อัปเดต "โควิดวันนี้" 10 จ.ติดเชื้อสูงสุด กทม. 2,753 จับตา นครศรีฯ ปากน้ำ ชลบุรี
เกาะติดเช็คอัปเดตล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. ยอด 2,753 จับตา นครศรีฯ ปากน้ำ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา ระยอง นครปฐม บุรีรัมย์ และปทุมธานี
อัปเดตต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 21 ก.พ. 65 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบอัปเดต 10 จังหวัด อันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
รายงานวันนี้ ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
21/02/2565 กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา ระยอง นครปฐม บุรีรัมย์ และปทุมธานี
เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์
เดือน กุมภาพันธ์ 2565
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ 18,883 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 507,763 ราย
หายป่วยแล้ว 373,651 ราย
เสียชีวิตสะสม 958 ราย
----------------------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,731,198 ราย
หายป่วยแล้ว 2,542,145 ราย
เสียชีวิตสะสม 22,656 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 20 กุมภาพันธ์ 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 121,725,326 โดส
----------------------------
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 26,544 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 13,130 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 101,987 ราย
ที่มา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 424,990,285 ราย
อาการรุนแรง 81,525 ราย
รักษาหายแล้ว 350,515,903 ราย
เสียชีวิต 5,906,093 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 80,087,617 ราย
2. อินเดีย จำนวน 42,837,960 ราย
3. บราซิล จำนวน 28,208,212 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 22,286,829 ราย
5. สหราชอาณาจักร จำนวน 18,605,752 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 32 จำนวน 2,731,198 ราย
ข้อมูล - ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
กรมการแพทย์ได้ออกมาตรการให้มีการแยกกันตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย (จัดอยู่ในระดับสีเขียว) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
• ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอ Admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. ซึ่งแพทย์พิจารณาแล้วว่า สามารถรักษาตัวที่บ้านได้
• ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวใน รพ. หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้
หากตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 สามารถลงทะเบียนสู่ระบบ Home Isolation ด้วย 3 ช่องทาง ดังนี้
ช่องทางที่ 1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 14
ช่องทางที่ 2. ลงทะเบียนด้วยตนเองที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI
ช่องทางที่ 3. ไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
- เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19
- เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)
หากลงทะเบียนแล้วรอเกิน 6 ชม. ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อสอบถามอาการ ผู้ป่วยสามารถติดต่อกลับมาแจ้งที่สายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชม. หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก สามารถโทร.สายด่วนสพฉ. (ผป.ฉุกเฉิน)เบอร์ 1669 ได้
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
WHO แจง วัคซีนทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง จะเป็นปกติได้ในระยะเวลาสั้น
วัคซีนทุกชนิดที่ WHO อนุญาตใช้กรณีฉุกเฉิน มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
วัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงได้ ซึ่งส่วนมากไม่รุนแรง เช่น มีไข้ ปวดศรีษะ ปวดบริเวณที่ฉีด มีไข้และหนาวสั่น ประมาณสองสามวันก็จะหายไปเอง อาการข้างเคียงของวัคซีนเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกาย แต่ในบางคนอาจไม่มีอาการข้างเคียง ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าวัคซีนไม่ทำงาน เพราะว่าร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่อวัคซีนไม่เหมือนกัน
ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 มากกว่า 50 ล้านคนในไทย วัคซีนทุกชนิดที่องค์การอนามัยโลกอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
ที่มา : World Health Organization Thailand ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 ศูนย์ข้อมูลCOVID19