โค้งสุดท้ายปลายปี 'ลดหย่อนภาษี' ปี 63 'ช้อปดีมีคืน SSF และ RMF'

โค้งสุดท้ายปลายปี 'ลดหย่อนภาษี' ปี 63 'ช้อปดีมีคืน SSF และ RMF'

เปรียบเทียบชัดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขระหว่างมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อมองหาการลงทุนช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี 2563 "ลดหย่อนภาษี"

เมื่อใกล้ถึงสิ้นปี ก็เริ่มเข้าสู่การเตรียมตัวเพื่อวางแผนการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ซึ่งปีนี้รัฐบาลก็ได้ออกมาตรการและสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการ “ช้อปดีมีคืน” โดยสามารถนำค่าสินค้าและค่าบริการภายในประเทศมาใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 30,000 บาท

นอกจากนี้ในกลุ่มของค่าลดหย่อนหมวดการลงทุน ก็ยังได้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบการออม นั่นก็คือกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) ซึ่งการลงทุนดังกล่าวก็สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้เช่นกัน ในบทความนี้จะขอสรุปหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกลุ่มค่าลดหย่อน ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ได้พิจารณาวางแผนการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษี 2563

  • “ช้อปดีมีคืน” ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างไร?

- โครงการช้อปดีมีคืน ให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย (ไม่รวมคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ) และผู้ใช้สิทธิในโครงการช้อปดีมีคืนจะต้องไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิ์ตามโครงการคนละครึ่งหรือโครงการให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

- กำหนดมูลค่าการซื้อสินค้าบริการสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำมูลค่าสินค้าและบริการนี้มาหักจากเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 (ซึ่งจะยื่นเสียภาษีในเดือนมีนาคมปี 2564)

*เงื่อนไขที่สำคัญ

•ผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ซื้อบุคคลธรรมดาได้ ยกเว้น สินค้า 3 ประเภทที่ไม่ต้องมีใบกำกับภาษีแต่มีเพียงใบเสร็จรับเงินก็สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คือ หนังสือเป็นเล่ม, หนังสือแบบ e-book และสินค้า OTOP

•ค่าสินค้าหรือค่าบริการดังกล่าว จะไม่รวมถึง

1.สุรา เบียร์ ไวน์

2.ยาสูบ

3.น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมพาหนะ

4.ค่าซื้อรถยนต์ ซื้อรถจักรยานยนต์ และซื้อเรือ

5.ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร 

6.E-Magazine และ E-Newspaper

7.ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

8.ค่าที่พัก โรงแรม

*ก่อนใช้สิทธิควรพิจารณาว่าตนเองอยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีที่ฐานภาษีเท่าใดเพราะเงื่อนไขการคืนภาษีของ โครงการช้อปดีมีคืนนั้นจะได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่ารายได้เราตกอยู่ในฐานภาษีเท่าใดนั่นเอง

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกลุ่มกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี ปี 2563 สรุปได้ดังนี้ 

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 

(Retirement Mutual Fund : RMF)

เงื่อนไขการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ RMF ที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

กองทุนรวมเพื่อการออม 

(Super Savings Fund : SSF)

-จำนวนเงินลดหย่อนภาษี 

ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับกลุ่มกองทุนสำหรับเกษียณ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  ทั้งนี้ เมื่อรวมกับกลุ่มกองทุนสำหรับเกษียณ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

-เงินลงทุนขั้นต่ำ

ไม่มีกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อกองทุน ฯแต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี โดยต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน

ไม่มีกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อกองทุนฯไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ซื้อปีไหนก็ลดหย่อนภาษีปีนั้น  

-ระยะเวลาการถือครอง

ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์

ถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน

-นโยบายการลงทุน

ลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท