สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงานเร่งพัฒนา SME ในรูปแบบของ Service on demand (SOD)

สสว. ผนึก หน่วยงานพันธมิตร 90 หน่วยงาน เดินหน้า “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ตอบโจทย์ความช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบการ SME ในทุกด้าน พร้อมอุดหนุน

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนารายละไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งเป้ายกระดับ SME กว่า 6,000 ราย ภายใต้วงเงิน 400 ล้านบาท

นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานในแคมเปญ “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ (BDS) ว่า สสว. ได้พยายามปรับปรุงการให้บริการ และการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด และตอบโจทย์ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

โดยในอดีตที่ผ่านมาการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME  มักเป็นรูปแบบของการช่วยเหลือผ่านโครงการ ต่างๆ ที่มีกรอบของความช่วยเหลือตามเป้าหมายของแต่ละโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการอาจได้รับบริการที่ไม่ตรงกับความต้องการทั้งหมด ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากขึ้น  ดังนั้นความต้องการในการรับความช่วยเหลือของผู้ประกอบการ จึงมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้การจะช่วยเหลือ SME ตามรูปแบบเดิม อาจจะไม่ทันกับความต้องการของผู้ประกอบการ

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

ดังนั้น สสว. จึงได้ออกแบบการช่วยเหลือ SME ในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบของ Service on demand (SOD) โดยเป็นการให้บริการช่วยเหลือ SME ตามความต้องการของ SME เอง โดยเริ่มในปีนี้ 2565 ภายใต้ แคมเปญ “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ (BDS)  ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถเลือกรับบริการเพื่อพัฒนาธุรกิจได้เอง ตามความต้องการของธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS

โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ (BDS)  จะประกอบด้วย

1. ผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ ซึ่งสสว. ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ผู้ประกอบการ SME แบบร่วมจ่าย หรือ co-payment  ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท

2.หน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาธุรกิจ หรือ ที่เรียกว่า BDSP ซึ่งทาง สสว. ได้คัดสรรมา ปัจจุบัน ได้มีหน่วยผู้ให้บริการทางธุรกิจที่ขึ้นทะเบียนบนระบบแล้วกว่า 90 หน่วย เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กรมการขนส่งทางบก  สถาบันอาหาร  สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ  สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย Central Lab รวมถึง หน่วยงานที่เป็นมหาวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค อุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นต้น และได้มีบริการต่างๆ ที่หลากหลายบริการมากกว่า 120 บริการ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เลือกบริการที่ตนต้องการ ตามปัญหาและความต้องการของธุรกิจ และ 3 แพลตฟอร์มออนไลน์ BDS  ซึ่งเป็นสื่อกลางที่เชื่อมโยงระหว่าง ผู้ประกอบการ SME และ หน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ  ได้มีการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม ให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย ใช้งานได้ง่าย

ทั้งนี้ จากการดำเนิน “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ที่ผ่านมาเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน  มีผู้ประกอบการ SME  สมัครใช้งานบนระบบแล้วกว่า 2,000 ราย และได้รับอนุมัติข้อเสนอการพัฒนาไปแล้วกว่า 300 ราย  โดยเป็นผู้ประกอบการ SME ที่ความสนใจพัฒนาด้านคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าและบริการ อยู่ที่ร้อยละ 87 และสนใจพัฒนาด้านช่องทางการจำหน่าย และการตลาด และพัฒนาด้านการตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 13

สำหรับบริการที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมศักยภาพของธุรกิจ คือ บริการการจัดทำฉลากโภชนาการ และบริการประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ , บริการตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยของอาหาร , บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และบริการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ระบบบริหาร คุณภาพ ส่วนงานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้า ซึ่งงานแสดงสินค้า ที่ผู้ประกอบการสนใจ ได้แก่ ที่งาน CARE ASIA 2022 เมื่อวันที่ 1 - 4 กันยายน 2565 ที่ผ่าน จัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา ซึ่งถือเป็นการต่อยอดการพัฒนาจากระบบ BDS โดยมีผู้ประกอบสนใจเข้าร่วมงานกว่า 50 ธุรกิจ

โดย สสว. ได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาผู้ประกอบการ SME ไว้ถึง 6,000 ราย ด้วยงบประมาณที่จัดเตรียมไว้ 400 ล้านบาท โดยที่ผ่านมีวงเงินขอรับบริการในการพัฒนาแล้วกว่า 20 ล้านบาท

หน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือและพัฒนาผู้ประกอบการ SME ดังนั้น ทาง สสว. จึงอยากฝากหน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ ดังนี้

1. ด้านการประสานงาน (Coordinating)   ทาง สสว. อยากหน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ ประสานงานกับ ผู้ประกอบการ SME และ สสว. เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น และรวดเร็ว ในการให้บริการผู้ประกอบการ SME

2. ด้านการสร้างเครือข่าย (Networking)  ของหน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ ทาง สสว. อยากให้มีการสร้างเครือข่ายทั้งภายใน และ ภายนอกประเทศ เพื่อสามารถต่อยอดความสามารถในการให้บริการที่หลากหลาย ให้กับผู้ประกอบการ SME

3. ด้านการสร้างบริการที่ผู้ประกอบการสนใจ (Service approach) โดย สสว. อยากให้หน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ ได้เสนอ บริการที่ตรงกับกับความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS  สามารถที่จะทราบว่า ถึงความสนใจของบริการของหน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ

4. ด้านการดำเนินงาน (Operating)  สสว. อยากให้หน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจ เชิญชวนผู้ประกอบการ SME เพื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ BDS เพื่อจะได้รับบริการจากหน่วยงานเพิ่มขึ้น

นายวชิระ แก้วกอ กล่าวเสริมว่า ในส่วนของผลการดำเนินงาน “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ในปี 2565 สสว. คาดว่าผู้ประกอบการ SME ที่เข้ารับบริการผ่านมาตรการนี้ จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการในการพัฒนาธุรกิจ จนเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือเกิดผลลัพธ์เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

ทั้งนี้ สสว. ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้ให้กับผู้ประกอบการ SME กว่า 400 ล้านบาท และขยายระยะเวลามาตรการไปจนถึงกันยายน 2566 โดยผู้ประกอบการ SME จะมีเวลาเลือกใช้บริการได้จนถึงสิงหาคม 2566 โดยวางเป้าหมายของกลุ่มผู้ประกอบการ SME  ที่เข้ารับการพัฒนาผ่านมาตราการ “SME ปัง ตังได้คืน” มี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว (Restart) เช่น โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร บริการเพื่อสุขภาพ นำเที่ยวหรือจำหน่ายของที่ระลึก เพื่อพลิกธุรกิจขานรับนโยบายเปิดประเทศ  กลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (Food) รวมไปถึงการผลิตยาและสมุนไพร กลุ่ม New S-Curve ในอุตสาหกรรมการบิน อากาศยาน และเครื่องมือแพทย์ กลุ่ม BCG กลุ่มภาคการผลิต การเกษตรแปรรูป การค้าและบริการอื่นๆ

นอกจากนี้ สสว. ยังได้เตรียมการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการทางธุรกิจให้มากขึ้น รวมทั้งขยายบริการใหม่ๆ  ในหมวดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการเพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ SME ได้แก่ การให้บริการของโรงงานต้นแบบ หรือ Prototype Plant โดยเบื้องต้น สสว. ได้ประสานกับทางอุทยานวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ เพื่อให้เข้ามาเป็นหน่วยผู้ให้บริการทางธุรกิจ และขึ้นทะเบียนบริการด้านการพัฒนา Prototype เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ กลุ่ม Micro SME ให้สามารถเข้าไปใช้โรงงานต้นแบบนี้ในการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานในราคาต้นทุน โดยคาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในต้นเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งยังได้ปรับปรุงการใช้งานในระบบ BDS ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งได้ทำการปรับปรุงคู่มือ และมีคลิปสอนการใช้งาน เพื่อสะดวกต่อการขอรับบริการของผู้ประกอบการ SME

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน

 

สสว.เดินหน้า“มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ผนึกพันธมิตร 90 หน่วยงาน