'พท.'แนะรัฐจ่ายหนี้'บีทีเอส'3หมื่นล้าน ก่อนรวบสัญญารถไฟฟ้ามาประมูลใหม่

'พท.'แนะรัฐจ่ายหนี้'บีทีเอส'3หมื่นล้าน ก่อนรวบสัญญารถไฟฟ้ามาประมูลใหม่

"ชนินทร์" ข้องใจ "บีทีเอส" ออกโรงทวงหนี้รัฐ 3 หมื่นบ้าน เป็นละครฉากใหญ่ รัฐ-เอกชน สร้างสถานการณ์ไร้ทางออกหรือไม่ แนะ รัฐชำระหนี้ ก่อนรวบสัญญามาประมูลใหม่

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชนหรือบีทีเอส ส่งจดหมายทวงหนี้ออนไลน์ในรูปแบบคลิปผ่านยูทูปและฉายบนขบวนรถบีทีเอสทั่วกรุงเทพมหานคร และยังเผยแพร่เอกสารในทวิตเตอร์บัญชีทางการของบีทีเอส หวังบีบให้รัฐบาลเร่งชำระหนี้สินรวม 3 หมื่นล้านบาทว่า  มองเผินๆอาจเหมือนการประจานจากเอกชนด้วยการทวงหนี้รัฐที่ค้างจ่ายเท่านั้น แต่หากมองให้ลึกลงไปกลับมีคำถามว่านี่คือละครฉากใหญ่ของคู่รักรัฐบาลสืบทอดอำนาจให้กับกลุ่มทุนในสังกัดหรือไม่

ทั้งนี้ จากคำสัมภาษณ์ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ว่าประชาชนได้ประโยชน์ไปแล้วจากการที่รัฐยอมขาดทุนด้วยการงดเว้นการเก็บค่าโดยสารบางส่วน ประกอบกับการปล่อยข้อมูลว่าหากไม่ต่อสัญญาประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสาร 104-158 บาทต่อเที่ยว ดูเหมือนว่าทั้งรัฐและเอกชนกำลังสร้างสถานการณ์วิกฤตที่ไร้ทางออก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้วิธีแก้ปัญหาแบบฉ้อฉลที่ซ่อนไว้ข้างหลังหรือไม่ ต่อมามีการเตรียมใช้อำนาจ .44 ยืดอายุสัญญาสัมปทานให้เอกชนผู้เดินรถบนสัญญาหลักที่มีผู้โดยสารจำนวนมากไปอีก 30 ปีโดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขัน เพื่อทดแทนภาระหนี้สินที่ค้างอยู่

รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในความเป็นจริง ภาระขาดทุนหรือหนี้สินที่เกิดขึ้น อาจมีต้นเหตุมาจากการบริหารจัดการที่ไม่ดี หรือการจัดจ้างในราคาที่สูงเกินไปหรือไม่ เพราะการจ้างเดินรถในครั้งนี้  รัฐโดย บริษัท กรุงเทพธนาคม ได้จ้างบริษัทบีทีเอสเข้าดำเนินการโดยไม่ผ่านการประมูล ซึ่งส่อเค้าทุจริตอย่างชัดเจน และอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ...อยู่

ไม่ว่าข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้จะคือรัฐถังแตก หรือฉากละครฉ้อฉล ทางออกที่เป็นประโยชน์กับประชาชนที่สุดคือการชำระหนี้ที่เกิดขึ้น และรวบสัญญาทั้งหมดกลับมาประมูลใหม่ที่โปร่งใสและเสรี ประเทศไทยจะไปข้างหน้าได้ รัฐบาลชุดนี้ต้องเลิกนิสัยการใช้อำนาจมืด รวบหัวรวบหางแอบกินในที่ลับเสียทีนายชนินทร์ กล่าว