KTB ส่อง “อสังหา”เจอปัจจัยฉุดเพียบ แนะทางรอดหันพึ่ง ‘Solar rooftop’

 KTB ส่อง “อสังหา”เจอปัจจัยฉุดเพียบ แนะทางรอดหันพึ่ง ‘Solar rooftop’

กรุงไทย คาดรายได้ผู้พัฒนาอสังหา1-3ปีข้างหน้าดิ่ง หลังเจอปัจจัยรุมเร้าเพียบ แนะหันพึ่ง Solar Rooftop ที่เป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้ธุรกิจอสังหาฯ คาดมูลค่าตลาด10ปีข้างหน้าสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท

      จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อีกทั้งยังถูกผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่หรือโควิด ระลอก 3 ยิ่งเป็นปัจจัยท้าทายสำหรับภาคธุรกิจอย่างมาก ในการการดำเนินธุรกิจท่ามกลางปัจจัยรุมเร้าค่อนข้างมาก
       ภาคอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นภาคหนึ่งที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลให้กำลังซื้อบ้านของประชาชนอ่อนแอ ลดลงต่อเนื่อง
       ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย มีการเปิดผลวิจัย Solar Rooftop ภาคครัวเรือน แหล่งรายได้เสริมของผู้พัฒนาอสังหาฯ?      

       โดย “พชรพจน์ นันทรามาศ”ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดกรใหญ่ ศูนย์วิจัย COMPASS กล่าวว่า จากการประเมินตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระยะข้างหน้า คาดการณ์ว่า รายได้ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มเติบโตลดลงเหลือเพียง 3.6% จากที่ผ่านมาที่ขยายตัวกว่า 7%
      จากปัจจัยรุมเร้ามากมายที่ฉุดรั้งให้ รายได้ลดลง ดังนั้นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จะต้อง “ปรับตัว” หาแหล่งรายได้เสริมมากขึ้นในอนาคตต ซึ่งหนึ่งแนวทางรอดเหล่านี้คือการหันพึ่งพา แหล่งรายได้จาก Solar Rooftop ที่จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้กับภาคอสังหาฯในอนาคตได้

      “กณิศ อ่ำสกุล”นักวิเคราะห์ กรุงไทย COMPASS กล่าวว่าจากแนวโน้มรายได้ของภาคอสังหาฯ ที่คาดว่าจะลดลง หลักๆมาจากปัจจัยฉุดรั้งหลายด้าน ทั้ง จีดีพีของเศรษฐกิจไทยที่คาดว่ายังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งมีข้อจำกัด จากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดทำให้ขอกู้ที่อยู่อาศัยลดลงได้
       นอกจากนี้ยังไม่ข้อจำกัดจากการเดินทางของต่างชาติเข้าไทย เพื่อมาซื้ออสังหาริมทรัพย์ ทำให้แนวโน้มกำลังซื้อส่วนนี้หายไปค่อนข้างมาก ขณะที่เกณฑ์ LTV ปัจจุบันก็เป็นปัจจัยให้การลงทุนหรือเก็งกำไรในอสังหาฯลดลงด้วย
       “แนวโน้มกำไรของผู้พัฒนาอสังหา ด้วยสถานการณ์ดีมานด์การซื้อที่อยู่อาศัยที่อ่อนแอ ผู้ประกอบการต้องมีความจำเป็นในการทำแคมเปญต่อเนื่อง ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่ม ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิมีโอกาสอยู่ในระดับต่ำลงได้ ขณะที่ธุรกิจเสริมอย่าง การให้เช่าออฟฟิต รีเทล อพาร์ทเม้นท์ โรงแรมก็มีแนวโน้มลดลง จากกระแส WFH เหล่านี้จะฉุดรั้งการเติบโตต่อกลุ่มอสังหาฯมากขึ้น”
       จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม ผู้ประกอบการ หรือผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ถึงต้องมองหาธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเพิ่มยขึ้น และ Solar Rooftop คือทางออก
       อีกทั้ง Solar Rooftop เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ที่สร้างความคุ้มค่า และเห็นการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกร ครัวเรือน ดังนั้นผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรใช้โอกาสนี้ เข้าไปกินตลาดนี้ จากการจับมือกับธุรกิจ Solar Rooftop เพื่อเข้าไปติดตั้ง Solar เพื่อชิงความได้เปรียบกับผู้ประกอบการอื่นๆได้
       “หากดูต้นทุนการติดตั้ง Solar Rooftop ในต่างประเทศพบว่าต้นทุนลดลง ราว 49% ส่งผลให้ครัวเรือนเข้าถึงได้มากขึ้น รวมถึงนโยบายการสนับสนุนการซื้อไฟจากครัวเรือนของภาครัฐ เป็นปัจจัยทำให้การติดแผง Solar Rooftop ยิ่งมากขึ้น ขณะที่ตลาดไทยต้นทุนการติดก็ลดลงปีละ 66% อนาคตจะลดต่อเนื่องอีกปีละ10% จนถึงปี 68 ดังนั้นมองว่าตลาดนี้มีปัจจัยหนุนและมีโอกาสเติบโตได้มาก”

     "กิตติพงษ์ เรือนทิพย์” นักวิเคราะห์ กรุงไทย COMPASS กล่าวว่า หากดูระยะเวลาคืนทุนของการติดตั้ง Solar Rooftop พบว่าปัจจุบัน ระยะเวลาคืนทุนสั้นลด ซึ่งหากติดตั้งแผงโซลาร์แต่ก่อน พบว่า ระยะเวลาคืนทุนต้องใช้เวลาถึง 30ปี แต่อายุแผงโซลาร์ใช้ได้เพียง 25 ปีเท่านั้น ดังนั้นถือว่าไม่คุ้มทุน
       แต่ปัจจุบัน จากราคาแผงที่ลดลง ในอดีต พบว่าระยะเวลาคืนทุนเหลือเพียง 6.3-9.3% ปีเท่านั้น และคาดว่าปี 68 เป็นต้นไป จะใช้ระยะเวลาคืนทุนสั้นลงเหลือเพียง 5 ปีเท่านั้น ดังนั้นการติดตั้ง Solar Rooftop จะมีมากขึ้นในอนาคต
        ดังนั้นประเมินว่า มูลค่าตลาดของ Solar Rooftop ในระยะ 10ปีข้างหน้า ของภาคครัวเรือน กรณีมีการผลิตไฟใช้เอง คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 9.5 หมื่นล้านบาท จากครัวเรือนที่หันมาใช้ราว 2.36 ล้านครัวเรือน จากประเทศไทยที่มีถึงครัวเรือน 21-22 ล้านครัวเรือน โดยเฉพาะบ้านแนวราบ ที่จะหันมาติดตั้ง และต้องใช้ไฟไม่ต่ำกว่า 900 บาทต่อเดือน
        นอกจากนี้ กรณีที่มีการขายไฟฟ้าให้รัฐ ตามนโยบายรัฐที่จะซื้อไฟเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ตลาดนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท ในรอบ 10ปีข้างหน้า หรือปีละ 1.3 หมื่นล้านบาท เทียบกับรายได้เสริมของผู้พัฒนาเสริม ที่มีต่อปีราว 3พันล้านบาท

.      ซึ่งถือว่า เป็นเนื้อหนังพอสมควร ดังนั้นอยากให้มองว่าเป็นโอกาสของผู้พัฒนาอสังหาฯในอนาคต