กรมชลฯเปิดแผนจัดการน้ำอีอีซี 10 ปี

กรมชลฯเปิดแผนจัดการน้ำอีอีซี 10 ปี

มติของคณะรัฐมนตรี(ครม.)มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนหลักเพื่อรองรับการพัฒนาน้ำในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) 

กรมชลประทาน มีภารกิจในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน เตรียมโครงสร้างพื้นฐานตามมติ ครม. ในพื้นที่(อีอีซี) ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ทั้งภาคเทคโนโลยี โลจิสติก การเกษตร และภาคบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อันนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ขณะนี้ทั้ง 4 ลุ่มน้ำในภาคตะวันออกจะมีน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 26,081 ล้านลบ.ม. สามารถเก็บกักได้ 2,556.92 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ 9.8 ของน้ำท่า

ปัจจุบันใน 3 จังหวัดอีอีซี จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ 1,308.89 ล้านลบ.ม. จากแหล่งเก็บกักน้ำ 79 แห่งสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำด้านอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมและการชลประทานได้อย่างเพียงพอ ซึ่งปริมาณที่สามารถจัดสรรน้ำให้ภาคอุตสาหกรรมและอุปโภคบริโภคได้ 427 ล้านลบ.ม.(ปริมาณน้ำดังกล่าวเหลือจากเมื่อส่งน้ำให้ภาคการเกษตรและนิเวศอย่างเพียงพอแล้ว)

159974000998

หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 4 มกราคม 2560 และ 6 กุมภาพันธ์ 2561 เห็นชอบในแผนการจัดหาน้ำต้นทุนที่กรมชลประทานได้จัดทำแผนรองรับพื้นที่อีอีซี ในระยะเวลา 10 ปี โดยได้ดำเนินการจัดหาน้ำต้นทุนตามแผน เพื่อให้สอดคล้องกับภาพใหญ่ของนโยบาย และเมื่อคาดการณ์ความต้องการน้ำที่จะเพิ่มขึ้นภายใต้โครงการอีอีซี พบว่า ในปี 2569 เพิ่มขึ้น 781 ล้านลบ.ม. และในปี 2579 จะต้องการน้ำเพิ่มขึ้นถึง 1,000 ล้านลบ.ม.

“สุรชาติ มาลาศรี”  ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า ปี 2557 ถึงปี 2580 .ในพื้่นที่ EEC กรมชลประทานได้มีการก่อสร้างโครงการสำคัญมากมาย ้ช่น การเพิ่ม การเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จ.ระยอง ทำให้ได้ความจุเพิ่ม 71 ล้านลบ.ม. และมีการพัฒนาอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จ.จันทบุรี โครงการอ่างเก็บน้ำคลองประแกต และกำลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และเมื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังโตนด ทำให้สามารถผันน้ำไปช่วยพื้นที่ EEC ได้ 70 ล้านลบ.ม.

โดยมีแผนการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนภายในประเทศให้สมดุลกับการเติบโตของภาคเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมได้น้ำ 245 ล้านลบ.ม.เป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภาคประชาชน ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ ซึ่งมีตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ร่วมด้วย เนื่องจากการสร้าง การขยาย การต่อเติมอ่างเก็บน้ำต้องได้รับความยินยอมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่

159974000990

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในทุกจังหวัดนั้น จะต้องเป็นการตกลงร่วมกันและเป็นที่ยินยอมจากทุกฝ่ายในการบริหารน้ำทั้งฤดูฝนและแล้ง ต้องจัดหาน้ำเพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำบริโภค อุปโภค รวมถึงใช้เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมต่างๆ และกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นธรรม ตรงตามความต้องการทั่วถึงทุกพื้นที่

ในส่วนของพื้นที่อีอีซี ตามมติคณะรััฐมนตรีแผนของกรมชลประทานได้น้ำ 277 ล้านลบ.ม.แล้ว และตามมติครม.มีแผนงานป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่สำคัญของอีอีซี และจะมีการพัฒนาแหล่งน้ำของเอกชน +สระทับมาอีก 77 ล้านลบ.ม.ทำให้ได้น้ำเพิ่มอีก 354 ล้านลบ.ม.ในปี 2569 ซึ่งจะเพียงพอสำหรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลา 10 ปีแน่นอน

ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่าอยากฝากผู้ใช้น้ำทุกท่าน น้ำถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการดำรงชีวิตของคน และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จึงขอให้ทุกท่านพยายามใช้น้ำอย่างมีคุณค่าให้มากที่สุด เพราะในปัจจุบันภาวะโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมาก ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ ในปัจจุบันเหตุภัยแล้งในหลายพื้นที่ยาวนานหลายปีติดต่อกันในพื้นที่ภาคตะวันออกก็ได้รับผลกระทบรุนแรงเช่นกัน

โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการบำบัดน้ำหรือนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในกิจกรรมอื่นๆหรือนำน้ำที่บำบัดไปใช้กับภาคการเกษตร สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน หรือมังคุด หรือการสนับสนุนให้นำหลัก3 R มาใช้ ได้แก่ Reduce Reuse Recycle การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าในภาคารเกษตรสามารถนำระบบหยดน้ำ มาใช้ เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำ จะทำให้การใช้น้ำจะสามารถขยายพื้นที่รับประโยชน์ไปได้อีกมากหรือการปลูกข้าวที่เป็นพื้นที่ใช้น้ำมาก มีการพัฒนาเทคนิคการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อการลดการใช้น้ำได้ถึง 20-50 เปอร์เซ็นก็เป็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าอีกทางหนึ่ง

159974001164

"แนวทางดังกล่าวขึ้นกับบางครั้งเกษตรกรเห็นพื้นดินแห้งแล้งเกิดอย่าตื่นตระหนกเกรงว่าพืชจะขาดน้ำแล้วพืชจะตายทันที แต่อยากให้มีการทดสอบความชื้นของดินว่าแห้งแล้งจริงหรือไม่ เพราะบางครั้งเกษตรกรตื่นตระหนกรีบรื้อถอนพืชผลทางการเกษตร ทำให้เกิดการสูญเสียรายได้จำนวนมาก หรือชักน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรขังไว้ตลอดเวลา ทั้งที่พืชผลเหล่านั้นไม่ได้ตายเพราะใต้ดินยังมีน้ำอีกมาก ทำให้พืชสามาถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องชักน้ำเข้านาเข้าสวนให้น้ำขังอยู่ในนาหรือในท้องร่องตลอดเวลาซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก”สุรชาติ กล่าวทิ้งท้าย