อย่าลืม! ‘ตรวจสอบสถานะเกษตรกร’ 9 ล้านครัวเรือนรับเงินเยียวยา ‘โควิด-19’ หมื่นห้าที่นี่
เผยขั้นตอนการ “ตรวจสอบสถานะเกษตรกร” เพื่อรอรับเงินเยียวยา “โควิด-19” จากภาครัฐ 15,000 บาท กว่า 9 ล้านครัวเรือน
จากที่ กรมส่งเสริมการเกษตรเผยรายละเอียดความคืบหน้า ตรวจสอบสถานะเกษตรกร เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 เนื่องจากกระทรวงการคลัง เสนอที่ประชุม ครม. อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร แก้ปัญหาวิกฤต โควิด-19 และภัยแล้ง รายละ 15,000 บาท จำนวน 9 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นการจ่ายครั้งเดียว โดยจะยึดโยงข้อมูลที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนหน้านี้ และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส.นั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ห้ามลืม! หลักฐานสำคัญ ‘ยื่นอุทธรณ์เราไม่ทิ้งกัน’ ขอทบทวนสิทธิ รับ ‘เงินเยียวยา’ ห้าพัน!
‘เราไม่ทิ้งกัน’ เปิดขั้นตอน ‘ขอทบทวนสิทธิ’ ก่อนยื่นจริง 20 เม.ย.นี้!
5 เรื่องต้องรู้! ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ก่อนอุทธรณ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’
ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะเกษตรกรเพื่อความถูกต้อง ก่อนจะประสานกระทรวงการคลังกรณีมีการมอบเงินเยียวยาให้เกษตรกรปี 2562 มีผู้มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรประมาณ 7.5 ล้านครัวเรือน โดยสถานภาพในทะเบียนเกษตรกรจะมีอายุ 3 ปี ดังนั้น หากเกษตรกรที่ไม่ได้ปรับปรุงทะเบียนการเพาะปลูกปีที่แล้ว จะย้อนหลังถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2560
ความถูกต้องข้อมูลเกษตรกรต้องทำให้ตรงกับข้อมูลบุคคลของกรมการปกครอง ตรวจสอบข้อมูลเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้ตรงกับกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และตรงกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
โดยตัวเกษตรกรเองยังสามารถ ตรวจสอบสถานะเกษตรกร หรือความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น ได้ดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ farmer.doae.go.th หรือ คลิกที่นี่
2. ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. กดคำว่า "ค้นหา" จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้
ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่า การจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกร เพื่อเยียวยาผลกระทบจาก โควิด-19 นั้น จะเป็นการจ่ายเพียงรอบเดียว 15,000 บาท ต่างจากการจ่ายเยียวยา 5 พันบาทให้อาชีพอิสระที่จ่ายเป็นรายเดือนไป 3 เดือน
สำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติ ของ เกษตรกร จาก กรมวิชาการเกษตร นั้นได้อธิบายไว้ ดังนี้
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรเบื้องต้น
1.ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้
2.ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กำหนด
3.เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน
ดังนั้น การตรวจสอบสถานะเกษตรกร จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นเพื่อที่มาตรการการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจาก โควิด-19 จะถูกส่งต่อ และกระจายไปยังทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน