AIS ชี้เมกะเทรนด์ใหญ่ - ดันภารกิจ ‘JUMP THAILAND 2021’

AIS ชี้เมกะเทรนด์ใหญ่ - ดันภารกิจ ‘JUMP THAILAND 2021’

เปิดเวที ระดมสมองคนไทยผ่าน Online Hackathon ที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรก ร่วมสร้างนวัตกรรมแก้วิกฤตรอบตัวอย่างยั่งยืน พร้อมชี้เมกะเทรนด์ 2021 ที่ไทยห้ามตกขบวนเด็ดขาด

AIS โดย AIS NEXT หน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของเอไอเอส เดินหน้าโครงการ "JUMP THAILAND 2021" ชวนคนไทยกระโดดเข้าแก้ไขปัญหาและวิกฤตรอบตัวด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างบิ๊กอิมแพคต่อสังคมและโลกอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการเฟ้นหาสุดยอดไอเดียแบบสตาร์ทอัพ

พร้อมกิจกรรม Online Hackathon ครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้มีส่วนร่วมระดมไอเดียกู้โลก ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท โดยโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับ AIS NEXT และพาร์ทเนอร์ พร้อมงบประมาณสนับสนุนสูงสุดถึง 100 ล้านบาท

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวว่า ท่ามกลางกระแส Digital Disruption และสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ มากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งปัญหาสภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยทางไซเบอร์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้สร้างแรงกระตุ้นให้มนุษย์เร่งนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาแก้ปัญหาแทบทุกรูปแบบ ให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคนิวนอร์มอล

ตัวอย่างของปัญหาระดับ Global ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างมาถึงชีวิตของเราทุกคนในวันนี้ และต้องการพลังในการร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาทิ  1.สิ่งแวดล้อม ( PM 2.5  ไมโครพลาสติก  ขยะพลาสติก  มลภาวะ  ภาวะโลกร้อน)

2.สุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข ( การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 การบริการทางการแพทย์  ราคาค่ารักษา)

3. การศึกษา (ความเท่าเทียม  รายได้  คุณภาพบุคคลากรผู้สอน  ระบบโครงสร้างพื้นฐาน)

4. สภาพเศรษฐกิจและสังคม (อัตราการว่างงาน การจ้างงาน  ค่าครองชีพสูง แรงงานต่างด้าว  ยาเสพติด)

5. การคมนาคม ขนส่ง  (การเข้าถึงการขนส่งสาธารณะ คุณภาพการบริการ ราคา  รถติด)

6. สวัสดิภาพความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต (ไฟส่องสว่างทางเดิน  ยาเสพติด  คอรัปชั่น)

​อย่างไรก็ตาม ยังมีเทรนด์ที่ท้าทายอีกหลายข้อซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทจากการมาถึงของดิจิทัล (Digital Disruption) 

AIS NEXT ได้คัดสรรเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล, องค์กร และประเทศ เพื่อย้ำเตือนให้เห็นถึงความท้าทายและการเตรียมความพร้อมรับมือพร้อมเปลี่ยนความท้าทายมาเป็นโอกาสสำหรับการก้าวกระโดดไปข้างหน้า ประกอบด้วย

1. Digital Identity Foundation Initiative: ภาพรวมของความเป็นตัวตนของตัวบุคคลในแพลตฟอร์มต่างๆ ความเป็น​wasเจ้าของของตัวตน และความง่ายในการอนุญาติ รวมทั้งการควบคุมความเป็นตัวตนในยุคดิจิทัล ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการไทย

2. Digital Archive & Intelligence Initiative: การเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์และอุปกรณ์ไอโอที การนำเอาข้อมูลไปเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อการสร้างข้อมูลเชิงลึก รวมถึงรากฐานของการจัดเก็บกระบวนการในกลุ่มเมฆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสากล

3. Phygital Exchange Market Initiative: การรวมกันของสิ่งของในโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน การสร้างและควบคุมตลาดซื้อขายระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์จริง และการสร้างการระบบการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ระหว่างสินทรัพย์ในโลกจริงและโลกเสมือนที่เป็นรากฐานให้กับประเทศไทย

4. Future Workforce Platform Initiative: ภาพรวมของความสามารถและสกิลของกลุ่มคนในสังคมต่างๆจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ การแยกกันทางวิชาความรู้ระหว่างกลุ่มดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) และกลุ่มผู้อพภพทางดิจิทัล (Digital Immigrants) เทรนด์ของการเรียนรู้แบบทีละเล็กละน้อย (Micro-Learning) หลักการเรียน และการอัพเดทความรู้ในยุคดิจิทัล รวมทั้งโครงสร้างของสังคมการทำงานแบบฟรีแลนซ์ของไทย

5. Digital Police Initiative: การบังคับใช้กฎหมายในโลกดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงการใช้กฎหมายดิจิทัลกับโลกของอุปกรณ์ไอโอทีในยุค 5G ความปลอดภัยและอาชญากรรมไซเบอร์ที่ควรระวัง

จากปัญหาและวิกฤติรอบตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงเทรนด์แห่งความท้าทาย จึงเชื่อว่า หากคนไทยรวมพลังกัน ระดมไอเดีย นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะสามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ไม่มากก็น้อย

ดังนั้นเอไอเอส ในฐานะพลเมืองของโลกและผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่มี Digital Platform และ Network Infrastructures ไม่ว่าจะเป็น 5G, Fibre, IoT, Big Data, Cloud และ AI จึงขอเป็นแกนกลางเปิดรับฟังมุมมองปัญหาจากทุกคน และชวนคนไทยทั้งชาติ ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นวัตกร

ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา มาร่วมระดมสรรพกำลัง ระดมความคิด สร้างสรรค์โซลูชั๋นแก้ไขปัญหาสำคัญ ด้วยกระบวนการแบบสตาร์ทอัพ ที่มุ่งหาโซลูชั่นส์ในการแก้ Pain point

พร้อมจัด Online Hackathon ครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในโครงการ JUMP THAILAND by AIS NEXT เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้

1. Problem Submission: ส่งโจทย์ปัญหาเพื่อโหวตหัวข้อที่ต้องการเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 ก.พ. 2564 ที่เฟซุบ๊กเพจ: JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth

2.Team Registration: รับสมัครทีม ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.- 15 มี.ค.2564 ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth และประกาศรายชื่อทีมที่ได้เข้าแข่งในวันที่ 27 มี.ค. 2564

3. Online Hackathon: ช่วงการแข่งขัน Hackathon ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม

4. Incubation: ภายหลังจากโครงการจะมีการรับโครงการที่ผ่านเกณฑ์ เพื่อนำมาบ่มเพาะนวัตกรรมกับ AIS NEXT

โดยทีมที่เข้าร่วม JUMP THAILAND Online Hackathon ครั้งนี้ นอกจาก จะมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Blockchain, Cloud, XR, Big Data รวมถึงได้ใช้พื้นที่ AIS PLAYGROUND ในการทดลองทดสอบนวัตกรรมต้นแบบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงแล้ว

ยังมีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดรวมกว่า 1 ล้านบาท นอกจากนี้โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาต่อยอด ขยาย Scale ได้ ก็จะได้โอกาสในการเข้าร่วมการบ่มเพาะนวัตกรรมร่วมกับทีม AIS NEXT เพื่อทดลองทดสอบโซลูชันในตลาดจริง ด้วยงบประมาณสนับสนุนที่มากที่สุดถึง 100 ล้านบาทอีกด้วย

ผู้สนใจโครงการ JUMP THAILAND สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และร่วมส่งหัวข้อปัญหาที่คิดว่าควรเร่งแก้ไขที่สุดได้ตั้งแต่วันนี้ – ถึง 14 ก.พ. 2564 ที่เฟซบุ๊กเพจ JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth