สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ทิศทางพลังงานในอนาคต ภายใต้หัวข้อปาฐกถาพิเศษ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต” ในงาน PEACON & Innovation 2022 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ระบุนวัตกรรมดิจิทัลหลากหลายรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจะช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนซึ่งจะเป็นกลไกช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ในปี 2050  โดยยกตัวอย่าง  Smart Island Porto Santo ของโปรตุเกส เป็นกรณีศึกษา

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

หนึ่งในไฮไลท์ของงานดังกล่าว ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล เลขาธิการ สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้ขึ้นเวทีปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ  “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต” เพื่อชี้ให้ผู้เข้าร่วมงานเห็นถึงความสำคัญการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ว่าจะต้องมีการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเข้ามาในระบบมากขึ้น สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นวัตกรรมดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นตัวช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้า หรือการใช้ Machine Learning มาทำกลยุทธ์การเสนอราคาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฎิบัติการและการจ่ายกระแสไฟฟ้า การนำโรงไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าดิจิทัลมาช่วยลดการใช้สายเคเบิล และนำอุปกรณ์นวัตกรรมดิจิทัลแบบเรียลไทม์มาใช้เพื่อดูข้อมูลสถานะและวิเคราะห์แก๊สในน้ำมันของหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างอัจฉริยะรวมถึงการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่มาใช้ในระบบสื่อสารของสถานีไฟฟ้าช่วยประมวลผลข้อมูลซึ่งจะส่งผลให้เกิดการประมวลผลที่เร็วกว่าคอมพิวเตอร์แบบเดิมและมีความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น เป็นต้น

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 นั้นได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มเห็นมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Storage) โรงไฟฟ้าชุมชนและโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ BCG (Bio-Circular-Green) Economy รวมถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้พัฒนาการผลิตพลังงานสำหรับภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจะกลายเป็นแกนหลักของระบบพลังงานทั้งหมดในอนาคต โดยในปี 2050 กว่า 80% ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน

อย่างไรก็ดี ได้มีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายในปัจจุบันที่รองรับและส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียนอยู๋แล้ว เช่นการส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี HVDC (High Voltage Direct Current)ในระยะทางไกลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดของกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่จ่ายได้หรือความยาวของสายส่ง หรือการเริ่มนำระบบ MVDC (Medium Voltage Direct Current) และระบบ LVDC (Low Voltage Direct Current) มาใช้งาน เป็นต้น Power Electronics เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาทช่วยขับเคลื่อนระบบไฟฟ้าและพลังงานกว่า 70% เพิ่มความมั่นคงหรือความต่อเนื่องในการทำงานของระบบต่อไปได้อีกระยะเวลาหนึ่งหากเกิดเหตุขัดข้องที่รุนแรงขึ้นกับระบบ รวมถึง เทคโนโลยีซิงโครนัสคอนเดนเซอร์ (Synchronous Condensers) ซึ่งช่วยให้การทำงานของกริดและสายส่งมีประสิทธิภาพพร้อมช่วยลดความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า ส่วนเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทนทำให้จ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ช่วยสนับสนุนในการนำพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุด

พร้อมกันนี้  ดร.ประดิษฐพงษ์ ยัง ได้ยกกรณีศึกษา Dalrymple ประเทศออสเตรเลีย ที่มีการนำระบบควบคุมขั้นสูงมาจัดการและทำ Seamless Transition และ Grid Stabilization ช่วยเพิ่มรายได้และผลตอบแทนได้ รวมถึงยกตัวอย่างเกาะเล็กๆอย่าง  Smart Island Porto Santo ของโปรตุเกสที่รัฐบาล ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้เกาะที่มีประชากรเพียง 6,000 คนแห่งนี้ปราศจากฟอสซิลแห่งแรกของโลก และได้เปิดตัวโครงการ “Porto Santo ที่ยั่งยืน ด้วยการเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ภายในเกาะรวมถึงหามาตรการรับมือกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติที่เป็นปัจจัยในการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดย Groupe Renault ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รายใหญ่ที่สุดของยุโรป ได้จัดหาแพลตฟอร์มการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยั่งยืนให้กับเกาะแห่งนี้ ด้วยระบบ Ecosystem เต็มรูปแบบของโซลูชั่น EV และแพลตฟอร์มการรวม (Aggregation Platform) มาใช้เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ซึ่งรวมไปถึงการนำกลับมารีไซเคิลใหม่ เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่เกิดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนของเกาะไว้ในแบตเตอรี่และนำมาป้อนกลับเข้าสู่กริดของเกาะได้

ดร.ประดิษฐพงษ์ คาดว่า New Businesses Models & Platforms ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นมากมายเช่นการบูรณาการพลังงานทดแทน (RE) ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) โดยใช้ Digital Ecosystem และ Optimizing Energy ในการบริหารโครงข่าย แนวคิดTrend3 ซึ่งประกอบด้วย  Electrification, Decentralization และ Digitalization จะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ New Energy Ecosystem การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ EV และ E-mobility ที่แสดงให้เห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจะเข้ามาเป็นแกนหลักของพลังงานในอนาคต พร้อมยกบทเรียนและประสบการณ์เพื่อการใช้และการวางแผนรองรับ EV ในอนาคตต่อไป

สำหรับงานประชุมทางวิชาการและนวัตกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA กับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศและหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ โรงแรมเซนทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีสำคัญเปิดโอกาสให้ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ และพนักงาน PEA ที่มีความรู้ความสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอบทความทางวิชาการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนา ด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในอนาคตต่อไป

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”

 

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ชี้ “วิถีใหม่ของโครงข่ายไฟฟ้า มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต”