โค้งสุดท้าย 'แล้ง' ปี 64 สำรองน้ำ ลดผล ฝนทิ้งช่วง 3 เดือน

โค้งสุดท้าย 'แล้ง' ปี 64 สำรองน้ำ ลดผล ฝนทิ้งช่วง 3 เดือน

“ภัยแล้ง” ปี 2564 ดูเหมือนปีนี้ความรุนแรงจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากยังไม่มีประกาศพื้นที่ภัยแล้ง ส่วนหนึ่งเพราะปริมาณน้ำต้นทุนมากกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย และกรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ำได้บรรลุเป้าหมาย

ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำในปีนี้ถือว่าบรรลุผลสำเร็จได้ดีมาก โดยได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและประชาชน รวมถึงเกษตรกรทุกภาค ขณะทีี่ปริมาณน้ำในเขื่อนมีการกระจายตัวได้ดี มากกว่าปีที่ผ่านมาทุกภาค ยกเว้นฝั่งตะวันตกที่ฝนตกน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 50 %ทำให้มีน้ำลงเขื่อนวชิราลงกรณ์น้อย ตามไปด้วย แต่การจัดการน้ำทุกลุ่ม ถือว่าเป็นไปตามแผน จะมีบ้างที่ประชาชนยังแอบสูบน้ำไปใช้ ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของประชาชนที่มีมากขึ้น

โดยปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 38,451 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)หรือ 51%ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 14,521 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ทั้งประเทศมีการใช้น้ำไปแล้ว 13,770 ล้าน ลบ.ม. หรือ 73%ของแผนฯ

เมื่อพิจารณาเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 9,444 ล้าน ลบ.ม. หรือ 38%ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 2,748 ล้าน ลบ.ม. มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,052 ล้าน ลบ.ม. หรือ 81%ของแผนฯ

อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านฤดูแล้งนี้ไปแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนยังต้องสำรองเอาไว้ใช้ต่ออีก 3 เดือน ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน และรองรับภาวะฝนตกทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ค.- ก.ค. ของทุกปี โดยคาดว่าหลังวันที่ 30 เม.ย. 2564 จะมีน้ำเขื่อนทั่วประเทศ 8,000 ล้าน ลบ.ม.เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีปริมาณน้ำที่ต้องสำรองเอาไว้ 1,900-2,000 ล้าน ลบ.ม.ดังนั้นกรมชลประทาน จึงกำชับเจ้าหน้าที่และขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการช่วยกัน ฟันฝ่า โค้งสุดท้ายนี้ไปพร้อมๆ กัน

161821594410

 เบื้องต้นกรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ มากขึ้น เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อส่งน้ำให้กับทุ่งบางระกำ สำหรับทำนาปีก่อนพื้นที่อื่นๆ หรือเร็วกว่าฤดูทำนาปีปกติประมาณ 1 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ข้าวได้ทันก่อนฤดูน้ำหลากในเดือน ส.ค. ของทุกปีและเพื่อใช้พื้นที่เดียวกันนี้เป็นแก้มลิง ชะลอน้ำไว้ไม่ให้ไหลพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาเร็วเกินไปในระหว่างนั้นเกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาชีพเสริมได้

ในลุ่มเจ้าพระยา มีทุ่งที่เหมาะสมจะเป็นแก้มลิงมากถึง 13 ทุ่ง ซึ่งกรมชลประทานจะทยอยส่งน้ำเพื่อทำนาปีก่อนใครตามลำดับพื้นที่ดอน และพื้นที่ลุ่ม แต่ในปีนี้ ซึ่งปริมาณน้ำต้นทุนมีน้อย ทำให้สามารถส่งน้ำให้ทุ่งบางระกำได้เพียงแห่งเดียว115 ล้านลบ.ม.ครอบคลุมการทำนา ได้2.65 แสนไร่ น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมาที่เคยส่งน้ำให้ได้มาdที่สุดถึง3.8 แสนไร่ “

161821602834

 ทั้งนี้ การทำนาในพื้นที่ลุ่มบางระกำและทุ่งอื่นๆที่เหลือ ต้องพึ่งน้ำฝนเป็นหลัก โดยกรมอุตินิยมวิทยาคาดว่า ปริมาณฝนปีนี้จะมาเร็วกว่าทุกปี สำหรับผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64จากปริมาณน้ำสะสมที่สามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.63 – 30 เม.ย. 64 รวม18,992ล้านลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว14,080ล้าน ลบ.ม. หรือ 74%ของแผนฯในจำนวนนี้ กำหนดให้เป็นน้ำที่ใช้การได้ในลุ่มเจ้าพระยา 5,000 ล้านลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 4,141 ล้านลบ.ม. หรือ 83%ของแผนฯ

ลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งเริ่มบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 –30 มิ.ย. 2564 มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้3,800 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,931 ล้าน ลบ.ม. หรือ 51%สำหรับการการทำข้าวนาปรังในเขตชลประทานปี2563/64ตามแผนกำหนดไว้ทั้งประเทศรวม1.90ล้านไร่แต่มีการเพาะปลูกกว่า5.379ล้านไร่

“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้ง แต่ยังคงมีการเพาะปลูก2.79ล้านไร่”

สำหรับฤดูฝน ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี โดยต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้งนั้น ในปีนี้คาดว่า ฝนจะมาเร็วกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะมีฝนในช่วงต้นเดือนพ.ค.นี้ และจะมีปริมาณฝนตกสูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี จึงได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมตรวจสอบสภาพอ่างเก็บน้ำและอาคารชลประทานต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ

 นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่เข้าประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที และได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานเร่งกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มต้นฤดูฝน