"กมธ.ข้างมาก" แพ้โหวตใน "รัฐสภา" ยืนใช้เสียง แก้รัฐธรรมนูญ "3 ใน 5"

"กมธ.ข้างมาก" แพ้โหวตใน "รัฐสภา" ยืนใช้เสียง แก้รัฐธรรมนูญ "3 ใน 5"

กมธ.แก้รัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก แพ้โหวตในรัฐสภา หลังอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง หลังถูกวิจารณ์วางหมากขวางแก้รัฐธรรมนูญ

       ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมรัฐสภา พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ...   ซึ่งยังอยู่ระหว่างพิจารณา สาระแก้ไขมาตรา 256 ที่กรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาฯ ปรับแก้ไข เกณฑ์การลงคะแนน ให้เป็นใช้เสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสองสภา หรือ 500 เสียง จากสมาชิก 700 คน ในการลงมติวาระแรก และวาระสาม ทั้งนี้ กมธ.เสียงข้างน้อย และส.ส.พรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยพร้อมตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเพิ่มเสียงข้างมากพิเศษที่แสดงเจตนาทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไม่ได้
        ทั้งนี้นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา ฐานะเลขานุการกมธ.ฯ ชี้แจงว่า กมธ.เสียงข้างมาก ไม่มีการครอบงำ หรือตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคคลใด และมีการพิจารณาโดยนำข้อมูลจากต่างประเทศมาเปรียบเทียบ ทั้งนี้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้เสียงข้างมาก ทั้งนี้ยอมรับว่าการพิจารณา มีข้อผิดพลาดทางเทคนิค และต้องโทษฝ่ายค้านที่เป็นกมธ. ซึ่งการลงมติว่าจะเห็นด้วยกับร่างที่รับมา หรือ ไม่เห็นด้วย ซึ่งมติ 21 เสียงให้แก้ไข ส่วน 11 เสียง เห็นว่าคงไว้กับร่างที่รับมา  ทำให้ประเด็น 3 ใน 5 จึงตกไป จากนั้นต้องพิจารณาว่าจะใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือ เสียง 2 ใน 3 ทำให้ กมธ.ฝั่งรัฐบาลไม่มีทางเลือกจึงต้องลงมติ ว่าใช้ 2 ใน 3 ตามที่วุฒิสภาเสนอ
161417269359
       ขณะที่ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.​ ฐานะกมธ.ฯ เสียงข้างมากชี้แจงด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่าทำเหมือนกับการรแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือกฎกระทรวง ที่ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง เพราะต้องการฉันทามติ จึงจำเป็นใช้เสียงข้างมากเป็นพิเศษ คือ 2 ใน 3 อย่างไรก็ตามประเด็นฉันทามตินั้นเป็นมาตรการป้องกันเผด็จการรัฐสภา เหมือนที่เคยเป็นมา ดังนั้นหากประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญซึง่เป็นความต้องการของประชาชน เชื่อว่าไม่มีส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนตัวมองด้วยว่า ทุกเสียงในสภาฯ ไม่ว่ามาจากไหน เมื่อรวมเป็นรัฐสภา จำเป็นต้องใช้การมีส่วนร่วม ทั้งส.ส.รัฐบาล ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. 
 
161417269391
         อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการอภิปราย นานกว่า 3 ชั่วโมง จึงมีการลงมติ ผลปรากฎว่า เสียงข้างมากของที่ประชุม  จำนวน 441 เสียง ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของกมธ. ต่อ 178 งดออกเสียง 13 เสียง ทำให้มาตรา 256 กลับไปใช้ตามร่างรัฐธรรมนูญเดิมที่ ใช้เกณฑ์คะแนนที่ใช้เสียง ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ​หรือ 450 เสียง ในวาระแรกและวาระสาม  และไม่มีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้มีกระบวนการตรวจสอบการตรารัฐธรรมนูญที่มิชอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ.