‘CIMBT’กำไรไตรมาส1/64 กำไรวูบ68.4%เหตุโควิดทำขาดทุนด้านเครดิต-NPLเพิ่ม

‘CIMBT’กำไรไตรมาส1/64 กำไรวูบ68.4%เหตุโควิดทำขาดทุนด้านเครดิต-NPLเพิ่ม

“ซีไอเอ็มบีไทย” แจ้งไตรมาส1ปี64 เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีรายได้ 3,510.5 ล้านบาท ลดลง 17.2% และกำไรสุทธิ 341.3 ล้านบาท ลดลง 68.4% เหตุผลขาดทุนด้านเครดิตเพิ่มขึ้น 64.3% เป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและคุณภาพสินเชื่อของลูกค้าที่จะแย่ลง NPLที่4.8%เพิ่มจากสิ้นปีก่อนที่4.6% ยังคุมการปล่อยสินเชื่อต่อเนื่อง

ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 3,510.5 ล้านบาทลดลง 731.4 ล้านบาท หรือ 17.2%เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2563

สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้อื่น 37.2% และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 12.9%  สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 3.1% กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่ดาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 1,429.6 ล้านบาท ลดลงจำนวน 351.2 ล้านบาทหรือ 19.7% เนื่องจากการลดลงของรายได้จากการดำเนินงานสุทธิกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 15.5 %

ดังนั้น มีกำไรสุทธิจำนวน 341.3 ล้านบาท ลดลงจำนวน 738.5ล้านบาท หรือ 68.4% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันสาเหตุหลักเกิดจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่ดาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น 64.3% เป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและโอกาสที่คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าที่จะแย่ลงจากผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด19เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานงวดสามเดือนปี 2564 และ 2563

ทางด้านรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น
12.1 ล้านบาท หรือ3.1% ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันและค่าธรรมเนียมจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ ในขณะที่รายได้อื่นลดลง 377.1 ล้านบาท หรือ37.2 % ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนจำนวน 367.8 ล้านบาทและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 366.4 ล้านบาท หรือ 12.9% เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้
สินเชื่ออันเนื่องมาจากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อลดลงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนปี 2564 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2563 ลดลงจำนวน380.2 ล้านบาทหรือ 15.5% สาเหตุหลักมาจากการบริหารจัดการเพื่อดวบคุมค่ใช้จ่ายที่ดีขึ้นและการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน

อัตราส่วนค่ใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่อรายได้จากการดำเนินงานงวดสามเดือนปี 2564อยู่ที่ 59.3% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2563 อยู่ที่ 58.0% เป็นผลจากการลดลงของรายได้จาก
การดำเนินงาน

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin - NIM) สำหรับงวดสามเดือนปี 2564อยู่ที่ 3.08% ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2563 อยู่ที่ 3.31% เป็นผลจากการลคลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินเงินให้สินเชื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 219.5 พันล้านบาท ลดลง 33% เมื่อเทียบกับเงินให้
สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 244.7 พันล้านบาท ลดลง2.7% จากสิ้นปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 251.4 พันล้านบาท

อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็น 89.7%จาก 90.3% ณ วันที่ 31ธันวาคม 2563

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 10.6 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ 4.8% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 อยู่ที่4.6% สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของยอดสินเชื่อโดยรวมในขณะที่ยอดสินเชื่อด้อยคุณภาพเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก อย่างไรก็ตามธนาคารยังมีมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลลูกหนี้และการติดตาม
หนี้

อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 มีนาคม
2564 อยู่ที่98.9%  เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ที่93.3% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่ดาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.9 พันล้านบาท เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 31 มีนาคม 2564 มีจำนวน 53.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง 20.3% โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 14.7%