'เราชนะ' ตรวจสถานะเช็คสิทธิ์ กรณียืนยันตัวตน 'เป๋าตัง' ไม่ได้
ตรวจสอบ อัพเดท "เราชนะ" ตรวจสถานะเช็คสิทธิ์ กรณียืนยันตัวตน "เป๋าตัง" ไม่ได้
วันนี้ (14 ก.พ. 2564) ประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ "เราชนะ" ยังคงรอให้ระบบยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ที่ปิดให้บริการชั่วคราว ซึ่งยังไม่ได้รับความชัดเจนว่า จะกลับมาเปิดเมื่อไหร่ หลัง ธนาคารกรุงไทย แจ้งว่า ประชาชนสามารถใช้จ่ายโครงการคนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ได้ตามปกติ ยกเว้นระบบยืนยันตัวตนโครงการเราชนะที่ปิดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564
ทั้งนี้ ปัญหาเกิดจากการยืนยันตัวตนโครงการเราชนะ ผ่านแอปฯ เป๋าตัง เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระบบหน่วง ธนาคารกรุงไทยจึงปิดระบบการยืนยันตัวตนเป็นการชั่วคราว โดยจะแจ้งเวลากลับมาเปิดให้บริการยืนยันตัวตนอีกครั้ง
อัพเดท! :
- 'เราชนะ' เพิ่มปุ่ม 'สละสิทธิ' บนเว็บไซต์ www.เราชนะ.com
- 'เราชนะ' เช็คสิทธิ ตรวจสอบสถานะ เปิดขั้นตอนสมัคร กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน
- 'ม.33 เรารักกัน' ชงเข้า ครม. 15 ก.พ.นี้! กลุ่ม 'ประกันสังคม' มาตรา 33 รอรับ 4,000 บาท
วิธีใช้งานแอพฯ เป๋าตัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'เราชนะ' กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน 'ลงทะเบียน' 15 ก.พ. ที่ไหนได้บ้าง?
- 'เราชนะ' เปิดวิธีรับเงินของ ‘ร้านค้า’ ผ่านบัตรประชาชน ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน ทำอย่างไร?
- ปุ่ม 'เราชนะ' ไม่ขึ้นให้กดยืนยันสิทธิ เช็ควิธีแก้ที่นี่!
- 'เราชนะ' ต้องใช้ 'บัตรประชาชน' ไม่มีบัตร รีบจองคิวทำบัตรใหม่ผ่านแอพฯ 'BMA Q'
วิธีใช้สิทธิ์เราชนะ ผ่านแอพฯเป๋าตัง
- ผู้เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง/เราเที่ยวด้วยกัน และยืนยันตัวตน เปิด G-wallet รายละเอียดมีดังนี้
- มีแอปพลิเคชั่นกระเป๋าตังค์อยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ แต่ต้องเช็คสิทธิ
- กระทรวงการคลังจะใช้ข้อมูลเดิมที่ลงทะเบียนไว้ก่อนนี้แล้วเพื่อตรวจสอบเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเยียวยาหรือไม่ หากผ่านตามเกณฑ์ที่จะได้รับเงินอนุมัติเยียวยาดังกล่าว
- ตรวจสอบสถานะการได้รับสิทธิ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่าน www.เราชนะ.com
- ยืนยันรับสิทธิ 18 กุมภาพันธ์ 2564 กดยืนยันรับสิทธิผ่านแอป “เป๋าตัง”
- การรับเงิน >> จ่ายผ่านแอป “เป๋าตัง”
รับวงเงินครั้งแรก 18 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2,000 บาท **กรณีที่ได้รับโอนครั้งแรกสัปดาห์ถัดจาก 18 ก.พ. 64 จะได้ทบไปอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เช่น ได้ครั้งแรก 25 ก.พ. จะได้ 3,000 บาท ได้ครั้งแรก 4 มี.ค. จะได้ 4,000 บาท
รับวงเงินครั้งต่อไป ทุกวันพฤหัสบดี ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ และ 4, 11, 18 และ 25 มีนาคม 2564 วงเงินครั้งละ 1,000 บาท (จนครบ 7,000 บาท)
ระยะเวลาใช้จ่าย ใช้จ่ายได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
สะท้อนปัญหาใช้ "แอพฯเป๋าตัง"
ขณะที่ช่วงที่ผ่านมา ประชาชนต่างสะท้อนปัญหาผ่าน "แอพฯเป๋าตัง" อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง ชาวบ้านที่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ วานให้ลูกหลานนำโทรศัพท์มือถือมาลงแอพฯ เป๋าตัง ลงเท่าไหร่ก็ไม่ผ่าน เพื่อนบ้านแนะนำว่าต้องทาแป้งหน้าขาวๆ บัตรประชาชนกับหน้าจริงต่างกัน
ที่บ้านหนองตอ ตำบลโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านที่รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาล ผ่านกระทรวงการคลัง ในการแนะนำเพื่อรับสิทธิประโยชน์เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการ เราชนะ โดยผ่านแอพเป๋าตัง มีขั้นตอนการลงต้องถ่ายบัตรประชาชน และที่สำคัญหลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้วต้องมีการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันว่าตรงกับใบหน้าที่อยู่ในบัตรประชาชน ชาวบ้านที่ใช้มือถือไม่ค่อยคล่อง ก็ได้ไหว้วานให้ลูกหลานมาช่วยลงให้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.
ขณะเดียวกัน ลูกหลานพยามที่จะสแกนใบหน้าของญาติ แต่สแกนยืนยันข้อมูลเท่าไหร่ แอพก็แจ้งมาว่าไม่ผ่าน นั่งลงตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง มีเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์การลงผ่านมาจึงแนะนำว่า หน้าในบัตรประชาชนตอนถ่ายโดนแสงไฟขาว หน้าจริงตอนนี้หน้าดำ ให้หาแป้งมาทาจึงจะสแกนผ่าน ว่าแล้วทั้งหลานทั้งปู่ก็ทำตามแต่ก็ยังไม่ผ่านอยู่ดี สุดท้ายเพื่อนบ้านมาดูอีกทีว่าในบัตรประชาชนไม่มีหนวดแต่ตัวจริงที่กำลังสแกนใบหน้ามีทั้งหนวดและเครา จึงแนะนำว่าให้ไปโกนหนวดโกนเค้า เอาแป้งทาหน้าให้ขาวจึงจะผ่าน
นายคำพันธ์ ทองเชื้อ อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 บ้านหนองตอ หมู่ที่ 13 ตำบลโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งไม่มีความชำนาญในการใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะในเรื่องการเล่นเฟส เล่น LINE หรือลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ขณะเดียวกันก็อยากเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ จึงให้หลานสาวมาดำเนินการลงให้ กับเครื่องโทรศัพท์ของตัวเอง ภายหลังจากหลานสาวได้เข้าแอพแล้ว กรอกข้อมูลตามข้อกำหนดภายในแอพ จนมาสู่ขั้นตอนสุดท้าย ที่จะต้องสแกนใบหน้าของผู้ใช้สิทธิ์ ลงแอพ เราชนะ แต่ลงเท่าไหร่ เราก็ยังไม่ชนะสักที ลงตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงก็ไม่ผ่าน พอดีเพื่อนบ้านเดินผ่านมาจึงแนะนำว่า ให้ไปหาแป้งมาทาหน้าเพื่อให้หน้าขาวเหมือนในบัตรประชาชน แล้วลงใหม่ก็ไม่ผ่านอีก สุดท้ายมาดูชัดๆ กันอีกที ในบัตรประชาชนไม่มีหนวดไม่มีเครา แต่ตัวจริงผมก็ยาวหนวดเครารุงรัง
สุดท้ายหลานสาวก็บอกว่าพักการลงสแกนหน้าไว้ก่อน ไปตัดผมไปโกนหนวดโกนเครามา ค่อยมาลงใหม่ กว่าจะได้คงต้องรอไปจนถึงตอนเย็นหลังตัดผม โกนหนวด โกนเครา ให้เหมือนกับในบัตรประชาชนทุกประการ เพราะวันนี้วันสุดท้ายที่เปิดให้ประชาชนลงเอง นี่ถ้าเกิดอายุมากกว่านี้ทำงานหน้าดำกว่านี้คงจะแย่ เพราะอาจจะลงไม่ได้เลย สแกนหน้าไม่ผ่าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'เราชนะ' เช็คสิทธิ ตรวจสอบสถานะ ไม่มีสมาร์ทโฟน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เริ่ม 15 ก.พ.
- 'เราชนะ' ไม่มีสมาร์ทโฟน เตรียมเปิดลงทะเบียนผ่าน 'ธนาคารรัฐ' 15 ก.พ.64
- คืบหน้า 'เราชนะ' เปิดให้กลุ่ม 'ไม่มีสมาร์ทโฟน' ลงทะเบียน 15 ก.พ.นี้
- เปิดขั้นตอนลงทะเบียน 'เราชนะ' กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน
วิธีการรับสิทธิ์เราชนะ คนละครึ่งและธงฟ้า
การตรวจสอบสถานะเราชนะลงทะเบียน และ ตรวจสอบเช็คสิทธิ์เราชนะคนละครึ่ง
กรณีลงทะเบียนเราชนะ www.เราชนะ.com ปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์แล้วเมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 12 ก.พ. 2564 แต่ยัง ตรวจสอบเช็คสิทธิ์เราชนะ https://rights.เราชนะ.com/ กรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานะ และ ยื่นขอทบทวนสิทธิเราชนะ https://appeal.เราชนะ.com กรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อใช้ในการขอทบทวนสิทธิ ต้องยินยอมและรับทราบว่า ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังในกระบวนการทบทวนสิทธิถือเป็นที่สุด
ศูนย์ช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโครงการเราชนะ การลงทะเบียน และการใช้งานแอปฯ เป๋าตัง
02-111-1144
การใช้งานสิทธิผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
02-109-2345 จ - ศ. 8.30-17.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ สำหรับรายการรับเงินภาครัฐ และการใช้งานแอปฯ ถุงเงิน
02-111-9999 กด 3 - 24 ชั่วโมง
ตรวจสอบสิทธิและผลการลงทะเบียนเราชนะ ผ่านระบบอัตโนมัติ
02-111-1144 กด 2 - 24 ชั่วโมง
ตรวจสอบวงเงินสิทธิคงเหลือเราชนะ ผ่านระบบอัตโนมัติ
02-109-2345 กด 3 - 24 ชั่วโมง
คุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิเราชนะ และข้อเสนอแนะโครงการฯ
02-273-9020 ต่อ 3250, 3423, 3424, 3425, 3427, 3429, 3430, 3431, และ 3444 จ - ศ. 8.30-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
หากพบปัญหาลงทะเบียน www.เราชนะ.com สอบถามได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-227-9020 ต่อ 3250, 3423, 3424, 3425, 3427, 3429, 3430, 3431, และ 3444 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
อ้างอิง : www.gcc.go.th , กระทรวงการคลัง , สำนักเศรษฐกิจการคลัง, ทำเนียบรัฐบาล