สำรวจราคา ตรวจ ‘โควิด-19’ ต้องเตรียมงบเท่าไหร่

สำรวจราคา ตรวจ ‘โควิด-19’ ต้องเตรียมงบเท่าไหร่

รวบรวมราคา และรายชื่อสถานที่ที่สามารถตรวจ “โควิด-19” ได้ ภายใต้การรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การระบาดของโรค "โควิด-19"  ระลอกใหม่ กำลังกลายเป็นที่กังวลใจของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในหลายพื้นที่อย่าง สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานคร นครปฐม และนนทบุรี ฯลฯ นอกจากการกักตัวดูอาการของตนเอง 14 วัน  และทำใบประเมินความเสี่ยงออนไลน์แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการเข้ารับการตรวจหาโควิด 

โดยผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสามารถตรวจได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะต้องมีอยู่ในเงื่อนไขคือ 

  • มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด 
  • มีประวัติเคยติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 
  • เคยติดต่อสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง และ
  • มีอาการไม่สบายที่เข้าข่าย คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

160870935234

หากใครไม่อยู่ในเงื่อนไขกลุ่มคนเหล่านี้ อาจจะมีค่าใช้จ่ายของการตรวจโควิดเข้ามาเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างนั้นก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในกลุ่มก้ำกึ่งภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว และตัดสินใจไปตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อความสบายใจ และลดความวิตกกังวล กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมราคา และรายชื่อสถานที่ที่สามารถตรวจโควิด-19 ได้ ภายใต้การรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

  • ในไทยตรวจได้กี่แห่ง 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศรายชื่อห้องปฏิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-Cov-2 ที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ ทั้งสิ้นจำนวน 244 แห่งในประเทศไทย แบ่งเป็น

160872750394

กรุงเทพและปริมณฑล รวม 91 แห่ง

ภาครัฐ 38 แห่ง

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (แล็บอ้างอิง) 
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (แล็บอ้างอิง) 
  • คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 
  • คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงพยาบาลราชวิถี 
  • สถาบันบําราศนราดูร 
  • คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย) 
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
  • คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล 
  • คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 
  • โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) 
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 
  •  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา) แผนกเรโทรไวโรโลยี
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 
  • โรงพยาบาลสมุทรปราการ 
  • คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • ห้องปฏิบัติการหน่วยคุ้มครองสุขภาพโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข 
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 
  • โรงพยาบาลตํารวจ 
  • โรงพยาบาลปทุมธานี 
  • โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 
  • โรงพยาบาลสมุทรสาคร 
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
  • ห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 
  • โรงพยาบาลตากสิน 
  • ห้องปฏิบัติการกลางและธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • โรงพยาบาลบางกรวย 
  • กลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค 
  • ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
  • โรงพยาบาลกลาง 
  •  สถาบันโรคทรวงอก

เอกชน 53 แห่ง

  • โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ 
  • บริษัทไบโอโมเลกุลาร์ แลบอราทอรี่ส์ (ในนามกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ สมิติเวช บีเอ็นเอช พญาไท และเปาโล เมโมเรียล)
  • คลินิกเทคนิคการแพทย์ รามคําแหง 
  • หวนจียีนเทคโนโลยี คลินิกเทคนิคการแพทย์ 
  • บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่ แมเนจเมนท์ จํากัด
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
  • โรงพยาบาลเวชธานี
  •  บริษัท พีซีที่ ลาบอราทอรีส์ เซอร์วิส จํากัด 
  • โรงพยาบาลพระรามเก้า
  •  โรงพยาบาลนครธน 
  • World Medical Hospital
  • บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์แห่งเอเชีย จํากัด (โรงพยาบาลลาดพร้าว)
  •  โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 
  • โรงพยาบาลนนทเวช 
  •  โรงพยาบาลเปาโลเกษตร 
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ 
  •  โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน 
  • โรงพยาบาลมหาชัย 
  • โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ 
  • คลินิกเทคนิคการแพทย์แบงคอกจีโนมิกส์ 
  •  บริษัท แอท-ยีนส์ จํากัด 
  •  ห้องปฏิบัติการ นิวเจน ลาบอราทอรี่ คลินิกเทคนิคการแพทย์ 
  • โรงพยาบาลสุขุมวิท 
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 
  •  โรงพยาบาลเสรีรักษ์ 
  •  คลินิกเทคนิคการแพทย์ โปรแล็บ วิภาวดี 
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคําแหง
  •  โรงพยาบาลเจ้าพระยา 
  •  โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  • โรงพยาบาลวิภาวดี 
  •  โรงพยาบาลรามคําแหง 
  •  โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค 
  • โรงพยาบาลบางนา 5 
  •  บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จํากัด 
  • บริษัทเอ็มบริโอ แพลนแนท จํากัด (สยามเฟอร์ทิลิตี้ คลินิก)
  • โรงพยาบาลซีจีเอช โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ 
  • บริษัท เมดิคอลไลน์แล็บ จํากัด 
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ 
  •  โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (สมุทรสาคร) 
  • บริษัท กรุงเทพ อาร์ไอเอ แล็บ จํากัด 
  • โรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี 
  • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  •  โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 
  • โรงพยาบาลศิครินทร์ 
  • โรงพยาบาลเอกชัย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สาขากรุงเทพมหานคร (International Organization for Migration, IOM)
  • โรงพยาบาลวิภาราม
  •  โรงพยาบาลเมดพาร์ค 
  •  MIC Lab (บริษัทเมดิคอล อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด) 
  •  โรงพยาบาลปิยะเวท 
  •  โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
  •  บริษัทเนชั่นแนล เฮลท์แคร์ซิสเท็มส์ จํากัด
  • สาขาโรงพยาบาลพญาไท 2

160870909714

ต่างจังหวัดรวม 153 แห่ง

ภาครัฐ 124 แห่ง เอกชน 29 แห่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

  • ต้องเตรียมงบเท่าไหร่เพื่อตรวจโควิด 

เมื่อสำรวจราคาการเข้ารับการตรวจโควิด-19 ของผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ตรวจฟรี พบว่า สถานพยาบาลของภาครัฐ เริ่มต้น 2,000 ไม่เกิน 8,000 บาท สำหรับสถานพยาบาลเอกชน เริ่มต้น 3,000 ไม่เกิน 10,000 บาท 

  • สถาบันบำราศนราดูร ค่าใช้จ่าย 2,500-3,500 บาท
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ตรวจ
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าใช้จ่าย คนไทยไม่เกิน 2,500 บาท ชาวต่างชาติไม่เกิน 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราช ค่าใช้จ่าย 2,000-3,000 บาท (รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง)
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ค่าใช้จ่าย 7,000-8,000 บาท (ไม่รวมค่าบริการอื่น )

160870919093

ทั้งนี้การตรวจการตรวจแล็บกรณีโควิด-19 มี 2 วิธี คือ

 1. การตรวจหาเชื้อในทางเดินหายใจ(Real-time RT PCR) ซึ่งจะเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากการป้ายเยื่อบุในคอ หรือ ป้ายเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เพราะเชื้อไวรัสอยู่ในเซลล์จึงต้องขูดออกมา และหากเชื้อลงไปในปอด ก็จะต้องนำเสมหะที่อยู่ในปอดออกมาตรวจ การตรวจวิธีนี้ต้องระวังการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จึงต้องทำในห้องแล็บที่ได้รับมาตรฐาน ใช้เวลาตรวจเฉพาะในห้องแล็บ 2.5 -3 ชั่วโมง ต้นทุนเฉพาะในห้องแล็บอยู่ที่ครั้งละ 2,500 บาท

2. การตรวจจากการเจาะเลือด(Rapid test) แต่โควิด-19เลือดไม่ใช่เป็นจุดที่มีเชื้อเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการตรวจเลือดกรณีโรคนี้ไม่ได้เป็นการหาเชื้อ แต่เป็นการหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะต้องตรวจเมื่อมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว ใช้เวลาตรวจ 15-30 นาที ปัจจุบันเป็นการนำเข้าชุดตรวจราคาอยู่ที่ 500 บาท แต่กรมกำลังพัฒนาชุดตรวจให้อยู่ในราคาชุดละ 200 บาท