หลักการ 3 ดำเนินชีวิตตามหลักคำสอน 'โอวาทปาฏิโมกข์' ใน 'วันมาฆบูชา 2567'
หลักการ 3 ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ที่ความน้อมนำมาปฏิบัติ ตามหลักคำสอน "โอวาทปาฏิโมกข์" ใน "วันมาฆบูชา 2567"
วันเพ็ญเดือน 3 หรือที่เรารู้จักในชื่อ "วันมาฆบูชา 2567" ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง จาตุรงคสันนิบาต ที่แปลความได้ว่า การประชุมด้วยองค์ 4 เกิดขึ้น ได้แก่
1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆ องค์
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
โดยความสำคัญของ "วันมาฆบูชา" นั้น คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถแสดงธรรมที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในที่ประชุมสงฆ์ มีเนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส
พุทธศาสนิกชน สามารถนำหลักคำสอนไปปฏิบัติตนใน "วันมาฆบูชา" ได้ เพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ โดยหลักการ 3 มีดังนี้
1. ทำกุศลให้ถึงพร้อม (กรรมบถ 10)
- ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- ไม่ลักทรัพย์ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- ไม่ประพฤติผิดในกามไม่พูดเท็จ
- ไม่พูดส่อเสียด
- ไม่พูดหยาบคาย
- ไม่พูดเพ้อเจ้อ
- ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
- มีความเมตตาปรารถนาดี
- เข้าใจถูกต้อง
- ตามทำนองคลองธรรม
2. ลด ละ เลิก บาปทั้งปวง (อกุศลกรรมบถ 10)
- ฆ่าสัตว์
- ลักทรัพย์
- ประพฤติผิดในกาม
- พูดเท็จ
- พูดส่อเสียด
- พูดหยาบ
- พูดเพ้อเจ้อ
- อยากได้สมบัติผู้อื่น
- ผูกพยาบาท
- เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากสิ่งที่ขัดขวางใจ ไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่
- ความพอใจในกาม
- ความพยาบาท
- ความหดหู่ท้อแท้
- ความลังเลสงสัย
- ความฟุ้งซ่าน
ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ