'ลงทะเบียนว่างงาน' อัพเดทล่าสุดกับ 'ประกันสังคม' กรณีโควิด-19

'ลงทะเบียนว่างงาน' อัพเดทล่าสุดกับ 'ประกันสังคม' กรณีโควิด-19

สิทธิลูกจ้างและขั้นตอนการ "ลงทะเบียนว่างงาน" ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อขอรับเงินชดเชยจาก "ประกันสังคม" กรณีได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" และกรณีการว่างงานอื่นๆ

หลังจากเปิดลงทะเบียน "www.เราไม่ทิ้งกัน.com" สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 39 และ มาตรา 40 เมื่อวันเสาร์ ที่ 28 มีนาคม 2563 ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างล้มหลาม เนื่องจากแรงงานจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ "คนว่างงาน" จากการที่รัฐฯ ประกาศปิดสถานที่เสี่ยง "โควิด-19" ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ 22 มี.ค. 63 ถึง 30 เม.ย.63 

โดยผู้มีสิทธิ์รับเงิน 5,000 บาท จาก "เราไม่ทิ้งกัน" เป็นเวลา 3 เดือนนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ "โควิด-19" โดยเป็นผู้ทำงานอิสระ (ยกเว้นเกษตรกร) หรือผู้ประกันตนในมาตรา 39 และมาตรา 40 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์นี้

  

  

นั่นจึงหมายความ "มนุษย์เงินเดือน" ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใน "ประกันสังคมมาตรา 33" จะไม่สามารถรับเงินจากโครงการเราไม่ทิ้งกันในครั้งนี้ แต่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากประกันสังคมในฐานะผู้ว่างงาน ผ่านการ "ลงทะเบียนผู้ว่างงาน" ทั้งกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงกรณีอื่นๆ ได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด 

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. .... ให้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจาก มีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากโรคติดต่อ อันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้ ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยโดยให้

– ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด–19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน เดิม อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน แก้ไขปรับเพิ่มเป็น "อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน"

– กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เดิม ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 60 วัน แก้ไขปรับเพิ่มเป็น "อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งทั้งนี้ไม่เกิน 90 วัน"

กล่าวโดยสรุปคือ "สิทธิที่ลูกจ้างที่มีประกันสังคมจะได้รับกรณีได้รับผลกระทบโควิด-19" ล่าสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2563 มีดังนี้

158581230879

  

อ่านข่าวเพิ่มเติม : แจก 'เน็ตฟรี' รับกระแส Work from Home! จาก 'กสทช.' ใครได้สิทธ์บ้าง ขั้นตอนเป็นอย่างไร

 

"เงื่อนไข" ของผู้ที่จะได้รับเงินทดแทนจากประกันสังคมในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" 

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  •  ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด–19
    จ่าย 62% ของค่าจ้างรายวัน ระเวลาไม่เกิน 90 วัน (จากเดิม จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน)
  •  หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
    จ่าย 62% ระเวลาไม่เกิน 90 วัน (จากเดิม จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน)

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง 

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน  

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบ สำหรับนายจ้างลดเหลือ 4% ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเหลือ 1% และ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดเหลือ 1.8% โดยอัตรานี้มีระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค.-พ.ค. 63)
  • ขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เม.ย. พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

- งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
- งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
- งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63 

สำหรับการ "ลงทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 แบบ" ดังนี้

158582219998

หมายเหตุ: ภาพประกอบต้องการแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการลงทะเบียนที่ชัดเจนขึ้น ส่วนข้อมูลเงินชดเชยกรณีว่างงานในเหตุสุดวิสัยในภาพเป็นข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563 ซึ่งปัจจุบัน (1 เม.ย.63) มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 62% ระยะเวลาไม่เกิน 90 วันแล้วทั้ง 2 กรณี


แบบที่ 1 ขั้นตอน “ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน” 

ทันทีที่รู้ตัวว่า “ว่างงาน” จะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้ว่างงาน" ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านหรือที่สะดวก ภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่ว่านี้ได้เลย 

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานด้วย

1. เข้าเว็บไซต์ของ กรมการจัดหางาน(empui.doe.go.th)

2. ลงทะเบียนเข้าใช้งานสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงาน และยังไม่มีรหัสผ่านเข้าใช้ระบบ

158557085834

3. ทำตาม 4 ขั้นตอนหลักจนครบถ้วน

  • ขั้นตอนที่ 1 อ่านข้อตกลงของการใช้บริการ ก่อนกดขั้นตอนต่อไป

158557087118

  • ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชน

158557088487

  • ขั้นตอนที่ 3 กรอกข้อมูลส่วนตัว

158557089443

  • บันทึกการลงทะเบียน 

158557090737

4. ผู้ประกันตนฯ จะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน ซึ่งสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้

5. พิมพ์เอกสาร ดังนี้

- ใบนัดรายงานตัว
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) 

6. นำเอกสารไปยื่นที่สำนักประกันสังคม ดังนี้

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน

- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  •  ขั้นตอน “การรายงานตัวผู้ว่างงาน” 

    หลังจากที่ "ลงทะเบียนผู้ว่างงาน" ครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว ผู้ว่างงานจะต้องรายงานตัวต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อแสดงตนว่ายังเป็นผู้ว่างงานเพื่อขอรับเงินชดเชยต่อ โดยสามารถรายงานตัวผ่านช่องทางออนไลน์ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าเว็บไซต์ของ กรมการจัดหางาน(empui.doe.go.th)

2. เลือกว่า ทำรายการจากสำนักงานประกันสังคมใด หรือหากทำรายการที่บ้านหรือนอกสำนักงานประกันสังคม ให้เลือกดำเนินรายการด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต

3. เข้าระบบด้วยเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน (หากยังไม่ลงทะเบียน ต้องย้อนกลับไปที่ขั้นตอนการลงทะเบียนก่อน)

4. คลิกที่เมนู รายงานตัว เพื่อทำรายการผ่านระบบ (ในกรณีที่ยังว่างงานอยู่) กรณีที่ได้งานทำแล้ว แต่ยังมีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานอยู่ (นายจ้างยังไม่นำส่งเงินให้ทางสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากเพิ่งทำงานเดือนแรก)

158557098121

การรายงานตัว ณ ทีนี้ คือ ผู้ว่างงาน จะต้องมารายงานตัวเป็นระยะตามวันที่กำหนด โดยผู้ประกันตนสามารถรายงานตัวได้ก่อนกำหนด 7 วัน และหลังกำหนด 7 วัน รวมวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

158557099445

5. เมื่อทำรายการในระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกเมนูออกจากระบบทุกครั้ง เพื่อป้องกันการลักลอบข้อมูลส่วนบุคคล 

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

6. ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/7) e-from บนเว็บไซต์ www.sso.go.th

158582201866

ทั้งนี้ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ที่สำนักงานประกันสังคม นอกจากนี้ สำหรับผู้ว่างงานที่ต้องการหางานทำ สามารถลงเบียนได้ที่ กรมการจัดหางาน 

  • แบบที่ 2 ขั้นตอน "ลงทะเบียนกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย"

สำหรับผู้ต้องลงทะเบียนแบบนี้ คือกรณีที่ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด–19 หรือ หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

1. ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/7) โดย ไม่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน 

2. นายจ้างรับรองวันที่ลูกค้าไม่สามารถไปทำงานได้

3. ยื่นคำขอผู้ประกันตน และนายจ้างยื่นแบบ e-from บนเว็บไซต์ www.sso.go.th

158582201866

   

ที่มา:
กรมการจัดหางาน
ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

- ครม.ปลดล็อก 'ประกันสังคม' จ่าย 60% ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

จัดมาครบ! 'เราไม่ทิ้งกัน.com' เปิดหน้าเว็บ 'ลงทะเบียน' อย่างละเอียด ต้องกรอกอะไรบ้าง

www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียนอย่างไร พร้อมแจก 'เช็คลิสต์' เตรียมพร้อมก่อนลงจริง

เกษตรกร’ และคนใน ‘ประกันสังคมมาตรา33’ ทำไม ลงทะเบียน ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ไม่ได้