เช็คสถิติโรค 'อัลไซเมอร์' ที่ไม่ควรลืม เนื่องใน 'วันคนขี้ลืม' 2 กรกฎาคม

เช็คสถิติโรค 'อัลไซเมอร์' ที่ไม่ควรลืม เนื่องใน 'วันคนขี้ลืม' 2 กรกฎาคม

ก่อตั้งจากสาวชาวอเมริกันที่เบื่ออาการ "ขี้ลืม" ของตัวเอง โดยใช้ทุกวันที่ 2 ก.ค. เพื่อลืมสิ่งที่ไม่ดี และระลึกถึงเรื่องที่ลืมพร้อมส่งข้อความไปขอโทษ

ความขี้ลืมไม่ใช่เรื่องตลก แต่ถึงอย่างนั้นเราก็สามารถมีความสุขกับความขี้ลืมของตัวเองได้ในวันที่ 2 กรกฎาคมของทุกๆ ปี ที่ตั้งมาเพื่อคนขี้ลืมทุกๆ คน

วันคนขี้ลืม หรือ Nation I Forgot Day ถูกตั้งขึ้นโดย Gaye Anderson สาวชาวอเมริกันที่รู้สึกว่า ชีวิตช่วงหนึ่งนั้นช่างยากลำบากในการจดจำสิ่งต่างๆ เหลือเกิน ทำให้เธอตั้งวันที่ 2 กรกฎาคมให้ถือว่าเป็นวันสำหรับคนขี้ลืม โดยภายในวันนั้นเธอจะพักผ่อนกับตัวเอง ปล่อยให้ตัวเองลืม และไม่บังคับให้ตัวเองจำหรือต้องรื้อฟื้นอะไรทั้งสิ้น

ทั้งนี้วันสำหรับคนขี้ลืม 2 กรกฎาคมนั้นยังไม่มีข้อมูลบอกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในปีไหน เพราะผู้ที่ตั้งอย่าง Gaye Anderson ก็ยอมรับว่าตนเองก็ลืมว่าตั้งวันนี้ในปีที่เท่าไร

วันคนขี้ลืม 2 กรกฎาคมนั้น ไม่มีข้อมูลบอกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในปีไหน เพราะผู้ที่ตั้งอย่าง Gaye Anderson ก็ยอมรับว่าตนเองก็ลืมว่าตั้งวันนี้ในปีที่เท่าไร

159367440657

ในวันที่ 2 กรกฎาคม ผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการลืมสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น และใช้เวลาในวันนี้เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ หรือวันต่างๆ ที่ตนเองได้ลืมไปพร้อมกับส่งการ์ดหรือข้อความไปขอโทษที่ลืมไป

แต่ถึงอย่างนั้นวันคนขี้ลืมก็แพร่หลายสำหรับคนบางกลุ่มในสหรัฐอเมริกา (ตอกย้ำว่าความขี้ลืมไม่ใช่เรื่องตลก) โดยในวันที่ 2 กรกฎาคม ผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการลืมสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น และใช้เวลาในวันนี้เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ หรือวันต่างๆ ที่ตนเองได้ลืมไปพร้อมกับส่งการ์ดหรือข้อความไปขอโทษที่ลืมไป

วันขี้ลืมสำหรับคนไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่อาการขี้ลืมจนถึงขั้นโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุไทยกลับมีสถิติสูงกว่า 10% หรือประมาณ 7 ล้านคน โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’ s disease) เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองอย่างช้าๆ ทำให้ระดับของสารสื่อประสาทในสมอง (Acetylcholine) ลดลง

ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของความคิด ความจำ พฤติกรรม และการใช้ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พญ.นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล ประสาทแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง ได้อธิบายถึงระยะการดำเนินโรค ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ

159367442892

ระยะแรก (Early-Stage)

ผู้สูงวัยที่เริ่มมีอาการสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้เอง แต่จะเริ่มมีอาการหลงลืมเรื่องใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งพูดหรือทำไป อย่างเช่น เพิ่งโทรศัพท์ไปหาลูกและเล่าเรื่องราวให้ลูกฟัง แต่อีกสักพักก็โทรศัพท์ไปหาลูกและเล่าเรื่องเดิมอีก ทำแบบนี้วันละหลายครั้ง เพราะลืมว่าได้โทรศัพท์คุยกับลูกแล้ว

เวลาพูดคุยก็มักจะพูดซ้ำๆ ถามซ้ำๆ ในเรื่องเดิมๆ แต่ความจำเก่าๆ ที่เกิดขึ้นมานานสมัยหนุ่มสาวยังจำได้ดีอยู่ นอกจากนี้ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นอาจจะเริ่มเรียกชื่อสิ่งของไม่ถูกแต่รู้ว่าสิ่งนั้นมีไว้ทำอะไร เช่น เรียก “นาฬิกา” ไม่ถูก แต่รู้ว่ามีไว้สำหรับดูเวลา เริ่มสับสนทิศทาง ซ้าย ขวา ตัดสินใจเดินไปไม่ถูกทาง โดยเฉพาะทางที่ไม่คุ้นเคย

ระยะที่สอง (Middle-Stage)

ผู้ป่วยจะบกพร่องในการดูแลตัวเอง เริ่มไม่ใส่ใจตัวเอง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ อารมณ์หงุดหงิดแปรปรวน บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียความทรงจำใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นใกล้ๆ มากขึ้น เช่น จำไม่ได้ว่าทานข้าวไปแล้ว สูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา ใช้ภาษาผิดพลาดมากกว่าเดิม เรียกชื่อคนผิดๆ ถูกๆ เริ่มเห็นภาพหลอน

ระยะที่สาม (Late-Stage)

ผู้ป่วยในระยะนี้จะต้องมีผู้คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง การเคลื่อนไหวร่างกายจะน้อยลง หรือนอนติดเตียง ความเฉลียวฉลาดหรือความจำจะแย่ลงมาก มักเฉยเมยไม่สนใจอะไรเลย ถึงขนาดจำคนใกล้ชิดไม่ได้ และอาจจำชื่อตัวเองไม่ได้ด้วย อาจมีพฤติกรรมและอารมณ์รุนแรง ขว้างปาสิ่งของ ทานข้าวเลอะเทอะ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สัญญาณเตือนเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

1. ความจำแย่ลง หลงลืม จนรบกวนชีวิตประจำวัน

2. ความสามารถในการวางแผนหรือแก้ไขปัญหาลดลง

3. ทำงานที่คุ้นเคยได้ยากลำบากมากขึ้น หลงทาง

4. สับสนเรื่องเวลาและสถานที่

5. ไม่เข้าใจในภาพที่เห็นและไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่เห็นกับตัวเอง

6. รู้สึกมีปัญหาในการค้นหาหรือใช้คำที่เหมาะสมในการพูดหรือเขียน

7. ลืมของ

8. ความสามารถในการตัดสินใจลดลงหรือสูญเสียไป

9. มีการแยกตัวและลดการเข้าสังคมลง

10. อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป

ใครขี้ลืมก็อย่าลืมเช็คตัวเองว่าเราขี้ลืมถึงขั้นไหนเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

อ้างอิง : phyathai , nationaldaycalendar