เช็คสถานการณ์ ‘น้ำเขื่อน’ รับมือพายุฝนถล่มไทย 3 เขื่อนจุน้ำทะลุขีด

เช็คสถานการณ์ ‘น้ำเขื่อน’ รับมือพายุฝนถล่มไทย 3 เขื่อนจุน้ำทะลุขีด

เช็คสถานการณ์ "น้ำเขื่อน" ทั่วประเทศไทย พบ 3 เขื่อน "เขื่อนลำพระเพลิง-เขื่อนหนองปลาไหล-เขื่อนลำตะคอง" ปริมาณน้ำทะลุ 100% ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเกินเท่าตัวพบอีก 94 แห่ง

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ โดยเฉพาะที่ .นครราชสีมา ที่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาพบคันกั้นน้ำที่อ่างเก็บน้ำลำหินตาโก้ง .ลำนางแก้ว .ปักธงชัย แตกและพังออกเป็นช่องๆ ทำให้มวลน้ำไหลทะลักออกมาด้านล่าง และไหลลงคลองลำพระเพลิง จึงส่งผลให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น กระทั่งล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนภัยลุ่มน้ำลำตะคองทั้งหมด 10 อำเภอ

ประกอบกับเมื่อตรวจสอบสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา มีการพยากรณ์อากาศว่า ลักษณะอากาศทั่วไปนั้น ในวันนี้ถึง 12.00 .ของวันพรุ่งนี้ (20 ตุลาคม 2563) บริเวณความกดอากาศสูงจากจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ทำให้ทั่วทั้งประเทศมีเมฆมาก มีฝนเฉลี่ย 60% ของพื้นที่ในทุกภูมิภาค 

จึงเป็นที่น่าจับตาว่าเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรืออ่างเก็บน้ำขนาดกลาง แต่ละแห่งมีปริมาณน้ำอยู่ที่เท่าไหร่ ยังรองรับน้ำได้อีกหรือไม่ หากปริมาณฝนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เตรียมการรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจากข้อมูลของกรมชลประทาน พบว่าส่วนใหญ่ปริมาณน้ำที่เกินกว่า 100% นั้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

160309138324

  • จับตา 3 เขื่อนใหญ่ มีปริมาณน้ำเกิน 100%

หากเจาะลึกข้อมูลของกรมชลประทาน พบว่าขณะนี้ (19 ตุลาคม 2563) สถานการณ์น้ำในเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ มีหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำเกิน 100% แล้ว โดยปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด 3 แห่ง ที่พบว่ามีปริมาณน้ำในเขื่อนเกิน 100% แล้ว ได้แก่ 

1.เขื่อนลำพระเพลิง .นครราชสีมา

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 169.13 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 109.11%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 155 ล้าน ลบ..

2.เขื่อนหนองปลาไหล .ระยอง

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 175.45 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 107.14%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 163.75 ล้าน ลบ..

3.เขื่อนลำตะคอง .นครราชสีมา

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 319.33 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 101.54%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 314.49 ล้าน ลบ..

  • 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทะลุ 80% แล้ว

ขณะเดียวกันยังมีอ่างเก็บน้ำ-ขนาดใหญ่อื่นๆ ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างเยอะ อยู่ในระดับ 80-100% โดยมี 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันนี้ระดับน้ำในอ่างทะลุ 80% ไปแล้ว และเป็นที่น่าจับตาเฝ้าระวังเช่นกัน ดังนี้

1.เขื่อนขุนด่านปราการชล .นครนายก

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 219.95 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 98.19%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 224 ล้าน ลบ..

2.เขื่อนจุฬาภรณ์ .ชัยภูมิ

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 146.49 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 89.32%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 164 ล้าน ลบ..

3.เขื่อนมูลบน .นครราชสีมา

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 119.02 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 84.41%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 141 ล้าน ลบ..

4.เขื่อนสิรินธร .อุบลราชธานี

  • ขณะนี้มีปริมาตรน้ำในอ่าง 1,657.10 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็น 84.29%
  • จากปกติปริมาตรความจุ หรือระดับน้ำกักเก็บ 1,966 ล้าน ลบ..

160309144855

  • อ่างขนาดกลางน่าห่วง น้ำเกินกว่าเท่าตัวอื้อ 94 แห่ง

นอกจากนี้ในส่วนของอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จากทั่วทั้งประเทศไทยที่มีกว่า 412 แห่ง ขณะนี้กว่า 94 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างเกิน 100% ไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 64 แห่ง โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินไปสูงที่สุดคือ อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว ในโครงการชลประทานสุรินทร์ .สุรินทร์ ที่จากปกติมีความจุระดับน้ำกักเก็บอยู่ที่ 6 ล้าน ลบ.. แต่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างสูงถึง 11.36 ล้าน ลบ.. คิดเป็น 189.38%

รองลงมาคือภาคตะวันออก 16 แห่ง อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินมากที่สุด คือ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล ในโครงการชลประทานตราด .ตราด จากปกติมีความจุระดับน้ำกักเก็บอยู่ที่ 5.6 ล้าน ลบ.. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างสูงถึง 7.27 ล้าน ลบ.. คิดเป็น 129.92%

ตามด้วยภาคเหนือ 5 แห่ง ใน .น่านและแพร่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำน้ำแหง อ่างเก็บน้ำน้ำพง อ่างเก็บน้ำแม่มาน อ่างเก็บน้ำแม่ถาง อ่างเก็บน้ำแม่คำปอง ที่ทั้งหมดยังอยู่ในปริมาณ 100% นิดๆ

ส่วนพื้นที่ภาคใต้มี 5 แห่ง ปริมาณน้ำเกินมากสุดที่อ่างเก็บน้ำห้วยมงคล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในโครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ จากปกติมีความจุระดับน้ำกักเก็บอยู่ที่ 5.85 ล้าน ลบ.. จากปกติมีความจุระดับน้ำกักเก็บอยู่ที่ 6.51 ล้าน ลบ.. คิดเป็น 111.35% และในภาคตะวันตก 3 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง