'อดีตสหภาพบินไทย' ไม่ไว้ใจแผนฟื้นฟู ตั้งคณะทำงานคู่ขนาน

'อดีตสหภาพบินไทย' ไม่ไว้ใจแผนฟื้นฟู ตั้งคณะทำงานคู่ขนาน

"อดีตสหภาพฯ การบินไทย" เตรียมส่งหนังสือถึงสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ จี้รัฐบาลไทยเดินตาม 3 เงื่อนไขพนักงาน แจงไม่ไว้วางใจกระบวนการฟื้นฟูของรัฐ เดินหน้าจัดตั้ง "คณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย" ทำงานคู่ขนาน

นายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา อดีตตัวแทนสหภาพการบินไทยได้เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ของไทย ซึ่งเป็นวาระพิเศษที่จัดประชุมเกี่ยวกับกรณีรัฐบาลไทยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านศาลล้มละลายกลาง และให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น จนทำให้การบินไทยหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ

โดยที่ประชุมมีมติให้ส่งคำร้องขอต่อสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ทำหนังสือกดดันมายังรัฐบาลไทย ให้ดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1.คงสวัสดิการและสภาพการจ้างพนักงาน 2.การปลดพนักงานให้ทำหลังจากแผนฟื้นฟูสำเร็จ และ 3.แผนฟื้นฟูให้มีตัวแทนแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (27 พ.ค.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่องมติเอกฉันท์องค์กรสมาชิก สรส. แต่งตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย โดยมีสาระสำคัญ คือ ตามที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในการฟื้นฟการบินไทย ผ่านกระบวนการล้มละลาย อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการฟื้นฟูการบินไทยตามแผนที่ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้น

และได้เสนอผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สังกัดกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปก่อนหน้านี้กว่า 2 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทุกฝ่ายมีการรับรู้ในการดำเนินการทำแผน มีการรายงานทุกครั้งในการประชุม คนร. ยกเว้น สหภาพแรงงานและพนักงานที่ไม่มีส่วนรับรู้แต่ประการใด

จนในที่สุดกระบวนการฟื้นฟูตามแผนเติมที่ผู้บริหาร สคร. คนร. และ ครม. รับรู้และมีส่วนร่วมนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่ปราศจากผู้รับผิดชอบ จนในที่สุดต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและจะค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทยฟื้นฟู
อีกเป็นจำนวน 54,000 ล้านบาท จนสังคมต้องก่นด่าผ่านสื่อออนไลน์รวมทั้งสื่อมวลชนต่างพร้อมใจกันเสนอข่าวและเป็นช่วงในสถานการณ์การแพร่ระบาตของไวรัสโควิด-19 และรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. กู้เงิน 1.9 ล้านล้าน
บาทเพื่อเยียวยาประชาชน

และยังไม่ทันเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ยังไม่ยื่นต่อศาลล้มละลาย ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการฟื้นฟู กระทรวงการคลังก็ได้ขายหุ้นบริษัทการบินไทยออกไปทันทีจำนวน 69 ล้านหุ้น ๆ ละ 4.03 บาท จำนวนเงิน 278 ล้นบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.17 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง ๆ ที่การบินไทยมีหนี้สินสูงถึง 246,000 ล้านบาท ซึ่งการขายหุ้นออกไปจำนวนดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้สถานะหนี้ของการบินไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่ประการใด

159058091260

ทั้งนี้ การขายหุ้นออกไปจนกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่า51%  ทำให้บริษัทการบินไทยพันสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ และทำให้การตรวจสอบ การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูจากพนักงานการบินไทยสิ้นสุดลงตามนัยของกฎหมายเพราะจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการนไทยสิ้นสภาพไปด้วย จากนี้ไปการดำเนินการก็ปราศจากการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบจากคนการบินไทย จากที่กล่าวมาคงกล่าวได้ว่านี่คือ "ขบวนการปล้นการบินไทย สายการบินแห่งชาติ" "คือขบวนการล้มสหภาพแรงงาน"

ซึ่งได้พยายามทำมาก่อนหน้านี้และมาบรรลุในสถานการณ์โควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และที่สำคัญ "คนที่พยายามทำลายการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ตั้งแต่ต้น นับแต่ปี 2544 ก็ยังเป็นเสนาบดีในรัฐบาลชุดนี้" ทั้งที่จริงแล้ว เมื่อมีเหตุที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูโดยผ่านกระบวนการโดยศาลล้มละลายทุกอย่างต้องหยุด เพื่อรอคำสั่งของศาลว่าให้ดำเนินการอย่างไร แต่กรณีนี้เร่งรีบในการขายหุ้น เร่งรีบแย่งชิงในการเสนอคนของตนเองเข้าไปเป็นคณะทำงาน และคณะกรรมการในการตรวจสอบของรัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง...ซึ่งชี้ให้เห็นถึงเงื่อนงำที่ไม่น่าไว้วางใจ

159058095995 159058097473

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีนโยบายที่แจ่มชัดในการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ มีองค์กรสมาชิกที่เป็นสหภาพแรงงานทั้งรัฐวิสาหกิจ เอกชนและลูกจ้างภาครัฐจำนวน 44 แห่ง และมีสาขาภูมิภาค 9 สาขาและศูนย์ประสานงาน สส. ประจำจังหวัดเกือบทุกจังหวัด ได้สื่อสาร และหารือกันเป็นระยะในสถานการณ์ที่ผ่านมา และให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดและรัฐวิสาหกิจเป็นกำลังอันสำคัญในการเป็นเครื่องมือของรัฐบาล แต่สำหรับเรื่องการบินไทยกับการตัดสินใจของฐบาลในครั้งนี้ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

สรส. จึงได้เชิญประธานสหภาพแรงงานองค์กรสมาชิกทุกแห่ง ที่ปรึกษา และ "คนการบินไทย" มาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง แต่เป็นทิศทางเดียวกันคือ "ไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการในการฟื้นฟูของรัฐบาล" เพราะการฟื้นฟูนั้น ไม่ได้เริ่มที่การค้นหาความจริง และการทำความจริงให้ปรากฎ เพราะทราบกันดีว่าปัญหาที่แท้จริงของการล้มละลายของบริษัทการบินไทย สายการบินแห่งชาติ คือ การทุจริต ของนักการเมืองละผู้บริหาร ทั้งทุจริตเชิงโยบาย และการบริหารงานในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การจัดซื้อเครื่องบิน การเปลี่ยนเครื่องยนต์ การให้ผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสาร การตั้งบริษัทลูกเพื่อแข่งขันในสายการบินตันทุนต่ำ เป็นตัน แต่สุดท้ายมาจบลงที่การลดเงินเดือน ใส่ร้ายพนักงานที่ตั้งใจทำงานและยุบสหภาพแรงงาน คือ เงื่อนงำที่ไม่อาจไว้วางใจและยอมรับได้

ที่ประชุมจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะต่อสู้ร่วมกันจนถึงที่สุด เพื่อให้บริษัทการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติต่อไป และได้มีการตั้ง "คณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย" โดยคณะทำงาน ประกอบด้วยประธานสหภาพแรงงานองค์กรสมาชิกของ สรส. และ "คนการบินไทย" ที่ยังมีจิตใจต่อสู้ โดยมีเลขาธิการ สรส. เป็นประธานคณะทำงาน และจะเชิญภาคี แนวร่วม พันธมิตร ทั้งที่เป็นองค์กรภาคประชาชน องค์การแรงาน นักวิชาการ ที่ยังคงรัก หวงแหนการบินไทย สายการบินแห่งชาติ และวางจังหวะก้าวในการขับเคลื่อนคู่ขนานกับรั 159058099961 บาล และจะแถลงให้ทราบการดำเนินงานเป็นระยะต่อไป ขอให้องค์กรสมาชิกติดตามและร่วมกันขับเคลื่อนตาม มติ สรส. และคณะทำงานต่อไป