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 2,892 จับตา ภูเก็ต บุรีรัมย์ โคราช
เกาะติดเช็คอัพเดทล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. ยอด 2,892 ราย จับตาภูเก็ต บุรีรัมย์ โคราช นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ราชบุรี นครปฐม
อัพเดทต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 14 ก.พ. 65 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบ อัพเดท 10 จังหวัด อันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
รายงานวันนี้ ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
14/02/2565 กรุงเทพ หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี นครราชสีมา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ราชบุรี บุรีรัมย์ นครปฐม
ฉีดวัคซีนโควิด จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 13 ก.พ. 2565)
รวม 120,009,906 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 276,153 โดส
เข็มที่ 1 : 18,966 ราย
เข็มที่ 2 : 11,802 ราย
เข็มที่ 3 : 245,385 ราย
----------------------------
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 52,793,091 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,229,204 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 17,987,611 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์
เดือน กุมภาพันธ์ 2565
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ 14,900 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 384,792 ราย
หายป่วยแล้ว 287,338 ราย
เสียชีวิตสะสม 764 ราย
----------------------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,608,227 ราย
หายป่วยแล้ว 2,455,832 ราย
เสียชีวิตสะสม 22,462 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 13 กุมภาพันธ์ 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 120,009,906 โดส
----------------------------
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 18,966 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 11,802 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 245,385 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 412,171,667 ราย
อาการรุนแรง 87,065 ราย
รักษาหายแล้ว 332,703,940 ราย
เสียชีวิต 5,834,095 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 79,325,576 ราย
2. อินเดีย จำนวน 42,664,712 ราย
3. บราซิล จำนวน 27,483,031 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 21,708,827 ราย
5. สหราชอาณาจักร จำนวน 18,306,859 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 31 จำนวน 2,608,227 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
รพ.ศรีธัญญา เปิดรอบที่ 8 Walk in สำหรับประชาชนรับเทศกาลวาเลนไทน์
เลือกวัน เวลา ที่สะดวก ในการรับวัคซีน ตามเงื่อนไขการรับวัคซีนที่กำหนด
รับจำกัดวันละ 1,000 คน วันที่ 14 15 17 และ 18 ก.พ. 65
รอบเช้า เวลา 09.00 น. – 12.00 น.
รอบบ่าย เวลา 13.00 น. – 15.00 น.
ณ ศูนย์วัคซีนเฉพาะกิจ อาคารผู้ป่วยใน 9 ชั้น โรงพยาบาลศรีธัญญา
ที่มา โรงพยาบาลศรีธัญญา
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สปสช. ยืนยัน “รักษาฟรี” แม้ถอดโควิดออกจากโรคฉุกเฉิน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวการปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ออกจากภาวะฉุกเฉินวิกฤตรักษาทุกที่ (UCEP) ระบุว่า การออกประกาศเป็นอำนาจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการปลดโควิด-19 ออกจากภาวะฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล แต่หากมีการประกาศออกมา ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่รักษาแล้ว ดังนั้นการที่ใช้คำว่า "หมดสิทธิรักษาฟรี" จึงไม่ถูกต้อง และขอยืนยันว่ายังรักษาฟรีและรักษาฟรีทุกโรคไม่เฉพาะแค่โควิด-19 เป็นไปตามสิทธิและหลักการระบบสาธารณสุขของไทย ได้แก่
1. การรักษาพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองมี เช่น สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง ฯลฯ
2. หากมีอาการฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ซึ่งกรณีของโควิด-19 นั้นตั้งแต่ปี 2563 สธ.ประกาศว่าการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ถือเป็นเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากในช่วงแรกจนถึงช่วงการระบาดของสายพันธุ์ Delta มีความกังวลว่าเมื่อป่วยแล้วเชื้อจะลงปอด ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ จึงต้องประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินเพื่อให้รีบนำผู้ป่วยไปรักษาให้เร็วที่สุด หากมีการประกาศให้โรคนี้ไม่เป็นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยก็สามารถไปรับการรักษาพยาบาลได้ตามระบบปกติ เช่น หากใช้สิทธิบัตรทอง จะมีหน่วยบริการประจำที่ลงทะเบียนไว้ ผู้ป่วยสามารถไปรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากเข้าระบบการดูแลแบบ Home Isolation สปสช. ก็ยังดูแลค่าใช้จ่ายให้เหมือนเดิม
ที่มา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ
แจ้งปรับเปลี่ยนประตูทางเข้า
เพื่อรับบริการตามชนิดวัคซีนและรูปแบบการฉีด
ประตู 1
ชนิดวัคซีน Pfizer (ฝาสีส้ม)
สำหรับเด็กเล็ก อายุ 5-11 ปี
ประตู 2
ชนิดวัคซีน Pfizer (ฝาสีม่วง)
สำหรับ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
วิธีการฉีด
1. ฉีดเข้ากล้ามขนาดปกติ เต็มโดส
2. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครึ่งโดส (เข็ม 3,4)
3.ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (ID) (เข็ม3,4)
และ
ชนิดวัคซีน AstraZeneca
สำหรับอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเต็มโดส
ประตู 3
ชนิดวัคซีน Pfizer (ฝาสีม่วง)
สำหรับ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
ฉีดเข้ากล้ามขนาดปกติ เต็มโดส
ท่านที่มีนัดแล้ว โปรดเข้ารับบริการตามชนิดวัคซีนในแต่ละประตู
เริ่ม 14 ก.พ. 65 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ที่มา ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ