โทร '1668' หาเตียงโควิด ระบบเป็นอย่างไร มี 'เบอร์ฉุกเฉิน' ไหน ควรรู้อีกบ้าง?

โทร '1668' หาเตียงโควิด ระบบเป็นอย่างไร มี 'เบอร์ฉุกเฉิน' ไหน ควรรู้อีกบ้าง?

โทร "1668" หาเตียงโควิด ระบบเป็นอย่างไร มี "เบอร์ฉุกเฉิน" ไหน ควรรู้อีกบ้าง? พร้อมเปิดขั้นตอนปฏิบัติตัวเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ หลายคนมองว่าค่อนข้างที่จะรุนแรงกว่าครั้งก่อน มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงลักษณะอาการและอัตราการเสียชีวิตที่มีความรุนแรงมากขึ้น

โดยจากรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมควบคุมโรค ล่าสุด วันที่ 24 เมษายน 2564 พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ทะลุสูงถึง 2,839 ราย นับเป็น "ตัวเลขรายวัน" ที่สูงที่สุดเท่าที่มีการระบาดในประเทศไทยมา ทำให้จนถึงขณะนี้ มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 53,022 ราย อีกทั้งยังพบผู้เสียชีวิตเพิ่มถึง 8 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 129 ราย

ในจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้เกิดประเด็นปัญหาที่มีการแชร์ผ่านทางโซเชียลจำนวนมาก นั่นคือ จำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ไม่เพียงพอ การประสานงานติดต่อเพื่อรอทางโรงพยาบาลมารับก็ไม่เป็นไปได้รวดเร็ว และทำให้เกิดการแพร่เชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะกับคนในครอบครัวเดียวกัน 

161915746016

ทั้งนี้ปัจจุบันกรมการแพทย์ได้เปิดบริการสายด่วนเฉพาะกิจ 1668 ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดในการหาเตียง ระหว่างเวลา 08.00 – 22.00 น. ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับสายด่วน 1669 ของกรุงเทพมหานคร และสายด่วน 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่รับสาย 24 ชั่วโมง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล

ซึ่งทีมงานสายด่วนเฉพาะกิจ 1668 เป็นเจ้าหน้าที่จิตอาสา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ของกรมการแพทย์ ทั้งนี้หากมีปัญหาเรื่องการโทรอาจจะใช้ LINE @sabaideebot ในการเข้าไปลงทะเบียน เพื่อแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วยโควิด-19 เข้าสู่ระบบหาเตียงส่วนกลางได้ด้วย

โดย หลักการทำงานของทีมงานสายด่วน 1668 ทั้งในและนอกสถานที่ แบ่งเป็น 4 ทีมหลัก คือ

1.ทีมรับสาย Hotline 1668 จากผู้ป่วยโควิด-19

  • สอบถามข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วย
  • ให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นในการดูแลตนเองและป้องกันการแพร่กระจายของโรคค

2.ทีมข้อมูล 

  • รวบรวมข้อมูลจากทีมงานสายด่วนและทีมประสานงาน
  • วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล สรุปข้อมูลรายวัน 

3.ทีมแพทย์

  • มีทีมแพทย์ประเมินอาการระดับความรุนแรงของผู้ป่วย แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของโรค

4.ทีมประสานงานและประสานงาน

  • หน้าที่ประสานการขอเตียงจากโรงพยาบาลเป้าหมายหรือศูนย์ประสานงานกลุ่มโรงพยาบาล ผ่านศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี
    - กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของกรมการแพทย์ และประสานงานผ่านศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร
    - กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ ในกรณีที่เป็นผู้ติดเชื้อจาก Lab ที่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ กรมการแพทย์ช่วยเหลือในรับเข้า Hospotel

  • โทรเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วย 

161916012913

นอกจากนี้ยังมี "เบอร์ฉุกเฉิน" อื่นๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดังน้ี

  • 1422  (กรมควบคุมโรค) : สอบถามข้อมูลโรคโควิด-19 และแจ้งผู้ที่มีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สงสัยป่วยโรคโควิด-19 (For foreigner call 0-9684-7820-9) หรือผ่านช่องทางแชทโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างนี้ 

    No photo description available.

  • 1111  (สำนักนายกรัฐมนตรี)  : รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ศูนย์บริการภาครัฐเพื่อประชาชน 
  • 1669  (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)  : เจ็บป่วยหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • 1323  (กรมสุขภาพจิต)  : ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
  • 1646  (ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ))  ประสานความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในภาวะฉุกเฉินทุกประเภท และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการแพทย์ประเภท Hotline สายด่วนกู้ใจให้คำปรึกษา ปัญหา คลายเครียด บริการตลอด 24 ชั่วโมง

  • 0-2193-7057  (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)

  • สายด่วนกองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 094 -386-0051 ,082-001-6373 (ให้บริการเวลา 08.00 - 16.00 น.) หรือ 0-2245-4964 (ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)  : สอบถามอาการป่วยโควิด-19

  • 094-386-0051  (ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กทม.)  สำหรับแจ้งข้อมูลผู้ที่คาดว่าได้สัมผัสกับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่ กทม.

  • 0-2203-2393 และ 0-2203-2396  (สายด่วนเว็บไซต์ BKK COVID-19) เปิดให้บริการเวลา 08.00-20.00 น.

  • 1506  (สำนักงานประกันสังคม)  : ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม การรักษาพยาบาล และเงินชดเชยการว่างงาน

161892085082

ทั้งนี้ในส่วนของการ ขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อทราบผลว่าติดโควิด-19 มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ดังนี้ 

1. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประชาชน 
  • ผลตรวจโควิด-19 

2. แจ้งเบอร์โทรศัพท์ของตนกับหน่วยงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษา 

  • โทร 1330 สปสช
  • โทร 1669 ศูนย์เอราวัณ กทม. 
  • โทร 1668 กรมการแพทย์ 

3. งดออกจากที่พัก หรือเดินทางข้ามจังหวัด หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด พ.ร.บ.โรคติดต่อ ..2558 มาตรา 34 

4. งดใกล้ชิดครอบครัว และผู้อื่น 

5. แยกห้องน้ำ (ถ้าทำได้)

6.ในกรณีที่มีไข้ ให้รับประทานยาพารา และเช็ดตัวเพื่อลดไข้ 

7. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 

8. แยกของใช้ส่วนตัว 

อ้างอิงข้อมูล ​: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข