'สทนช.'เร่งคลอดคณะกรรมการลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำชุดใหม่แล้วเสร็จ ก.ย. นี้

'สทนช.'เร่งคลอดคณะกรรมการลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำชุดใหม่แล้วเสร็จ ก.ย. นี้

"สทนช."เดินหน้าคัดเลือก-สรรหากรรมการลุ่มน้ำ และกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำใน กนช.ภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564จำนวน22ลุ่มน้ำหลักใหม่ มีผลบังคับใช้พร้อมขีดเส้นต้องแล้วเสร็จ ก.ย.นี้ มั่นใจช่วยการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)เปิดเผยว่าพระราชกฤษฎีกา(พรก.)กำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่11ก.พ. 2564 พรก. ดังกล่าวเป็นการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำของประเทศไทยใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและวิถีชีวิตของประชาชน จาก25ลุ่มน้ำหลักเหลือ22ลุ่มน้ำหลัก

ทั้งนี้ การแบ่งลุ่มน้ำหลักใหม่จะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศดำเนินไปบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสามารถใช้ในการวิเคราะห์ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำแบบองค์รวมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเบ็ดเสร็จในแต่ละลุ่มน้ำ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่งคงด้านทรัพยากรน้ำให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน”ดร.สมเกียรติ กล่าว

สำหรับลุ่มน้ำหลักใหม่ทั้ง22ลุ่มน้ำนั้น ประกอบด้วยลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขงเหนือ ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำแม่กลองลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำภาคใต้ตะวันออกตอนล่าง และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ทั้งนี้สทนช. จึงได้เตรียมดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนภาคส่วนต่างๆ และการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำใน .ให้แล้วเสร็จภายเดือนก.ย.2564โดยในส่วนของคณะกรรมการลุ่มน้ำนั้น จะประกอบด้วยกรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่งได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตลุ่มน้ำนั้น และผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งจะต้องเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำนั้น จังหวัดละ1คนกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน9คน

โดย สทนช.ต้องดำเนินการคัดเลือกหรือสรรหาผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆตามที่ระบุคุณสมบัติไว้ในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.2564หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)จำนวน6คน

ประกอบด้วยกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน1คนกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน4คน และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน1คนโดย สทนช.จะดำเนินการประกาศเปิดรับการเสนอรายชื่อผู้มีความประสงค์เข้ารับการคัดเลือก ณ ที่ทำการ สทนช.ภาค1-4และทางเว็บไซต์ สทนช.ต่อจากนั้นจะดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำ ในแต่ละเขตลุ่มน้ำเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกเพียงลุ่มน้ำละ 6 คน

 

ทั้งนี้ เมื่อได้รายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกครบทั้ง22ลุ่มน้ำแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกที่ประธาน กนช. แต่งตั้ง มีเลขาธิการ สทนช.เป็นประธาน หน่วยงานตามที่กฎกระทรวงกำหนดอีก 9 คน ร่วมเป็นกรรมการ และมีข้าราชการของ สทนช. อีก 1 คน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ จะจัดประชุมพิจารณาคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำจากบัญชีรายชื่อกรรมการลุ่มน้ำที่ได้รับการเสนอเข้ารับการคัดเลือกจากลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำใน กนช. ต่อไป ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย. 2564นี้

“ภายหลังจากได้คณะกรรมการลุ่มน้ำใหม่ครบทั้ง22ลุ่มน้ำหลักและกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำใน กนช.แล้วจะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง"