สร้างกลไกเชื่อม 'อีอีซี-จีน' ดึงลงทุนดิจิทัล-สตาร์ทอัพ

สร้างกลไกเชื่อม 'อีอีซี-จีน' ดึงลงทุนดิจิทัล-สตาร์ทอัพ

รัฐบาลไทยเร่งผลักดันกลไกความร่วมมืออีอีซี-กวางตุ้ง-ฮ่องกง หวังดึงการลงทุนจากจีนเพิ่มมากขึ้น เน้นกลุ่มดิจิทัล-สตาร์ทอัพ

มณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า หรือ Greater Bay area (GBA) ซึ่งมีความเจริญทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม มีเทคโนโลยีทันสมัย และเป็นจุดบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่สำคัญของจีนและของโลก และจีนต้องการให้เป็นพื้นที่ซึ่งเชื่อมโยงการลงทุนกับพื้นที่ต่างกับโลกภายนอก ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะเชื่อมการลงทุนระหว่างพื้นที่ดังกล่าวกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะผู้บริหารเยือนพื้นที่ GBA ระหว่างวันที่ 20–25 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยนำรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องร่วมคณะทั้งนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 

รวมถึงนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายคณิศ แสงสุพรรณ คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงของมณฑลกวางตุ้งและฮ่องกง ในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและชักจูงการลงทุนมาอีอีซี

นายสมคิด กล่าวว่า ปัจจุบันจีนให้ความสำคัญกับนโยบาย เส้นทางสายไหมใหม่ (One belt one road) ซึ่งเป็นนโยบายที่ประกาศโดยนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน และพื้นที่สำคัญของ One belt one road ที่จีนใช้เป็นหัวหอกของการลงทุนก็คือพื้นที่ GBA โดยจีนกำลังกำลังผลักดัน One belt one road ในขณะที่ไทยกำลังผลักดันอีอีซีให้เป็นรูปธรรม 

ทั้งนี้ เป็นเวลาเหมาะที่ GBA ในฐานะหัวหอกการลงทุนของ One belt one road ที่จะเชื่อมความร่วมมือมาไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการลงทุนของอาเซียน โดยเฉพาะในอีอีซี และให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมที่มีการพัฒนาอย่างมากไปลงทุนในไทย ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายและนโยบายไทยแลนด์ 4.0

รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือเป็นรูปธรรมระหว่าง GBA กับอีอีซี จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน 3 ฉบับ ได้แก่ 1.การลงนามระหว่าง สกพอ.กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง 

2.การลงนามระหว่างสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กับบริษัทหัวเว่ยในการพัฒนาประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและ ICT สำหรับภูมิภาคอาเซียน 

3.การลงนามร่วมกันระหว่าง สกพอ.กับสมาพันธ์อุตสาหกรรมฮ่องกง (Federation of Hong Kong Industries) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างอีอีซีกับฮ่องกงในการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันในอนาคต

157218849281