'ออมสิน' ปล่อย 'สินเชื่อ' อะไรบ้าง ที่ยังกู้ได้ในปี 2563

'ออมสิน' ปล่อย 'สินเชื่อ' อะไรบ้าง ที่ยังกู้ได้ในปี 2563

รวมโครงการ "สินเชื่อ" ของธนาคาร "ออมสิน" ตามมาตรการช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสินเชื่อของออมสิน ที่ยังกู้ได้ในปี 2563 พร้อมรายละเอียด

นอกจากสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แล้ว "ธนาคารออมสิน" ยังมีสินเชื่ออื่นๆ ที่ประชาชนยังสามารถขอสินเชื่อได้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และพัฒนาธุรกิจได้ในสถานการณ์ต่างๆ

"กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมสินเชื่อต่างๆ ของธนาคารออมสิน ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจ ดังนี้

    

159040109420

คุณสมบัติผู้กู้ 

- สัญชาติไทย และอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลากู้แล้วอายุต้องไม่เกิน 70 ปี
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกภาคการเกษตร (เช่น พ่อค้าแม่ค้า ลูกจ้าง/รับจ้างทั่วไป ขับแท็กซี่ มัคคุเทศก์ เป็นต้น)
- มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท
- มีที่อยู่อาศัยแน่นอนที่ติดต่อได้
- ผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19

 เงื่อนไขสินเชื่อ 

- วงเงินสินเชื่อสูงสุด 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) 0.10% ต่อเดือน
- ไม่ต้องมีหลักประกัน
- ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 2 ปี ปลอดการผ่อนชำระหนี้ใน 6 งวดแรก เริ่มชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในงวดที่ 7 โดยหักเงินชำระจากบัญชีเงินฝากของผู้กู้
- ระยะเวลาอนุมัติเงินกู้และจัดทำสัญญา สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการจำนวน 20,000 ล้านบาท

159040115533

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

- 'ออมสิน' อนุมัติ 4 หมื่นล้าน รองรับ 'สินเชื่อ' เยียวยา ฟื้นฟู สร้างอาชีพ

- ‘ออมสิน’ ปล่อย 'สินเชื่อฉุกเฉิน' ผู้มีอาชีพอิสระ ยังกู้ได้! เช็ควิธีลงทะเบียนที่นี่

   

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

-  ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่ให้บริการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายย่อย ได้แก่  สินเชี่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ลิซซิ่ง เช่าซื้อ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อทะเบียนรถ
- ในรอบปีบัญชี 2562 ต้องมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินกิจการ
- กำหนด D/E Ratio ไม่เกิน 10 เท่า และมี NPLs ไม่เกิน 5.00%
- เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19) ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ต้องมีมาตรการพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ในวงกว้างที่ชัดเจน และได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน และต้องมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ผ่อนปรนมากกว่ามาตรการขั้นต่ำ ที่ ธปท. กำหนด

วัตถุประสงค์  เป็นการให้สินเชื่อใหม่ เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจ Non-Bank  ให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของแต่ละบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรค COVID-19  ให้ได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไข  

ประเภทสินเชื่อ  เงินกู้ระยะยาว (L/T)

จำนวนเงินให้กู้  ให้กู้ตามความสามารถและ ความจำเป็นของกิจการโดยกำหนดให้ รายละไม่เกิน 10% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด ณ สิ้นเดือนก่อนการอนุมัติ หรือตามงบการเงิน ปี 2562  ทั้งนี้ ต้องไม่เกินยอดคงค้างของลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีซึ่งบริษัทจะให้ความช่วยเหลือ และไม่เกินรายละ 5,000 ล้านบาท    

ระยะเวลาชำระเงินกู้  
ระยะเวลากู้ 2 ปี
 
อัตราดอกเบี้ย
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เท่ากับ 2% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยกรณีผู้กู้ออกจากโครงการ  และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID–19

หลักประกันการกู้เงิน  ให้มีหลักประกัน เช่น พอร์ตลูกหนี้ โดยการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ (สิทธิเรียกร้องการรับเงิน) ร่วมกับ ผู้บริหาร/กรรมการ/บริษัทแม่ ฯลฯ ค้ำประกันวงเงินกู้

วงเงินโครงการ  วงเงิน 80,000 ล้านบาท (ภายในวงเงิน “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID–19 150,000 ล้านบาท”)

ระยะเวลาโครงการ  ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร  ได้ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวม ในโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน  และให้เบิกจ่ายสินเชื่อให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสุดรับคำขอกู้ หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน

หมายเหตุ : หลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

เงินทุนหรือเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ หรือชำระหนี้อื่นๆ สินเชื่อที่สนับสนุนให้ประชาชนประกอบอาชีพ หรือมีธุรกิจขนาดย่อมเป็นของตัวเอง โดยให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหรือ ใช้ในการหมุนเวียนในการใช้จ่ายและชำระหนี้ต่างๆ

อัตราดอกเบี้ย
จำนวนเงินกู้ : ให้กู้ได้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 200,000 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมจำนวนเงินกู้คงเหลือตามสัญญาเดิมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนทุกประเภทกับจำนวนเงินที่ขอกู้ในครั้งนี้ ณ วันที่ทำนิติกรรมสัญญา ต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
จำนวนเงินให้กู้ : พิจารณาตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ และต้องไม่เกินมูลค่าหลักประกันตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ ให้กู้รายละเกินกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไป ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

ระยะเวลาในการชำระคืนเงินกู้

- เงินกู้ระยะสั้น ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี ทบทวนวงเงินทุกปี
- เงินกู้ระยะยาว ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี โดยจะให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่มีระยะเวลากู้ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป

หลักประกันการกู้เงิน ให้ใช้ประเภทหนึ่งประเภทใด หรือหลายประเภทร่วมกัน ดังนี้
- สมุดฝากเงินออมสิน สลากออมสินพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
- พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
- ที่ดินและอาคาร ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักทรัพย์
- โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก. หรือห้องชุด ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินหลักทรัพย์ 
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

  

ที่มา: ธนาคารออมสิน