'พลาสมา' คืออะไร? มีความสำคัญยังไงกับการรักษา 'โควิด-19'
นพ.ยง ภู่วรวรรณ อธิบายความสำคัญของพลาสมาหรือน้ำเหลืองในการรักษาโรค
นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงความสำคัญของพลาสมา มีเนื้อหาดังนี้
โควิด-19 การใช้พลาสมาหรือน้ำเหลืองของผู้ที่หายจากโรค การใช้พลาสมาหรือน้ำเหลืองของผู้ที่หายจากโรคมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการมากจากการติดเชื้อเดียวกัน ได้มีการทำกันมานานแล้ว ในการระบาดของโรคเกิดใหม่ เช่น สมัย SARS, MERS, Ebola
และก็เช่นเดียวกัน มีการนำมาใช้ในการรักษาโรค โควิด-19 ที่อยู่ในภาวะวิกฤตในประเทศจีน มีรายงานในวารสารที่มีชื่อเสียง ได้ผลดีในการรักษา เช่นในวารสาร Chest, JAMA etc ขอยกตัวอย่างในวารสารJAMA
https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2763983?appId=scweb&appId=scweb
ดังนั้น ในกระบวนการเก็บ Plasma เราจะตรวจ อาสาสมัครที่เคยติดเชื้อ โควิด-19 ว่า ขณะที่บริจาค ไม่พบเชื้อทั้งในเลือด และจากการป้ายที่คอ รวมทั้ง จะมีการวัดภูมิต้านทาน ต่อเชื้อโควิด-19 ว่าท่านหายจากโรคดังกล่าวแล้วโดยสมบูรณ์และจะตรวจภูมิต้านทาน โดยถือตามมาตรฐานของ US CDC ที่มีระดับ มากกว่าหรือเท่ากับ 1:320 ในการทำดังกล่าวจะมีศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เป็นแกนนำ ร่วมกับ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล
พลาสมาที่ได้จะเป็นพลาสมาที่มีคุณภาพ ใช้ในการรักษาโรค โควิด-19
จึงอยากขอเชิญชวนผู้ที่ติดเชื้อหรือป่วยจากโลก โควิด-19 หายแล้ว มาลงทะเบียนเพื่อรับการตรวจกรอง ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และถ้ามีคุณสมบัติพร้อม ท่านจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการทำคุณประโยชน์ ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต
ขณะนี้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีโครงการที่จะรับบริจาค พลาสมา จากผู้ที่หายจากโรค ผู้ที่หายจากโรคแล้ว ถ้ามาบริจาค พลาสมา จะถูกเก็บ ไว้ใช้เป็นยารักษาโรค โควิด-19 ผู้ที่จะมาบริจาคได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ออกจากโรงพยาบาลหายแล้วมีร่างกายแข็งแรง แล้วอย่างน้อย 14 วัน ตรวจไม่พบเชื้อ โควิด-19 ที่ป้ายจากคอและในเลือด มีอายุระหว่าง 17 ถึง 60 ปี และมีน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัม
"ผมในฐานะเป็นที่ปรึกษาของศูนย์บริการโลหิต อยากให้ท่านได้เป็นฮีโร่ ในการทำประโยชน์ให้ต่อมวลมนุษย์ ในการช่วยชีวิตผู้ที่ป่วยหนัก โควิด-19 จึงอยากเชิญชวนผู้ที่หายจากโรคแล้วตามเงื่อนไขดังกล่าว มาบริจาคพลาสมา โดยติดต่อได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย"