อ่านข้อเท็จจริงระหว่างบรรทัด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14

อ่านข้อเท็จจริงระหว่างบรรทัด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14

ทำความเข้าใจ "ม.14" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เนื้อหาระหว่างบรรทัดที่คุณไม่ควรมองข้าม

จากกรณีแฮชแท็ก #Freeนิรนาม ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ อันเกี่ยวกับการคุมตัว เจ้าของบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ “นิรนาม_” (@ssj_2475) ที่ถูกตั้งข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ชวนย้อนอ่าน พรบ.คอมพิวเตอร์ ใน มาตรา 14 ว่าคืออะไร และเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

158252849197

มาตรา 14 เป็นกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดภัยต่อความมั่นคง ความปลอดภัยต่อสาธารณะและประเทศ 

  • โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหากทำต่อประชาชนหรือสาธารณะ และ
  • โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

158253044492

158253045791

ในพรบ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 มีส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ มีการบัญญัติไว้ว่า หากข้อความในกฎหมายใด หรือข้อบัญญัติใดมีคำว่า “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร” หรือ “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ” กฎหมายหรือบทบัญญัตินั้นจะเข้าข่ายและมีความผิดในรัฐธรรมนูญมาตรา 112 และ 116 โดยอัตโนมัติ

158253048430

กล่าวคือ หากทำผิดพรบ.คอมฯ มาตรา 14 ในวรรคที่มีคำว่า ความมั่นคงต่อราชอาณาจักร หรือความมั่นคงของประเทศ จะทำให้ผู้กระทำผิดนั้นได้รับโทษในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 112 และ 116 ซึ่งมีโทษหนักกว่า พรบ.คอมพิวเตอร์ คือจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี หากผิดมาตรา 112 และ 7 ปี หากผิดมาตรา 116 ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา ไม่สามารถยอมความได้


158253227536

โดยเจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ นิรนาม ถูกระบุข้อกล่าวหาว่าผิดตามมาตรา 14 (3) บัญญัติว่า “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งล่าสุดศาลยังไม่ให้ประกันตัวแม้ครอบครัวจะยื่นประกันตัวด้วยเงินจำนวน 5 แสนบาท โดยอ้างว่าเป็นคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง หากให้ประกันตัวผู้ต้องหาอาจหลบหนี

158253050011

158253051249