อัพเดท! ครม.อนุมัติเงินเยียวยา ประกันสังคม ใครได้ 5,000-10,000 บาท
เช็คก่อน อัพเดท! ครม.อนุมัติเงินเยียวยา ประกันสังคม ใครได้ 5,000-10,000 บาท
มาตรการ "แจกเงินเยียวยา" กลายเป็นกระแสความสนใจประชาชนผู้ได้ผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19
ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำวันนี้ 14 ก.ค. 2564 อาชีพอิสระ และฟรีแลนซ์ 10จังหวัด ควบคุมสุงสุดเข้มงวด สมัคร ประกันสังคม มาตรา 40 ภายใน ก.ค.นี้ รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
เดือน ส.ค 64 - ม.ค.65 ผู้ประกันตน ม.40 จ่ายเงินสมทบแค่ 60%
สมัครออนไลน์ คลิกที่นี่ประกันสังคม กรอกข้อมูลจนครบ รอSMS ยืนยัน สมัครด้วยตนเองที่ เซเว่น ธกส และบิ๊กซี
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้
1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม
1.1 ขอบเขตของกิจการที่ได้รับการเยียวยา
กลุ่มที่ 1: 9 หมวดกิจการ (เพิ่มเติมจากเดิม 4 หมวด) ประกอบด้วย 1) ก่อสร้าง 2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4) กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5) ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 9) ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มที่ 2: 5 กิจการของถุงเงิน (เพิ่มเติมจากเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ประกอบด้วย 1) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2) ร้าน OTOP 3) ร้านค้าทั่วไป 4) ร้านค้าบริการ 5) กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
1.2 ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ: 1 เดือน (อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์)
ข่าวเกี่ยวข้อง
1.3 รายละเอียดของการเยียวยา แบ่งตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ
1. ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท
2. นายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
3. สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
7. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
8. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
รวมทั้งสิ้นภายใต้กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท
ที่มา - ศบค.
ทั้งนี้ นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และกิจการกิจกรรมบริการด้านอื่นๆ
ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (โควิด-19) ที่ 6/2564 สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยให้การปฏิบัติเป็นไป
ตามมาตราการตามข้อกำหนด ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 25) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในคลัสเตอร์แคมป์คนงานที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเวลา 30 วัน นั้น ลูกจ้าง/ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบใน 4 ประเภทกิจการ ได้สั่งการให้นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ดูแลพี่น้องผู้ประกันตนให้ได้รับการเยียวยาตามสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัย ใน 4 ประเภทกิจการ
เนื่องจากถูกปิดตามคำสั่ง ศบค.ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยเบื้องต้นสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนไปแล้ว จำนวน 17,920 คน เป็นเงิน 87,631,033.80 บาท โดยแยกเป็น กิจการก่อสร้าง 16,468 ราย เป็นเงิน 79,801,420.45 บาท ที่เหลือเป็นกิจการร้านอาหาร และภัตตาคาร 1,452 ราย เป็นเงิน 7,829,613.35 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564)
สำหรับกรณีกิจการก่อสร้าง จะทำการตัดจ่ายประโยชน์ทดแทนทุกวันศุกร์ และจ่ายเงินทุกวันจันทร์ถัดไป โดยนำไปจ่ายเป็นเงินสดที่หน้าแคมป์คนงานก่อสร้าง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนอีก 3 ประเภทกิจการที่เหลือ จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามที่นายจ้างแจ้งผ่านระบบ E-service
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นมาตรการเสริมที่กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือนายจ้างสถานประกอบการให้ดูแลเรื่องอาหารแก่คนงาน เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาค่าใช้จ่ายด้านอาหารให้แก่คนงานอีกทางหนึ่ง