ปล่อยให้ 'หนี้เสีย' จนติด 'Blacklist' ชีวิตจะเจออะไรบ้าง?

ปล่อยให้ 'หนี้เสีย' จนติด 'Blacklist' ชีวิตจะเจออะไรบ้าง?

ทำความเข้าใจ "เครดิตบูโร" และ "Blacklist" ทางการเงิน ที่มีสาเหตุมาจาก "หนี้เสีย" ส่งผลกระทบอย่างไรกับชีวิต พร้อมวิธีป้องกัน

หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล/NPL) หรือหนี้ที่มีชื่อเล่นว่า "หนี้เสีย" กำลังเป็นปัญหาที่น่ากังวลในบ้านเรา เพราะหนี้เหล่านี้นอกจากจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ยังสะท้อนถึงปัญหาทางการเงินของคนในประเทศ 

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรุปข้อมูลปี 2562 ธนาคารพาณิชย์มีหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอล 3.2% เกือบ 5 แสนล้านบาท และหนี้ที่ใกล้จะเป็นเอ็นพีแอล 8% จำนวน 1.2 ล้านล้านบาท 

ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งหมด 5 ล้านล้านบาท เป็นเอ็นพีแอล 4.8% จำนวน 2.4 แสนล้านบาท และใกล้เป็นเอ็นพีแอล 11.1% จำนวน 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งวิกฤติโควิด-19 ทำให้แนวโน้มของเอ็นพีแอลในปี 2563 จะสูงขึ้น

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง: 

"หนี้เสีย" จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ และตระหนักว่าหนี้เสียไม่ใช่เรื่องเล็ก "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนี้เสีย ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นบัญชีดำ หรือ Blacklist (แบล็คลิสต์) และปรากฏข้อมูลการผิดนัดชำระในเครดิตบูโร ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตมากกว่าที่คิด ถ้าบริหารจัดการได้ไม่ดีตั้งแต่ต้น

    

"เบี้ยวหนี้" วันนี้ มีผลเสียในวันหน้า

  

  •  ทำความรู้จัก "เครดิตบูโร" 

"ติดบูโร!" คำที่หลายๆ คนเข้าใจว่าเป็นสาเหตุของการขอสินเชื่อไม่ผ่าน เนื่องจากถูกบันทึกชื่อขึ้น Blacklist หรือบัญชีดำ ไว้ในเครดิตบูโร  

ความเป็นจริงแล้ว เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเครดิต ซึ่งจะรวบรวมทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ดี และการชำระหนี้ที่ไม่ดี (เช่น ผิดนัดชำระ ค้างชำระ) โดยประวัติเหล่านี้จะมาจากการที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรจัดส่งให้ 

ซึ่งเมื่อต้องการขอสินเชื่อต่างๆ สถาบันการเงินจะขอประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรไปตรวจสอบ เพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเป็นรายๆ ไป โดยเครดิตบูโร ไม่ได้มีสิทธิ์หรือหน้าที่ขึ้นบัญชีดำหรือ Blacklist ของลูกหนี้ 

นอกจากนี้ เครดิตบูโรไม่มีการจัดเก็บข้อมูลการชำระ หรือค้างชำระค่าสาธารณูปโภค ทั้งค่าโทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปา เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้จัดเก็บ

แต่สาเหตุที่พิจารณาขอสินเชื่อจะได้หรือไม่ได้นั้น เป็นเพราะตรวจสอบพบว่าผู้กู้มีหนี้เสีย คือไม่ชำระหนี้ กับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ ซึ่งสะท้อนวินัยการเงิน ที่อาจนำไปสู่หนี้เสีย หรือ NPL ในอนาคต หรืออาจมีสาเหตุจากกรณีอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในสถาบันการเงินแต่ละแห่งใช้ประกอบการพิจารณา เช่น รายได้ รายจ่าย อาชีพ ประวัติการออม อายุงาน หรือ หลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น

"รายงานข้อมูลเครดิต" จะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขประวัติเดิมได้

  •  ประวัติการชำระอยู่นานแค่ไหน? 

สำหรับข้อมูลประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ทั้งของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กฎหมายกำหนดไว้ว่าให้เก็บไว้ในระบบประมวลผลได้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่สถานบันการเงินต่างๆ ที่เป็นสมาชิกรายงานข้อมูลมายังเครดิตบูโร โดยที่จะมีข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่าเรื่อยๆ และจะอัพเดทข้อมูลใหม่ทุกสิ้นเดือน

"รายงานข้อมูลเครดิต" จะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขประวัติเดิมได้ หากเคยค้างชำระไว้ ข้อมูลก็จะขึ้น ณ เดือนที่ค้างชำระว่า "ค้างชำระ"

ในกรณีที่ได้ชำระหนี้ไปแล้ว จะมีข้อมูลใหม่ขึ้นมาว่า "ชำระเรียบร้อยแล้ว" หรือ "ปิดบัญชีแล้ว" โดยที่ข้อมูลการค้างชำระเดิมไม่ได้ถูกลบออกไป จนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือน

159351023915

  •   "ประวัติชำระหนี้" ส่งผลกับชีวิตยังไงบ้าง 

เมื่อสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ของผู้ขอสินเชื่อได้ เพื่อทบทวนฐานะทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้อย่างเพียงพอว่า มีประวัติการชำระหนี้อย่างไร และมีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นมากน้อยเพียงใด ณ เวลาหนึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสีย 

ดังนั้น "ประวัติการชำระหนี้" มีความสำคัญต่อสถานะเครดิตของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อต่างๆ ถ้าประวัติการชำระหนี้ดี เช่น ปรากฏประวัติจ่ายตรงเวลา ครบตามจำนวน อย่างสม่ำเสมอ สะท้อนวินัยทางการเงินในชำระหนี้คืน ย่อมมีโอกาสในการพิจารณาสินเชื่อมากกว่า รวมถึงผู้กู้ที่มีประวัติการชำระดี มีโอกาสได้รับการพิจารณาได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้

ในทางตรงกันข้าม หากมีประวัติการค้างชำระ จ่ายไม่ครบจำนวน ย่อมสะท้อนว่าพฤติกรรมการชำระหนี้ในอนาคตมีแนวโน้มผิดชำระ ซึ่งทำให้สถาบันการเงินต้องพิจารณาอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อลดโอกาสก่อหนี้เสีย (NPL) 

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการเงินได้มากขึ้น คือการรักษาประวัติการชำระหนี้ให้ดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวางแผนชำระหนี้อย่างตรงเวลา ครบตามยอดที่กำหนด และวางแผนการเงินก่อนตัดสินใจขอสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อตัดไฟแต่ต้นลม

  •  กันดีกว่าแก้! หยุดพฤติกรรมเสีย ป้องกัน "หนี้เสีย" 

159343282261