'พท.'ชี้'ศาล-สภา'เป็นปราการด่านสำคัญ ปม'แก้รธน.'ให้เป็นฉบับปชช.

'พท.'ชี้'ศาล-สภา'เป็นปราการด่านสำคัญ ปม'แก้รธน.'ให้เป็นฉบับปชช.

"ชูศักดิ์" ชี้ "แก้รธน." ให้เป็นฉบับปชช.ได้ ต้องฝ่า 5 ด่านสำคัญ ระบุ จุดสำคัญอยู่ที่คำวิจฉัยศาล-สภา วาระ3 ถึงจะมี "สสร." จากการเลือกตั้ง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะทำงานกฎหมาย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนสำเร็จเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้ จะต้องฝ่าฟันในอีก 5 ด่านสำคัญ คือ

ด่านแรกสุด : ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 11 มีนาคมนี้

ด่านที่สอง : ที่ประชุมรัฐสภา จะต้องลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 จะต้องใช้เสียง .. 1 ใน 3 หรืออย่างน้อย 84 เสียง

ด่านที่สาม : ต้องผ่านความเห็นชอบจากประชาชนโดยต้องทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้ต้องมีผู้มาใช้สิทธิมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และกฎหมายประชามติยังมีเงื่อนไขสำคัญนอกจากผู้มาใช้สิทธิต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว คะแนนเห็นชอบต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิอีกด้วย

ด่านที่สี่ : หลังจากรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านประชามติและประกาศใช้ ต้องมีการเลือกตั้ง... 200 คนโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งในลักษณะเดียวกับเลือกตั้ง .. มีส... ได้เขตละคน เป็นไปได้ว่าการเลือกตั้ง ... จะไปเกี่ยวพันกับอำนาจหรืออิทธิพลในท้องถิ่น รวมไปถึงการโยงใยกับการเมืองในระดับชาติ

สุดท้าย ด่านที่ห้า : เมื่อ ...จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ จะต้องให้ประชาชนเห็นชอบโดยต้อง ทำประชามติอีกครั้ง ในเงื่อนไขเดียวกับด่านที่สาม หากผ่านประชามติก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ด่านที่สำคัญที่สุดจะอยู่ในสองด่านแรก คือคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่จะต้องวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าจะสามารถจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ และการลงมติในวาระที่ 3 ของที่ประชุมรัฐสภาซึ่งต้องให้ ..ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม คือไม่น้อยกว่า 84 คน เห็นชอบด้วย หากผ่านด่านนี้ไปได้จึงจะมี...” ที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ยกร่างจากประชาชน มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านรัฐสภาแล้วต้องไปทำประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา256(8) หากผ่านประชามติแล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย และเมื่อมีรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงจะมีการเลือกตั้ง ...เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนเสร็จสิ้นแล้วก็ต้องนำไปทำประชามติอีกครั้งก่อนเข้าสู่กระบวนการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงมิได้หมายความว่ารัฐสภายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอง แต่ ...เป็นคนยกร่างแล้วให้ประชาชนลงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ ทั้งหมดอยู่ในบริบทเรื่องอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แม้คำวินิจฉัยดังกล่าวจะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ยกเลิกไปแล้วก็ตาม

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแก้กฎหมายใดๆ ทำได้สองวิธี คือ แก้ไขรายมาตราบางประเด็นเรียกว่าแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่..)(......)หรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกกฎหมายเก่าแล้วตราขึ้นมาใหม่ โดยที่อาจแก้มากแก้น้อย การอ้างว่าจัดทำฉบับใหม่ไม่ได้ จึงเท่ากับต้องแก้ไขเพิ่มเติมเป็นมาตราๆไปเท่านั้น แปลว่ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมายนั้นๆ จะเป็นนิรันดร์ยกเลิกเพื่อทำใหม่ไม่ได้เลย ผิดหลักกระบวนการนิติบัญญัติอย่างสิ้นเชิง