5 อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ วิกฤติน้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือนหนักสุดรอบ 10 ปี
5 อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ วิกฤติน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนหนักสุดรอบ 10 ปี ชาวบ้านร่ำไห้ บ้านจมน้ำต่อหน้าต่อหน้า
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตลอด ทำให้ระดับน้ำสูงกว่า 150 มิลลิเมตร ในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลาก ลงสู่ลำห้วย คูคลองต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพิ่มระดับความสูง จนเอ่อล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย
- อ.เมือง
- อ.ลับแล
- อ.พิชัย
- อ.ทองแสนขัน
- อำเภอท่าปลา
ทั้งนี้ อำเภอท่าปลา เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักสุดในรอบ 10 ปี น้ำป่าที่ไหลลงสู่คลองสิงห์ ด้วยรวดเร็ว เฉี่ยวกราด ทะลักท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน 6 ตำบล กว่า 1000 หลังคา ชาวบ้านต่างเร่งอพยพ ผู้สูงอายุ เด็ก สัตว์เลี้ยง รถยนต์ และสิ่งของเท่าที่จำเป็นมารวมไว้บริเวณ ถนนกลางหมู่บ้าน และพื้นที่สูงพ้นน้ำ เนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 3 เมตร หากเป็นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมมิดหลังคาบ้านชั้นเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
นางสายหยุด ชาวบ้านหมู่ 3 ต.หาดล้า อ.ท่าปลา ห้าม สามีที่จะพยายามลอยคอเข้าไปยังบ้านที่ถูกกระแสน้ำป่าท่วมต่อหน้าต่อหน้า เอาเพียงชีวิตรอดออกมาได้ ทรัพย์สินจมน้ำอยู่ในบ้าน พร้อมกล่าวน้ำตาคลอเบ้าว่า ได้แต่ยืนมองน้ำท่วมบ้าน กระแสน้ำแรง ทำให้ไม่สามารถเอาสิ่งของอะไรออกมาได้
นายเสน่ห์ ชาวบ้านหมู่ 5 ต.ท่าปลา อ.ท่าปลา กล่าวว่า น้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงรอบ 10 ปี เมื่อปี 2554 เคยประสบภัยมาแล้ว แต่ครั้งนี้หนักกว่า หากเป็นที่ลุ่มต่ำ ท่วมมิดหลังคา ชาวบ้านที่บ้าน 2 ชั้น ก็ไม่ยอมอพยพ ยังคงเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
เบื้องต้น จ.อุตรดิตถ์ ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก 5 อำเภอ ปภ.ประกาศเตือนเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ประสานอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครกู้ภัย ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อน เน้นความปลอดภัยชีวิต ทรัพย์สิน และจัดศูนย์รองรับพักพิง หากระดับน้ำยังไม่ลด ส่วนเหตุ ดินบนเขาเกิดการพังทลายลงมาปิดกั้นถนนทั้ง 4 ช่องทางจราจร ถนนทางหลวงหมายเลข 11 อุตรดิตถ์-พิษณุโลก บริเวณแยกหนองกวาง บ้านนาอิซาง หมู่ 1 ต.นายาง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ใกล้กับหมวดทางหลวงพิชัย
ล่าสุด สามารถเปิดเส้นทางดังกล่าวให้ใช้งานได้ตามปกติแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังต้องเฝ้าระวัง พร้อมนำแบริเออร์คอนกรีตมาวางกั้นบริเวณไหลทางที่ติดกับภูเขา เพื่อป้องกันดินที่เกิดการสไลด์ลงมาทับเส้นทางซ้ำขึ้นมาอีก