5 ปีกระทรวงการต่างประเทศ ยุค 'ดอน ปรมัตถ์วินัย'

5 ปีกระทรวงการต่างประเทศ ยุค 'ดอน ปรมัตถ์วินัย'

สำรวจผลงานของกระทรวงการต่างประเทศภายใต้การนำของ “ดอน ปรมัตถ์วินัย” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอด 5 ปีผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง?

บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศยุคโควิด-19 อาจโดดเด่นในสายตาคนไทยจากรายงานข่าวช่วยเหลือประชาชนที่ติดค้างในต่างแดนให้เดินทางกลับประเทศ หลังจากที่ไทยระงับการบินเข้าของเที่ยวบินพาณิชย์ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา แต่แท้จริงแล้วผลงานของกระทรวงภายใต้การนำของ “ดอน ปรมัตถ์วินัย” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอด 5 ปีผ่านมาครอบคลุมหลากหลายมิติ 

  • ผูกมิตรกับต่างประเทศ

กระทรวงฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับต่างประเทศอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านถือว่ามีความสำคัญในลำดับต้น เพราะมีชายแดนติดกัน ผู้คนที่ไปมาหาสู่กันเพียงเดินผ่านด่านชายแดน ย่อมนำมาซึ่งโอกาสและความท้าทาย 

159740766986

159740800329

การส่งเสริมความสัมพันธ์ทุกระดับให้แน่นแฟ้น จึงไม่มีความขัดแย้ง เอื้อต่อการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชนตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นเครื่องมือป้องกันการกระทบกระทั่งที่ดีที่สุด

นอกจากนี้ไทยยังรับความสนใจจากประเทศมหาอำนาจหรือประเทศยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอื่น รมว.ดอน เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกของไทยในรอบ 30 ปีที่ได้เดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา 

159740803616

  • ชูบทบาทไทยในเวทีโลก

เริ่มตั้งแต่เมื่อปี 2558 ไทยได้รับเลือกจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 134 ประเทศ ให้เป็นประธานกลุ่มประเทศ G77 ซึ่งเป็นเวทีส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเวทีสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ปัจจุบัน ไทยยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของยูเอ็น (ECOSOC) วาระปี 2563-2565 ด้วยคะแนนสูงสุดของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

สถานะของไทยในเวทีโลกยังได้รับการส่งเสริมจากการผลักดันให้แนวคิดสำคัญของไทยคือ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นานาประเทศสามารถนำไปปรับใช้ และยังได้ผลักดันแนวคิด Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development Goals (SEP for SDGs) อย่างต่อเนื่อง  

159740821944

“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ยังปรากฏชัดครั้งเป็นประธานอาเซียนของไทย ปี 2562 ภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” โดยกระทรวงการต่างประเทศผลักดันให้จัดตั้งศูนย์อาเซียน เพื่อศึกษาและหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ประเทศไทย และร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้ผู้นำอาเซียนรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน

การเป็นประธานอาเซียนของไทย  ส่งผลดีต่อธุรกิจการจัดประชุมช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ประชาชนในภูมิภาค นอกจากนี้ คนไทยและอาเซียนได้รับผลประโยชน์จากการจัดตั้งศูนย์อาเซียน 7 ศูนย์ ตอบโจทย์ความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน  

159740927446

  • การทูตเศรษฐกิจ

ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย  เชื่อมโยงไทยกับประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทางด้านการค้าและการคมนาคมขนส่ง เช่น กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (แอคเมคส์) โดยปี 2561 ผู้นำแอคเมคส์ ได้รับรองแผนแม่บทแอคเมคส์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562 - 2566) ในการประชุมระดับผู้นำที่ไทยเป็นเจ้าภาพที่กรุงเทพฯ

ให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานภายในประเทศ  เทียบเท่ากับสากลเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการชูสถานะของไทย โดยเฉพาะพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน การประมงผิดกฎหมายไอยูยู และการต่อต้านการค้ามนุษย์ นำไปสู่การที่สหภาพยุโรป (อียู) ปลดใบเหลืองไอยูยูของไทย ส่งเสริมส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทยไปขายในอียูได้ นำไปสู่อียูแสดงความพร้อมจะเจรจาเขตการค้าเสรีกับไทย

159740811858

ในยุคโควิด-19 กระทรวงการต่างประเทศทำงานเชิงรุกด้านการทูตเศรษฐกิจต่อเนื่อง เช่น จับมือกับภาคเอกชนส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน ใช้โอกาสความเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานของโลกในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมายังไทย  

  • ดูแลคนไทยในต่างแดน

กระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลคนไทยในต่างประเทศ ที่มีอยู่กว่า 1.6 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 นับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. มีคนไทยต้องการกลับประเทศ ทางกระทรวงฯได้ช่วยอำนวยความสะดวกพาคนไทยกลับบ้านจากกว่า 90 ประเทศ/ดินแดน รวมเกือบ 70,000 คนแล้ว รวมถึงจัดให้คนต่างชาติที่มีความจำเป็นทางธุรกิจเดินทางมาไทยได้ เพื่อให้เศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไป โดยให้ความสำคัญกับการคัดกรองโรคเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในประเทศด้วย

159740919820

หลังจากนี้กระทรวงได้เตรียมงานสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมระดับผู้นำกรอบ “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ” (บิมสเทค) ระหว่างปี 2564- 2565 และกรอบ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” (เอเปค) ในปี 2565  ทั้งนี้ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูประเทศทางเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด-19 และชูบทบาทนำของไทยในเวทีโลก ดังเช่นความสำเร็จของการเป็นประธานอาเซียนในปีที่ผ่านมา