"สุทิน" เชื่อมีด่านสกัดแก้รัฐธรรมนูญ หวั่นเกิดรัฐประหาร จี้ "รัฐบาล" ยืนยันต้องการแก้หรือไม่

"สุทิน" เชื่อมีด่านสกัดแก้รัฐธรรมนูญ หวั่นเกิดรัฐประหาร จี้ "รัฐบาล" ยืนยันต้องการแก้หรือไม่

"ส.ส.ฝ่ายค้าน" เชื่อผู้มีอำนาจไม่อยากให้แก้รัฐธรรมนูญ "สุทิน" ชี้มีด่านสกัด จี้ "รัฐบาล" ตอบจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ด้าน "ธีรัจชัย" เชื่อ "กมธ." ปรับเนื้อหามาตรา 256 เพราะเจตนาไม่อยากแก้

       ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ.... ของที่ประชุมรัฐสภา ในวาระสอง ที่แก้ไขมาตรา 256  ซึ่งกรรมาธิการ (กมธ.)พิจารณา รัฐสภาที่มีนายวิริช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานกมธ.  ได้แก้ไขในสาระสำคัญ คือ หลักเกณฑ์การออกเสียงวาระแรก รับหลักการ และวาระสาม ให้ความเห็นชอบ  ให้ใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่สภา จากเดิมที่กำหนดให้ใช้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยการตรวจสอบกระบวนการตรารัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  โดยศาลรัฐธรรมนูญ
         ทั้งนี้กมธ. เสียงข้างน้อย อาทิ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์, นายธีรัจชัย พันธุมาส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล , นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. , นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล รวมถึงสมาชิกรัฐสภาไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กมธ.ข้างมากแก้ไข โดยเฉพาะเกณฑ์คะแนนเสียงลงคะแนน
         โดยนายคำนูณ อภิปรายว่า เกณฑ์ที่ปรับจากร่างเดิม ที่ใช้เสียง  3  ใน 5 หรือ 450 คน ไปเป็นเสียง 2 ใน 3หรือ 500 คน  คือการเกิดล็อคใหม่ เนื่องจากจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นไม่ได้ หากส.ว.ไม่เห็นด้วย เพราะปัจจุบันมีส.ส.รวมกันทั้งสิ้น 487 คน ซึ่งหมายถึงประธานรัฐสภาต้องใช้สิทธิออกเสียงด้วย อย่างไรก็ดีหากส.ว. 250 คนไม่เห็นด้วยทำให้การแก้ไขไม่เกิดขึ้น ดังนั้นหากต้องการปลดล็อคเสียงส.ว. 1 ใน 3 หรือเสียงฝ่ายค้านร้อยละ 20 คนแล้วไม่ควรสร้างล็อคใหม่ให้เกิดขึ้น
161416444667
       ขณะที่นายธีรัจชัย อภิปรายว่า เนื้อหาที่กมธ.เสียงข้างมากแก้ไข ทั้งประเด็นคะแนนเสียงและการตรวจสอบกระบวนการตรารัฐธรรมนูญที่ไม่ถูกต้อง คือ เจตนาที่ผู้มีอำนาจไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพราะการใช้เสียง 3 ใน 5 หรือ500 เสียง จำเป็นต้องอาศัยเสียงส.ว.ร่วมด้วย ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าส.ว.ที่ไม่ได้มาจากประชาชน มาจากคสช.​คัดเลือก บทบาทสำคัญคือการควบคุม และปกป้อง รัฐธรรมนูญที่มีกลไกสืบทอดอำนาจของคสช. ขณะที่การเพิ่มบทบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบกระบวนการตรารัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหากมีฝ่ายใดแกล้งเสียบบัตรแทนกัน รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถแก้ไขได้
161416444654
         ทั้งนี้ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน อภิปรายคัดค้านร่างของกมธ. อาทิ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่เห็นด้วยกับร่างของกมธ.ฯ ว่าการแก้ไขวิกฤตรัฐธรรมนูญ คือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ ส่วนที่แก้ไขในปัจจุบัน บังคับใช้ ทำนายได้ว่ารัฐธรรมนูญไม่มีทางแก้ และมีทางเดียว คือ ล้มกระดานแก้รัฐธรรมนูญ ด้วยการรัฐประหาร ทั้งนี้ตนทราบว่าบุคคลที่เสนอให้แก้ไขเป็น 2 ใน 3 คือ คนที่ยื่นญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญ  และเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สร้างการไม่ยอมรับและนำไปสู่วิกฤตของรัฐธรรมนูญ 
        “จริงๆ รัฐบาลอยากแก้รายมาตรา จึงดักด่านต่างๆ ไว้  ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยเรื่อง วันที่ 4 มีนาคม ผมสังหรณ์ใจว่าที่พวกเราถกกันไม่ได้ใช้  แต่จะล้มที่กระบวนการก่อนวาระสามหรือวาระสามเท่านั้น ถ้าแสดงความบริสุทธิ์ใจ ให้มาพบกันครึ่งทาง ไปกันได้ คือ เกินกึ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้กาน้ำระเบิด หากไปไม่ได้ ขอให้มาคุยกัน  หากตั้งใจจะแก้ และใช้ 3 ใน 5 ขอให้มาคุย ผมไม่เห็นด้วยที่จะใช้ 2 ใน 3 เพราะวิกฤตข้างหน้าอรอยู่” นายสุทิน อภิปราย.