ลูกจ้างรู้ไหม!? แค่ ‘โพสต์บ่น’ บนโซเชียล ก็โดน ‘ไล่ออก’ ได้

ลูกจ้างรู้ไหม!? แค่ ‘โพสต์บ่น’ บนโซเชียล ก็โดน ‘ไล่ออก’ ได้

ถึงที่ทำงานมันแย่ แต่แค่ ‘โพสต์บ่น’ ก็โดน ‘เลิกจ้าง’ ได้นะ! ต้อนรับ “วันแรงงาน” 1 พฤษภาคม 2564 ด้วยกฎหมายลูกจ้างต้องรู้ ไม่อยากถูก “ไล่ออก” แบบไม่ได้เงินชดเชย โพสต์แบบไหนถึงจะรอด

ต้อนรับ "วันแรงงาน" 1 พฤษภาคม 2564 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดูข้อกฎหมายน่ารู้ โพสต์บ่น โพสต์ด่า แบบไหนเข้าข่ายผิดกฎหมาย แบบไหนที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ได้ และการโพสต์คำแบบไหนที่พนักงานเงินเดือนอย่างเราๆ สามารถทำได้บ้าง?

เพราะแม้ว่าโซเชียลมีเดียจะเป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างหลากหลาย แต่ในเรื่องของการตั้งสเตตัสถึงที่ทำงานอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้อย่างอิสระขนาดนั้น

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "โซเชียลมีเดีย" ที่พูดถึงในประเด็นนี้นั้นไม่ใช่แค่ เฟซบุ๊ค เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแพลทฟอร์มสาธารณะอื่นๆ ด้วย เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม รวมถึง ติ๊กต๊อก เป็นต้น 

161980967388

ต่อให้เจ้านาย หรือ ที่ทำงานของเราจะแย่แค่ไหน แต่การจะโพสต์บ่นใดๆ ก็ตามบนที่สาธารณะ ซึ่งในที่นี้ก็คือ "โซเชียลมีเดีย" นั้น สิ่งที่เหล่าลูกจ้างทั้งหลาย ต้องทราบก็คือว่า การโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 มาตรา 119" และ "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583” ดังนี้

    

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118-122

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

      

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

มาตรา 583  ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้     

161980954966

   

  • คดีตัวอย่าง (อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560)

ลูกจ้างโพสต์บนเฟสบุ๊กว่า เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้ว๊ะ...ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ

และใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าหมx...ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม...ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี...งง...ให้กำลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน

จากข้อความข้างต้น ศาลพิจารณาว่า เข้าข่ายโดนข้อหา ดังนี้

- โดนข้อหาละเมิด ...คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(2)เพราะข้อความดังกล่าวอยู่ในฐานที่ลูกจ้างตั้งใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องชดเชยและบอกล่วงหน้า 

- ผิด ... มาตรา 583 : เพราะกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ถูกต้องและสุจริต ซึ่งมาตรานี้ได้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือบอกกล่าวลูกจ้างล่วงหน้า

ทั้งนี้ ไม่โดนข้อหา ...คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(1): เพราะไม่ใช่การหมิ่นประมาท แต่เป็นการบ่น

กรณีนี้ไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาท แต่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จากการพิจารณาถึงเนื้อหาในข้อความที่บ่นถึงว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี

    

  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย

ไม่ว่าคุณจะโกรธเจ้านาย ไม่พอใจบริษัทหรือออฟฟิศมากแค่ไหน ก่อนจะโพสต์ระบายอะไรลงไป มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย แบบปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนไล่ออก ดังนี้

1. เฟสบุ๊กเป็นสื่ออนไลน์สาธารณะที่บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความและแสดงความคิดเห็นที่ลูกจ้างอย่างเราโพสต์ไว้ได้

2. หากโพสต์ในทำนองที่ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยที่ไม่ดี นายจ้างจะไม่สามารถทำการเลิกจ้างได้ เช่น ช่วงนี้งานล้นมาก งานโหลดไม่ไหว ต้องรีบปิดงบฯ เหนื่อยสุดๆ (การตัดพ้อส่วนตัวโดยไม่กล่าวถึงที่ทำงาน)

3. หากข้อความที่โพสต์มีลักษณะในการระบายอารมณ์ความไม่พอใจ แต่หากมีความหมายที่ทำให้เข้าใจว่า นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้นายจ้างดูเป็นคนที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้าง ทำให้ภาพลักษณ์นายจ้างเสียหาย หรือทำให้เสียหายหนัก ก็ไม่สามารถโพสต์ได้

4. หากลูกจ้างคิดว่า การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไม่เป็นธรรม ตามพ... จัดตั้งศาลฯ มาตรา 49 ตามหลักการมาตรา 119 แล้ว ถือเป็นการกระทำที่เป็นธรรม เพราะ การเลิกจ้างจากการโพสต์ให้นายจ้างได้รับความเสียหายบนโซเชียลมีเดีย เป็นเหตุอันสมควร แล้ว

5. ในบางองค์กร การใช้โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังในการคัดกรองเพื่อรับเข้าทำงานและดำรงตำแหน่งงาน เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายหรือความปลอดภัย หากโพสต์แต่เรื่องอบายมุก สถานที่ท่องเที่ยงกลางคืน หรือแหล่งอโคจร อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ชี้ชัดในการไม่พิจารณารับเข้าทำงานได้    

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ , พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.. 2541, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560