การ์ทเนอร์ เปิด 10 เทคฯ เด่น พลิกโฉมกิจการรัฐ - ‘ซิเคียวริตี้-เอไอ’ ต้องมี

การ์ทเนอร์ เปิด 10 เทคฯ เด่น พลิกโฉมกิจการรัฐ - ‘ซิเคียวริตี้-เอไอ’ ต้องมี

การ์ทเนอร์เปิด 10 อันดับเทคโนโลยีสำหรับภาครัฐที่โดดเด่น ซิเคียวริตี้ ควบคุมค่าใช้จ่าย จำเป็นอย่างยิ่ง คาด 60% ของการลงทุนด้านวิเคราะห์ข้อมูล และเอไอ เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมต่อการตัดสินใจแบบเรียลไทม์

การ์ทเนอร์ คาดว่า ภายในปี 2567 หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่มีสถาปัตยกรรมแอพพลิเคชันการจัดการรายกรณีแบบผสมผสานจะนำฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาใช้ได้เร็วกว่าหน่วยงานที่ไม่มีสถาปัตยกรรมดังกล่าว อย่างน้อย 80%

อันดับที่ 5 ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล คือ ความสามารถระบุอัตลักษณ์ของบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลของภาครัฐ ระบบนิเวศข้อมูลประจำตัวดิจิทัลกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์มาตรฐานการระบุอัตลักษณ์อย่างแท้จริงจะเป็นแบบกระจายศูนย์ การเก็บข้อมูลมีความสะดวก เรียกใช้ได้จากทุกที่และเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานในระดับธุรกิจ บุคคล สังคม และการระบุแบบไร้ตัวตน

อันดับที่ 6 การผสานรวมองค์กรภาครัฐ คือ หน่วยงานภาครัฐใดๆ ที่ใช้หลักการออกแบบผสมผสาน ซึ่งช่วยให้เพิ่มความสามารถด้านการทำงานซ้ำและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ กฎหมายและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2566 

การ์ทเนอร์คาด 50% ของบริษัทเทคโนโลยีที่จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับภาครัฐจะเสนอความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็กเกจเพื่อรองรับแอพพลิเคชันการผสานรวม

อันดับ 7 สร้างโปรแกรมการแบ่งปันข้อมูล การสร้างโปรแกรมแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing as a Program) ทำให้การบริการสามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งสนับสนุนการให้บริการภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนไปสู่แนวทางที่ทำงานแบบผสมผสานกันได้มากขึ้น

ภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ขององค์กรภาครัฐจะสร้างโครงสร้างการแบ่งปันข้อมูลที่มีความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการรวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล คุณภาพและความตรงต่อเวลา

อันดับ 8 การบริการสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนค (Hyperconnected) การเชื่อมต่อสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนค คือ การใช้เทคโนโลยีหลากหลายที่ภาครัฐใช้ทั้งหมด รวมถึงเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ทำให้กระบวนการทางธุรกิจและไอทีเป็นอัตโนมัติมากที่สุด ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 75% ของภาครัฐจะเปิดตัวหรือดำเนินการโครงการริเริ่มหลักการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) ทั่วทั้งองค์กรอย่างน้อย 3 โครงการ

อันดับที่ 9 การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทาง ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจการภาครัฐมากขึ้น และแตะจุดสูงสุดในปี 2563 จากการร่วมกันรับมือภัยการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เหตุการณ์ไฟป่า พายุเฮอริเคนและเหตุการณ์อื่นๆ 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่ารัฐบาลกว่า 30% จะใช้มาตรการชี้วัดการมีส่วนร่วมเพื่อติดตามปริมาณและคุณภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจวางแผนด้านนโยบายและงบประมาณภายในปี 2567

อันดับที่ 10 การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการ คือ การนำเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้อย่างมีกลยุทธ์และเป็นระบบ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ 60% ของการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI ของภาครัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมโดยตรงต่อผลลัพธ์และการตัดสินใจแบบเรียลไทม์