"DKSH" ทุ่มงบกว่า 200 ล้าน สร้าง "DKSH DEMONSTRATION LAB"
"DKSH" ทุ่มงบกว่า 200 ล้าน สร้าง "DKSH DEMONSTRATION LAB" ที่ครบครัน พร้อมมุ่งผลักดันไทยสู่การเป็น HUB ด้านผู้นำการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ของเอเชีย
DKSH Scientific หน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชันและเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วนในประเทศไทย ทุ่มงบลงทุนกว่า 200 ล้านบาท เปิดตัว DKSH DEMONSTRATION LABORATORY "ศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์" และ "ศูนย์สอบเทียบ" พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยสู่การเป็น HUB ด้านผู้นำการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ของทวีปเอเชียตามนโยบายของรัฐ
โอลิเวอร์ แฮมเมล รองประธาน บริษัท ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมากว่า 3 ปี เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวัคซีนในหลากหลายด้านไม่แพ้ชาติใดในโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านฐานการผลิต ตลอดจนระบบโซลูชันในการบริหารจัดการวัคซีน โดยความชำนาญการนี้ ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของเอเชีย ทาง "DKSH Scientific" ในฐานะหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนภารกิจการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ไม่ว่า จะเป็นการพัฒนารถตรวจเชื้อเคลื่อนที่ โซลูชันในการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวต่างๆ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยพัฒนาและการผลิต
อีกทั้ง DKSH ยังมีรากฐานทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียที่ยาวนานและยั่งยืนกว่า 150 ปี ด้วยศักยภาพเหล่านี้ จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้นคว้าวิจัยและพัฒนา เพื่อเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ของเอเชียให้ได้ ด้วยการลงทุนสร้าง "DKSH DEMONSTRATION LABORATORY" "ศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์" และ "ศูนย์สอบเทียบ" ใจกลางเมืองบนถนนสุขุมวิท บนเนื้อที่กว่า 2,260 ตารางเมตร
DKSH Scientific มั่นใจว่า องค์กรมีความสามารถในการต่อยอดศักยภาพของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของงานค้นคว้าวิจัยและพัฒนา (Research and Development - R&D) ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะด้านวัคซีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้นคว้าวิจัยและพัฒนา เพื่อเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ของเอเชีย DKSH Scientific จึงได้ทุ่มงบประมาณ 200 ล้านบาท ในการจัดสร้าง DKSH DEMONSTRATION LABORATORY "ศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์" และ "ศูนย์สอบเทียบ" บนพื้นที่ให้บริการรวม 2,260 ตารางเมตร ณ DKSH สำนักงานใหญ่ อาคารแฟนทรี 1 ถนนสุขุมวิท ภายในแล็บฯ มีเครื่องมือให้ทดสอบมากกว่า 50 เครื่อง ทีมช่างผู้ชำนาญการและผู้ชำนาญการด้านผลิตภัณฑ์ให้คำปรึกษากว่า 190 คน ครอบคลุมงานบริการด้านวิทยาศาสตร์การค้นคว้าวิจัยและพัฒนา 4 กลุ่มงาน ได้แก่
- General Laboratory Equipment กลุ่มเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วไปประจำห้องปฏิบัติการ
- Analytical Instrumentation กลุ่มเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์ด้านกายภาพ และการทดสอบขั้นสูง
- Life Science กลุ่มเครื่องมือวิเคราะห์ด้านชีววิทยา เครื่องมือแพทย์
- Microbiology ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ปฏิบัติการ Calibration Lab ที่ให้บริการสอบเทียบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 โดยทุกหน่วยงานมาพร้อมบริการหลังการขาย อีกทั้ง ยังมีบริการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงมีโปรแกรมพัฒนาบุคลากรผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำการให้บริการและโซลูชันที่ครบวงจรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ของไทย
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าภาครัฐยังได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management Center - TMC) และศูนย์วิจัยแห่งชาติ 5 แห่ง ได้แก่ BIOTEC, MTEC, NECTEC, NANOTEC, ENTEC, สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และอีกหลากหลายหน่วยงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับภาคเอกชนอย่าง ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี ที่ได้จัดสร้าง DKSH DEMONSTRATION LABORATORY ศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์" และ "ศูนย์สอบเทียบ" ขึ้น เพราะมั่นใจว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์การวิจัยเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมของเอเชียได้
สมชัย ชาครศิริ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี จำกัด สำหรับการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้าในประเทศ เรียกได้ว่า ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสินค้าอุปโภคบริโภคหลายแบรนด์ องค์กรธุรกิจของไทยต่างไว้วางใจเลือกดีเคเอสเอชเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ยา เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์ สินค้าทางการเกษตร ฯลฯ ซึ่งในขั้นตอนควบคุมคุณภาพจะต้องอาศัยอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำ รวมถึงผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีในการดำเนินการทดสอบคุณภาพของสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หน้าที่คือ การจัดหาเจ้าหน้าที่ช่วยวิเคราะห์และจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดของลูกค้า
ทางด้านภาคการศึกษา ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี ตั้งเป้าร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยหลากหลายสถาบันทั่วทุกภูมิภาคในการร่วมพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในศูนย์ปฏิบัติการ ตลอดจนการส่งตัวอย่างงานพัฒนาและวิจัยมาที่ศูนย์วิจัย โดย ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี ได้จัดให้มีการจัดสัมมนาโดยผู้ชำนาญการทั้งชาวไทยและต่างประเทศสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาร่วมกระจายความรู้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮับของงานวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยที่ผ่านมา ได้จัดงานไปแล้วจำนวนกว่า 50 งานสัมมนา เจาะลึกการใช้งานเครื่อง Auto Colony Counter, การบดตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ และ Pesticide Analysis Solutions and Regulations Workshop เป็นต้น
"การดำเนินธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัท ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี จำกัด ในประเทศไทยจะอยู่ภายใต้การนำของ โอลิเวอร์ แฮมเมล ผู้ที่เคยผลักดันให้หน่วยธุรกิจเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนเติบโต และประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดมาก่อน โดยทางบริษัทฯ ได้มองเห็นศักยภาพด้านงานวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยที่สามารถเติบโตสู่การเป็นฮับด้าน R&D ระดับโลกไม่แพ้ประเทศไหน จึงเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาธุรกิจในประเทศไทย และมั่นใจว่าหากทาง ดีเคเอสเอช เทคโนโลยี ได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคการศึกษา และบริษัทเอกชนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องดังเช่นทุกวันนี้ ประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของเอเชียได้ในที่สุด" สมชัย กล่าว