คนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อแสนประชากร
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี 2560 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลก 322 ล้านคน หรือกว่าร้อยละ 4.4 ของประชากรโลก
ขณะที่ประเทศไทยติดอันดับต้นๆ ฆ่าตัวตายสูง เฉลี่ย 6 คนต่อแสนประชากร โดยผู้หญิงเสี่ยงป่วยซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า
ทางการแพทย์ยืนยันว่า โรคซึมเศร้า เป็นส่วนหนึ่งจากการทำงานของระบบสมองที่ผิดปกติ ดังนั้น การทำความเข้าใจภาวะซึมเศร้าจึงมีความสำคัญทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อป้องกันผลกระทบและความสูญเสียให้ได้มากที่สุด เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น
ปัจจุบันมีช่องทางทดสอบภาวะซึมเศร้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น แอพฯ “สบายใจ” หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โดย 5 อันดับ เรื่องที่เด็กและเยาวชนปรึกษามากที่สุด ได้แก่ ความเครียด หรือ วิตกกังวล ปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก ปัญหาซึมเศร้า และปัญหาครอบครัว
ทั้งนี้โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยยาแผนปัจจุบัน การรักษาทางจิตใจ รวมถึงแพทย์ทางเลือกอย่างสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน บัวบก น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวน้ำมันรำข้าว และฟักทอง โดยสามารถใช้สิทธิการรักษาทั้งประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ